เบื้องหลังความสำเร็จ ปั้น DEK SDM
สู่การประกวด...ในเวทีระดับประเทศ
" อ.วีรภัทร สุธีรางกูร "
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ
>>คณะดิจิทัลมีเดีย<<
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ก่อนจะมาเป็นอาจารย์
มีประสบการณ์การ
เป็นตัวจริงในอุตสาหกรรมยังไง ?
ก่อนจะมาเป็นอาจารย์ผมเป็นกราฟิกดีไซน์บริษัทเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์และเอเจนซี่ และช่วงที่ทำงานก็เป็นฟรีแลนด์ออกแบบกราฟิก ออกแบบสิ่งพิมพ์ให้บริษัทต่างๆ รวมทำงานด้านกราฟิกประมาณ 20 กว่าปี แต่ก่อนจะมาเป็นอาจารย์แบบเต็มตัวที่ ม.ศรีปทุม ชอบส่งงานประกวดเพื่อท้าทายความสามารถตัวเอง และได้รางวัลติดมือมาบ้าง เช่น รางวัลรองชนะเลิศ การประกวดออกแบบอักษรประดิษฐ์ รางวัลนริศรานุวัดติวงศ์ ในด้านอักษรประดิษฐ์ เนื่องในวันนริศ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดอินโฟกราฟิกของกระทรวงกลาโหม รางวัลชนะเลิศการประกวดออกแบบอินโฟกราฟิกของ สธค. โรงรับจำนำของรัฐ รางวัลชนะเลิศการประกวดออกแบบอินโฟกราฟิก จาก Bio-Circular-Green economy Technology & Engineering Center รางวัล Honorary Mentions Experimental Printmaking 2022 International Contemporary Miniprint of Kazanlak จากประเทศ Bulgaria รางวัลที่ 1, รางวัลชมเชย และรางวัล Top Vote จากโครงการประกวดวรรณกรรมอีเล็กทรอนิคส์ ครั้งที่ 1 และ 2, รางวัล Top Vote อันดับ 2 การประกวด MV เพลง “เย็นสบายในฝัน” รางวัลชมเชยการประกวดมาสคอต ครับ
"สาขาการออกแบบกราฟิก คณะดิจิทัลมีเดีย"
เรียนเกี่ยวกับอะไร จบแล้วประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง
สาขาการออกแบบกราฟิก เราสอนให้เรียนรู้ศาสตร์ด้านกราฟิกโดยตรง เช่น ออกแบบ UX/UI, ออกแบบโฆษณา (Advertising), ออกแบบอัตลักษณ์องค์กร (CI), ออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging), ออกแบบอินโฟกราฟิก (Infographic), ออกแบบภาพเคลื่อนไหว (Motiongraphic) ทางสาขาฯ ยังเสริมเรื่องการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์ รวมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบกราฟิกจริงๆ นักศึกษาจะมีความรู้เหล่านี้ติดตัวไป พอเรียนจบสามารถหางานทำได้เลย อาชีพที่นักศึกษาสามารถทำงานได้มีหลากหลาย เช่น นักออกเเบบกราฟิก (Graphic Designer), นักออกแบบ UX/UI (UX/UI Designer), ครีเอทีฟไดเร็กเตอร์ (Creative director), นักออกแบบคอนเทนต์กราฟิก (Content Graphic Designer), ผู้จัดการการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Manager) หรือจะเป็นผู้ประกอบการด้านครีเอทีฟกราฟิก (Freelance and Creative Graphic Entrepreneur) ก็สามารถทำได้
นักศึกษาสามารถรับงานได้ตั้งแต่ยังเรียนอยู่
+++มี D Club รองรับนักศึกษาที่สนใจทำงาน+++
นักศึกษาชั้นปี 3 บางคนต้องการทำงานเพื่อหารายได้เสริม คณะเรามีศูนย์สร้างสรรค์สื่อดิจิทัล (D-Club) เป็นพื้นที่การเรียนรู้ของนักศึกษาอีกอย่างหนึ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงในการทำงาน มีอาจารย์เฉพาะทางคอยช่วยดูแลในแต่ละโปรเจกต์ โดยนักศึกษาจะมีรายได้จากการทำงานในศูนย์ฯ ปี 4 เริ่มทำโปรเจกต์จริงจัง เพราะเป็นโครงงานการออกแบบกราฟิกหรือสหกิจศึกษา นักศึกษาสามารถเลือกได้ 2 แผน แล้วแต่ความต้องการของนักศึกษา บางคนอยากไปสหกิจศึกษา นักศึกษาได้ทำโปรเจกต์จริงในสถานประกอบการเพื่อต่อยอดหลังจากการจบการศึกษา หรือถ้านักศึกษาคนไหนต้องการสร้างทีมเพื่อธุรกิจ Statup คณะเรามีศูนย์พัฒนาผู้ประกอบเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED FUND) ไว้รองรับนักศึกษา และมีทุนเพื่อนำไปทดลองสร้างธรุกิจของตนเอง บอกได้เลยว่า เรียนที่ศรีปทุมคุ้มมากตั้งแต่เข้าเรียนยันออกไปทำงาน
>>การเรียนออกแบบกราฟิก<<
ต้องวาดรูปเก่งเสมอไป.....คำนี้จริงหรือไม่ ?
ไม่จริงเลยครับ นักศึกษาชั้นปี 1 ที่นี่เราสอนพื้นฐานด้านการวาดเป็นหลักเพราะนักศึกษาแต่ละคนมีพื้นฐานที่ไม่เท่ากันจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปูพื้นฐาน สำหรับนักศึกษาที่เริ่มต้นจาก 0 ในชั้นปี 2 จะเริ่มฝึกทักษะทางคอมพิวเตอร์ของแต่ละสาขา สาขากราฟิกก็เหมือนกัน นอกจากพื้นฐานการวาดแล้ว ยังมีเรื่องพื้นฐานของกราฟิกอยู่ในชั้นปี 2 ซึ่งบางคนไม่มีพื้นฐานมาเลยก็มาเริ่มได้จากจุดนี้ การเรียนสาขากราฟิกไม่ได้ยาก ขอแค่มีใจรักงานออกแบบและตั้งใจเรียนก็เรียนได้สบายๆ
.....เบื้องหลังความสำเร็จ.....
ของการปั้น DekSDM
สู่การประกวดในเวทีระดับประเทศ
การปั้น DekSDM เป็นโจทย์ที่ท้าทายอย่างนึงสำหรับอาจารย์เหมือนกัน ซึ่งเด็กแต่ละคนมีพื้นฐานไม่เท่ากัน เราจูนทั้งระบบความคิด ทฤษฎีและทักษะการออกแบบกราฟิก ใช้ศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จเป็นแรงจูงใจให้กับนักศึกษา ทำให้นักศึกษามีความพร้อมที่จะเข้าสู่เวทีการแข่งขัน มีนักศึกษาหลายคนที่ยังกลัวกับการแข่งขันอยู่ ผมจะบอกว่าไม่ต้องกลัวเลย เรื่องแพ้ชนะเป็นเรื่องธรรมดามากๆ แต่สิ่งที่เราได้จากการประกวดมันมีเยอะมาก มีแต่ได้กับได้ เพียงแค่กล้าที่จะทำ ถ้ามีโอกาสก็อยากให้รีบคว้าไว้ทันที ถึงแม้เราจะคิดว่าฝีมือยังไม่เฉียบพอ แต่ถ้าเราตั้งใจฝึกฝนหรือกล้าที่จะลองทำในสิ่งที่เราไม่เคยทำ มันจะทำให้เราพัฒนาได้เองแบบที่เราไม่รู้ตัวก็ได้ คำว่า learning by doing มันใช่สำหรับนักศึกษามากๆ ซึ่งผมเองก็จำคำนี้มาจากท่านอธิการบดีและนำมาใช้กับการทำงานโดยตลอด
#เป้าหมายในการเป็นอาจารย์ SDM
เป้าหมายในการเป็นอาจารย์ SDM ผมคิดว่าทุกวันนี้ไม่ได้เป็นแค่อาจารย์อย่างเดียว ยังเป็นทั้งพี่ชาย พี่เลี้ยง หรือแม้กระทั่งผู้ปกครองในบางครั้ง ยังไม่นับรวมการเป็นลูกน้อง หัวหน้างานในอาชีพด้วย หลากหลายหน้าที่มากๆ (หัวเราะ) แต่เป้าหมายหลักที่อยากเห็น คือนักศึกษาที่จบการศึกษาแล้วมีงานทำ สามารถหาเลี้ยงชีพตนเองได้หรือถ้ามีอาชีพที่เลี้ยงครอบครัวได้ยิ่งดี การสร้างเจ้าของธุรกิจของตนเอง ผมให้ความสำคัญกับตรงนี้มากที่สุด เรียนแล้วต้องได้อะไรออกไป ได้ความรู้ ได้ทักษะการทำงาน ได้วิธีการเอาตัวรอดจากการใช้ชีวิต หรือแม้แต่การประกวดก็เป็นส่วนนึงในการสร้างโปรไฟล์ของนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้งานที่ดี อยู่ในบริษัทที่มีความมั่นคงและเป็นความโชคดีของผมที่ได้เข้ามาอยู่ในครอบครัวของคณะดิจิทัลมีเดีย ช่วยพลักดันลูกๆ ทุกคนที่มาเรียนที่จบออกไปประสบความสำเร็จในชีวิต
คำนิยามสำหรับ
DekSDM SPU
DekSDM SPU เป็นนักศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลคอนเทนท์เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัล
*แนะนำ....สำหรับน้องๆ ม.ปลาย*
>>ที่อยากเรียนคณะดิจิทัลมีเดีย
อุตสาหกรรมดิจิทัลมีการเติบโตในอนาคตอย่างต่อเนื่องแน่นอนครับ ทุกวันนี้ในชีวิตประจำวันเราอยู่กับดิจิทัลอยู่แล้ว มือถือเราก็ใช้ทุกวัน ดูโทรทัศน์ ดูป้ายร้าน เข้าห้าง ป้ายโฆษณา ทุกอย่างรอบๆ ตัวมันมีกราฟิกอยู่ทุกที่ สาขาการออกแบบกราฟิกผลิตกำลังคนเพื่อมารองรับอุตสาหกรรมดิจิทัลที่เติบโตขึ้นทุกวัน หรือแม้แต่สาขาอื่นในคณะก็ตอบโจทย์เรื่องนี้เหมือนกัน และประเทศยังขาดกำลังคนทางด้านนี้อยู่ การเรียนที่คณะดิจิทัลมีเดียผมเชื่อว่ามีงานรองรับอยู่แน่นอนครับ