ทำความรู้จักกับการเรียนวิศวะ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม การันตีคุณภาพแห่งความสำเร็จด้วยประสบการณ์การสอนมากว่าครึ่งศตวรรษภายใต้แนวคิด “Simply Significant”พลังสำคัญ ผลักดันสู่ความสำเร็จ ด้วยความร่วมมือจากเหล่าคณาจารย์วิศวกรมืออาชีพที่พร้อมเป็นพลังสำคัญในการผลักดันศักยภาพของผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จด้วยการให้นักศึกษาได้เรียนวิศวะอย่างรู้ลึก! รู้จริง!ปฏิบัติจริง!ผ่านเครื่องมือและห้องปฏิบัติการณ์สุดทันสมัย เพื่อการเป็นวิศวกรตัวจริงในวงการอุตสาหกรรมวิศวกร
หากน้องๆ เป็นคนหนึ่งที่ไม่รู้จะเลือกเรียนวิศวะที่ไหนดี แต่อยากเรียนวิศวะ อยากสอบวิศวะหรือกำลังมองหาทุนวิศวะอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนวิศวะโยธาเรียนวิศวะไฟฟ้าเรียนวิศวะเครื่องกลวิศวะยานยนต์วิศวกรรมระบบรางฯลฯ มาทำความรู้จักเรื่องราวของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมกันสักนิดแล้วจะรู้ว่าการตัดสินใจมาสมัครเรียนวิศวะที่มหาวิทยาลัยศรีปทุมนั้นคือทางเลือกที่ดีที่สุด
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ถือกำเนิดจากคณะโปลีเทคนิค ซึ่งได้รับอนุญาตจัดตั้งขึ้นเป็นคณะเริ่มต้นพร้อมกับการก่อตั้งวิทยาลัยศรีปทุมเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2513 ในระยะแรกเปิดดำเนินการสอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปว.ส.) รวม 4 สาขาวิชา ได้แก่ ช่างไฟฟ้ากำลัง ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างยนต์ และช่างก่อสร้าง ซึ่งใช้ระยะเวลาศึกษา 2 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ทบวงมหาวิทยาลัยอนุญาตให้เปิดดำเนินการสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า โดยมีระยะเวลาศึกษา 4 ปี ซึ่งเป็นระดับปริญญาตรี และยกฐานะจากวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยศรีปทุม ดังนั้นคณะโปลีเทคนิค จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานภาพการจัดการศึกษาเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2530 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีการพัฒนาด้านวิชาการอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยได้เปิดสอนตามหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย (ม.6) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เข้าศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ สาขาวิชาวิศวกรรมระบบราง ทุกหลักสูตรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ได้ให้การรับรองปริญญา ทำให้บัณฑิตมีศักดิ์และสิทธิ์เท่าเทียมกับบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยของรัฐทุกประการ นอกจากนี้แล้วสภาวิศวกรให้การรับรองหลักสูตรในสาขาวิศวกรรมควบคุม โดยบัณฑิตสามารถยื่นขอรับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมได้ตามที่ต้องการ
พ.ศ. 2532
เปิดดำเนินการสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งเป็นหลักสูตร 4 ปี และต่อเนื่อง 2 ปี ตามลำดับ
พ.ศ. 2533
ได้เปิดสอนใน หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต เพิ่มเติมอีก 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมก่อสร้าง และเปิดสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล อีก 1 สาขาวิชา
พ.ศ. 2536
มีการปรับปรุงหลักสูตรทุกสาขาวิชา เพื่อให้ทันสมัย สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่และเปิดดำเนินการสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา พร้อมกันนั้นได้ยกเลิกการจัดการศึกษาในระดับ ปวส. ทั้งหมด
พ.ศ. 2539 และ 2542
มีการปรับปรุงหลักสูตรทุกสาขาวิชา เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (ก.ว.)
พ.ศ. 2543
เปิดดำเนินการสอนในหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
พ.ศ. 2546
เปิดดำเนินการสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ และปรับปรุงหลักสูตรทุกสาขาวิชาเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของสภาวิศวกร จัดการเรียนการสอนและการวิจัย ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่สำคัญประกอบด้วย 5 ภาควิชา และศูนย์วิจัย 1 ศูนย์ ได้แก่ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ภาควิชาเมคาทรอนิกส์ ศูนย์วิจัยและปฏิบัติการทดลองทางวิศวกรรม
พ.ศ. 2549
คณะวิศวกรรมศาสตร์เปิดสาขาวิชาเพิ่มอีก 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ และสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต
พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ได้เพิ่มกลุ่มความเชี่ยวชาญด้าน วิศวกรรมระบบหุ่นยนต์และการควบคุมอัตโนมัติ (ในหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า) และกลุ่มวิศวกรรมโลจิสติกส์ (ในหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ) มีการเปิดหลักสูตรวิศวกรรมระบบรางที่เป็นความร่วมมือกับสถาบันชั้นนำในประเทศจีน ปรับปรุงหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เพื่อตอบสนองต่ออุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนความร่วมมือกับ Griffith University ประเทศออสเตรเลีย ทำหลักสูตรวิศวกรรมโยธา 2 ปริญญาจาก 2 สถาบัน นอกจากนั้นได้มีความร่วมมือกับภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เครื่องข่ายมืออาชีพวิศวกรรมอย่างกว้างขวาง เพื่อการเรียนการสอนจากเรื่องยากให้เป็นง่าย โดยตัวจริงจากประสบการณ์จริง
ปัจจุบันทุกหลักสูตรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) ได้ให้การรับรองปริญญา ทำให้บัณฑิตสามารถสอบบรรจุเข้ารับราชการได้ นอกจากนี้แล้วสภาวิศวกรให้การรับรองหลักสูตรในสาขาวิศวกรรมควบคุมและบัณฑิตวิศวกรสามารถยื่นขอรับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมได้จากจุดเริ่มต้นซึ่งมีนักศึกษาที่เข้ามาเรียนวิศวะไม่มากนัก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ระดับแนวหน้าของประเทศไทยมีผู้เข้ามาสมัครเรียนวิศวะจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการเรียนวิศวะโยธาเรียนวิศวะไฟฟ้าเรียนวิศวะเครื่องกลวิศวะยานยนต์วิศวกรรมระบบรางฯลฯ จนกลายเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในระดับสากล มีอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษที่ทรงคุณวุฒิจำนวนมาก ในปีหนึ่งๆ คณะวิศวกรรมศาสตร์สามารถผลิตบัณฑิตที่เรียนวิศวะในสาขาวิชาต่างๆ ที่มีคุณภาพเข้าสู่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก
ตลอดเวลาแห่งการพัฒนา แม้ว่าจะมีปัจจัยต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคและมีความยากลำบากในการจัดการศึกษาอันเนื่องจากความผันผวนทางด้านเศรษฐกิจและอื่นๆ แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรและของศิษย์เก่าทุกรุ่น ทำให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมยังคงสามารถก้าวต่อไปได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง ผลจากความมุ่งมั่นและอุตสาหะในการศึกษาเล่าเรียนโดยไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก และความเพียรพยายามในการประกอบอาชีพของศิษย์รุ่นพี่จนประสบความสำเร็จล้วนเป็นแบบอย่างที่ดีที่นักศึกษารุ่นปัจจุบันควรจะได้ตระหนักและดำเนินรอยตาม เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้ชาววิศวะศรีปทุมทุกคนเรียนรู้คุณค่าแห่งความอดทน ความเสียสละ และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำให้เป็นบัณฑิตวิศวกรที่มีคุณค่าต่อสังคม เป็นเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยศรีปทุมตลอดไปและตลอดกาล
มีอะไรน่าเรียนมั่ง?
เลือกเรียนที่ชอบ ต่อยอดอาชีพที่ใช่ ! DEK-SPU เราเลือกเองได้ . . .
วิศวกรรมไฟฟ้า
อาชีพที่ใช่ :วิศวกรออกแบบติดตั้งระบบไฟฟ้า, คนสร้างระบบจักรกลสมองกล หุ่นยนตร์
สไตล์ที่ชอบ : รอบคอบ มีความละเอียด มุ่งมั่น มีไฟและไอเดียในหัว
ใครเรียนได้บ้าง : ผู้ที่จบระดับชั้น ม.6, เทียบเท่า อาชีวะ หรือ กศน., เทียบโอน ปวส.
Read more
วิศวกรรมโยธา
อาชีพที่ใช่ : วิศวกรรมโครงสร้าง, บริหารงานก่อสร้าง, วิศวกรรมสำรวจ
สไตล์ที่ชอบ : สายลุย ไม่กลัวแดดฝน ถึกทน และชอบเรียนรู้แบบ Outdoor
ใครเรียนได้บ้าง : ผู้ที่จบระดับชั้น ม.6, เทียบเท่า อาชีวะ หรือ กศน., เทียบโอน ปวส.
Read more
วิศวกรรมเครื่องกล
อาชีพที่ใช่ : วิศวกรรมควบคุมการผลิต, วิศวกรออกแบบในอาคารหรือโรงงาน
สไตล์ที่ชอบ : สายโรงงาน สายผลิตซ่อมบำรุง นักพัฒนา นักวิจัย
ใครเรียนได้บ้าง : ผู้ที่จบระดับชั้น ม.6, เทียบเท่า อาชีวะ หรือ กศน., เทียบโอน ปวส.
Read more
วิศวกรรมยานยนต์
อาชีพที่ใช่ : วิศวกรยานยนต์ประจำโรงงาน ฝ่ายออกแบบ ทดสอบหรือซ่อมบำรุง
สไตล์ที่ชอบ : ชอบคิดนวัตกรรมยานยน9Nใหม่ๆ มีไอเดียเรื่องเครื่องยนต์
ใครเรียนได้บ้าง : ผู้ที่จบระดับชั้น ม.6, เทียบเท่า อาชีวะ หรือ กศน.
Read more
วิศวกรรมอุตสาหการ
อาชีพที่ใช่ : วิศวกรในองค์กรภาครัฐและเอกชน ด้านออกแบบวิเคราะห์การขนส่งโลจิสติกส์
สไตล์ที่ชอบ : ชอบเรียนรู้ระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพ ชอบจัดการระบบต่างๆ
ใครเรียนได้บ้าง : ผู้ที่จบระดับชั้น ม.6, เทียบเท่า อาชีวะ หรือ กศน.
Read more
วิศวกรรมระบบราง
อาชีพที่ใช่ : วิศวกรระบบรางรถไฟ
สไตล์ที่ชอบ : อยากเปิดโลกอนาคตเจ๋งๆ ผลิตระบบรางรถไฟให้ก้าวหน้ากว่าเดิม
ใครเรียนได้บ้าง : ผู้ที่จบระดับชั้น ม.6, เทียบเท่า อาชีวะ หรือ กศน.
Read more