บริการ


ไฟร้อน…ไฟร้าย
 
ไฟ หรือ อัคคี
เกิดได้เพราะมี 3 สิ่งมาประกอบกัน คือ

1. ความร้อน
2. เชื้อเพลิง
3. ออกซิเจน
เมื่อเกิดไฟขึ้นแล้ว นอกจากจะมีความร้อนที่ทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต(ถ้าหายใจเอาอากาศที่มีความร้อน 150 องศาเซลเซียสเข้าจะทำให้เสียชีวิตทันที)แล้วยังนำมาซึ่ง “แก๊สพิษ” และ “ควันไฟ”  เห็นว่าเป็น “ไฟ” ใช่จะเหมือนกันหมดนะครับ เพราะตามข้อกำหนดมาตรฐานสากลสามารถแบ่งไฟได้ 4 ประเภท ดังนี้




1.ประเภท A
สัญลักษณ์ตัว A ในสามเหลี่ยมสีเขียว เป็นไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของแข็ง หรือที่เป็นเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น ฟืน ฟาง ยาง ไม้ ผ้า กระดาษ พลาสติก หนังสติ๊ก หนังสัตว์ ปอ นุ่น ด้าย และร่างกายมนุษย์ วิธีดับไฟประเภทนี้ที่ดีที่สุด คือ ลดความร้อนด้วยการฉีดน้ำ

2.ประเภท B
สัญลักษณ์ตัว B ในสี่เหลี่ยมสีแดง เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของเหลวหรือ ก๊าซ ได้แก่ น้ำมันทุกชนิด ก๊าซติดไฟทุกชนิด เช่น แอลกอฮอล์ ทินเนอร์ ยางมะตอย เป็นต้น วิธีดับไฟประเภทนี้ คือ ทำให้อับอากาศ โดยใช้ผงเคมีแห้ง หรือใช้ฟองโฟม คลุมเพื่อกำจัดออกซิเจน

3.ประเภท C
สัญลักษณ์ตัว C ในวงกลมสีฟ้า เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของแข็งและมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด วิธีดับไฟประเภทนี้ให้ได้ผลดี คือ ตัดกระแสไฟฟ้าแล้วใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือน้ำยาเหลวระเหยที่ไม่มีสาร CFC ไล่ออกซิเจนออกไป

4.ประเภท D
สัญลักษณ์ตัว D ในดาวห้าแฉกสีเหลือง เป็นไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นโลหะ และสารเคมีที่สามารถติดไฟได้ เช่น วัตถุระเบิด ปุ๋ยยูเรีย(แอมโมเนียมไนเตรต) และผงแมกนีเซียม เป็นต้น วิธีดับไฟประเภทนี้ คือ ทำให้อับอากาศ หรือใช้สารเคมีเฉพาะ ทั้งนี้ต้องศึกษาวิธีดับสารแต่ละชนิดให้ดี และ
ห้ามใช้น้ำดับไฟประเภทนี้เป็นอันขาด
 
สำหรับเครื่องมือช่วยดับไฟเบื้องต้นนั้น 7 ชนิดด้วยกัน
1. เครื่องดับเพลิงชนิดกรดโซดา 
บรรจุในถังสีแดงใช้ดับไฟที่เป็นเชื้อเพลิงแบบ A แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้เครื่องดับเพลิงประเภทนี้แล้ว
2. เครื่องดับเพลิงชนิดฟองโฟม  นิยมบรรจุในถังอลูมิเนียมสีครีมหรือถังสแตนเลส ภายในบรรจุน้ำยาโฟมผสมกับน้ำแล้วนำมาอัดแรงดันเข้าไป ใช้ดับไฟที่เป็นเชื้อเพลิงแบบ A และB
3. เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำสะสมแรงดัน บรรจุในถังสแตนเลสภายในมีน้ำและแรงดันใครๆเรียกกันว่า “น้ำสะสมแรงดัน” ใช้ดับไฟที่เป็นเชื้อเพลิงแบบ A
4. เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือซีโอทู  บรรจุในถังสีแดงเหมาะสำหรับใช้ดับเพลิงภายในอาคารที่ต้องการความสะอาดเพราะจะไม่มีสิ่งสกปรกหลงเหลืออยู่ ใช้ดับไฟที่เป็นเชื้อเพลิงประเภท B และC
5. เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง  บรรจุในถังสีแดงประกอบด้วยผงเคมีหลายชนิดซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ต้องใช้ภายในอาคารเพราะจะมีฝุ่นละอองฟุ้งกระจายทำให้สกปรก ใช้ดับไฟแบบ A B และC ได้ดี
6. เครื่องดับเพลิงชนิดฮารอน บรรจุในถังสีเหลือง ใช้ดับไฟแบบ A B และC ได้ดีแต่มีข้อเสีย คือ มีส่วนผสมของสาร CFC ซึ่งเป็นอันตรายต่อชั้นบรรยากาศ
7. เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย(ชนิดไม่มีสารCFC)บรรจุในถังสีเขียว ใช้ดับไฟแบบ A B และ C