บริการ


การตรวจสอบอาคารตามกฎหมายใหม่

การตรวจสอบอาคาร เปรียบเสมือนการตรวจสุขภาพของร่างการ ซึ่งควรได้รับการตรวจประจำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แม้ไม่เคยเจ็บป่วยก็ตาม หากมีอาการแสดงออกก็สามารถรักษาเยียวยาได้ทันท่วงที

อาคารก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีการใช้อาคารก็ควรมีการตรวจสอบสภาพอย่างสม่ำเสมอ ว่ามีสิ่งบ่งชี้บอกเหตุว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารผิดปกติบ้างหรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้วอาคารควรได้รับการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โครงสร้างและระบบประกอบอาคารมีความปลอดภัยและคงทนต่อการใช้งาน

กระทรวงมหาดไทยได้ออกกฏกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. 2548 เพื่อตรวจสอบสภาพอาคาร โครงสร้างของตัวอาคารและอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ของอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยในการใช้งาน โดยแบ่งอาคารเป็น 9 ประเภทดังนี้
1. อาคารชุมนุมคน (พื้นที่ 1,000 ตร.ม. ขึ้นไป หรือจุคนตั้งแต่ 500 คน ขึ้นไป)
2. อาคารสูง (สูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป)
3. อาคารขนาดใหญ่พิเศษ (พื้นที่ 10,000 ตร.ม. ขึ้นไป)
4. โรงมหรสพ
5. โรงแรม (ห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป)
6. โรงงาน (สูงกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตร.ม. ขึ้นไป)
7. สถานบริการ (พื้นที่ตั้งแต่ 200 ตร.ม. ขึ้นไป)
8. อาคารอยู่อาศัยรวม หรืออาคารชุด (พื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตร.ม. ขึ้นไป)
9. ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดตั้งป้าย (สูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตร.ม. ขึ้นไป หรือป้ายที่ติดตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารมีพื้นที่ตั้งแต่ 25 เมตรขึ้นไป)

การตรวจสอบอาคารแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. การตรวจสอบใหญ่ให้กระทำทุก 5 ปี
2. การตรวจสอบประจำปี

การตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ของอาคาร
1. ตรวจสอบอาคาร ความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร
2. ตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร
- ระบบบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก
- ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
- ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
3. ตรวจสอบสมรรถนะของระบบอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการอพยพ
4. ตรวจสอบระบบบริหารจัดการเพื่อความปลอดภัยในอาคาร

ขั้นตอนการตรวจสอบอาคาร
1. เจ้าของอาคารประเภทตามที่กฏหมายกำหนด ต้องจัดหาผู้ตรวจสอบซึ่งขึ้นทะเบียนกับกรมโยธาธิการและผังเมืองมาเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร
2. เจ้าของอาคารต้องจัดหาหรือจัดทำแบบแปลนอาคาร เพื่อใข้สำหรับการตวจสอบ
3. ผู้ตรวจสอบทำการตรวจสอบอาคารครั้งแรกเป็นการตรวจสอบใหญ่
4. ผู้ตรวจสอบทำรายงานการตรวจสอบให้เจ้าของอาคาร
5. เจ้าของอาคารส่งรายงานการตรวจอบให้แก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น
6. เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาและออกหนังสือรับรองการตรวจสอบอาคาร

บทกำหนดโทษ (กรณีเจ้าของอาคารไม่จัดให้มีการตรวจสอบอาคาร)
1. จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ปรับเป็นรายวันๆ ละไม่เกิน 10,000 บาท
3. ถูกระงับการใช้อาคาร

ประโยชน์ของการตรวจสอบอาคาร
1. เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต ทรัพย์สินของประชาชน เจ้าของอาคารและสาธารณะชน
2. ลดการสึกหรอของอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคาร
3. ช่วยยืดอายุการใช้งานของอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคาร
4. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคาร
5. ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของอาคาร

ปรัชญาของการตรวจสอบอาคาร
“อาคารมีสภาพปลอดภัย ใช้งานได้ดีและมีประสิทธิภาพ”
ฉะนั้น การตรวจสอบอาคาร เป็นการตรวจสอบการใช้อาคารเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร มิใช่เป็นการตรวจสอบว่าอาคารนั้นๆ มีการก่อสร้างที่ถูกต้องตามแบบที่ขออนุญาตไว้หรือไม่ ซึ่งเป็นการตรวจสอบที่คนละวัตถุประสงค์กับการตรวจสอบเพื่อขออนุญาตเปิดใช้อาคาร