การันตีเกมส์ดังไกลถึงต่างประเทศ จากฝีมือรุ่นพี่ในคณะ!
ตอบ : วุฒิการศึกษาที่เปิดรับ
1. ต้องสำเร็จการศึกษา ม.6
วิทย์ - คณิต
ศิลป์ - คำนวณ
ศิลป์ - สังคม
ศิลป์ - ภาษา
ศิลป์ - จีน
ศิลป์ - ญี่ปุ่น
2. หรือ เทียบเท่า (อาชีวะ) เทียบเท่า (กศน.)
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาการออกแบบกราฟิก เป็นหลักสูตรที่เน้นศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบงานกราฟิกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ในด้านการสื่อสารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล ได้แก่ การออกแบบอินโฟกราฟิก (Infographic) การออกแบบกราฟิกเคลื่อนไหว (Motion Graphic) การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟส (UI) การออกแบบแบรนด์หรืออัตลักษณ์องค์กร (CI) การออกแบบโฆษณา (Advertising) การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging) และการออกแบบกราฟิกสำหรับสภาพแวดล้อม (Signage) ครอบคลุมงานกราฟิกทุกแขนงทั้งสื่อดิจิทัลและสื่อมีเดียต่างๆ
เปิดอนาคตสู่การเป็นดีไซน์เนอร์ในดิจิทัล ครีเอทีฟดีไซน์ นักออกแบบ UX/UI ทำงานด้านการออกแบบและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เช่น การสร้างแบรนด์ การออกแบบเว็บไซต์ UX/UI ออกแบบเพคเกจจิ้ง สร้างสรรค์งานโฆษณา e-Magazine ออกแบบ Infographic และสนุกไปกับการทำงาน Motion Graphic นอกจากนั้นยังได้เรียนรู้แนวทางการทำธุรกิจดิจิทัลผสมผสานไปกับงานออกแบบอย่างลงตัว
- Creative Design นักออกแบบสื่อสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ
- Art Director ผู้กำกับศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและกำกับสไตล์งาน และการพัฒนาแนวความคิด
- Creative Director ผู้กำกับการออกแบบงานสร้างสรรค์ เป็นผู้บริหารจัดการงานสร้างสรรค์
- UI Designer ผู้กำกับการออกแบบงานสร้างสรรค์ นักออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ ส่วนประสานงานผู้ใช้ และการออกแบบอินเทอร์เฟสสำหรับ Application หรือเว็บไซต์
- Interactive Designer นักออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ ผู้ที่ทำงานด้านการออกแบบข้อมูล (Information Design) ผู้ออกแบบหน้าการใช้งานหรือหน้าปฏิบัติการ (Interface Design) หรือหน้าจอทัชกรีน (Touch Screen) การออกแบบเว็บไซต์ (Web Design) สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) สื่อการเรียนการสอน (e-Learning) สื่อปฏิสัมพันธ์การจัดวางติดตั้ง (Installation Interactive Media)
- Motion Graphic Designer นักออกแบบกราฟิกในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว
- Graphic Designer นักออกแบบกราฟิก ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการออกแบบด้วยรูปภาพ ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ เป็นหลักสูตรที่เน้นให้บัณฑิตได้ศึกษาเกี่ยวกับการขั้นตอนการทำงานการผลิตแอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์และวิชวลเอฟเฟกต์สำหรับงานภาพยนตร์และงานโฆษณา
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มวิชาชีพเลือก ดังนี้
1. กลุ่มวิชาชีพเลือกคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน ศึกษาเกี่ยวกับการขั้นตอนการทำงานการผลิตแอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น การวาดสตอรี่บอร์ด การออกแบบตัวละครและฉาก การผลิตแอนิเมชันด้วยการใช้โปรแกรม 3 มิติและ 2 มิติ เป็นต้น
2.กลุ่มวิชาชีพเลือกวิชวลเอฟเฟกต์ ศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างเทคนิคพิเศษด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานภาพยนตร์และงานโฆษณา เช่น การสร้างหมอก ควัน ฝุ่น ไฟ ระเบิด การจำลองเหตุการณ์ทางภัยธรรมชาติ และการสร้างภาพตัวละครจำลอง เป็นต้น
สามารถดูรายละเอียดในคลิกที่ไฟล์ด้านล่างเพื่ออ่านการ์ตูนประชาสัมพันธ์หลักสูตรได้
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ เป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนทางด้านศิลปะโดยตรง และมีการสอนศิลปะตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นสำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานการวาดรูปก็สามารถเรียนได้ รวมถึงมีการจัด workshop ติววาดเส้นให้น้องใหม่เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเปิดเทอม นอกจากนี้หลักสูตรคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ ยังเปิดโอกาสให้เรียนรู้ขั้นตอนการผลิตแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ตั้งแต่ต้นจนจบ นักศึกษาจึงมีโอกาสในการเรียนวิชาชีพที่หลากหลาย ทำให้สามารถค้นพบสิ่งที่ตัวเองชอบและถนัด เพื่อนำไปประกอบอาชีพต่อไปได้ในอนาคต
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ อาชีพที่บัณฑิตสามารถทำได้เมื่อสำเร็จการศึกษามีหลากหลายสาขา เช่น
- Visual Effects Artist ศิลปินผู้สร้างสรรค์เทคนิคพิเศษสำหรับงานภาพยนตร์และงานโฆษณาทางโทรทัศน์
- Visual Effects Compositor ผู้ทำหน้าที่ประกอบภาพที่ถ่ายทำจริง (Live Action) กับภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ (CGI)
- 3D SLR Artist ศิลปินผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดแสง-เงาและการสร้างพื้นผิวต่างๆให้กับวัตถุในโปรแกรมสามมิติ
- 3D Modeller นักสร้างโมเดลสามมิติ ออกแบบและสร้างสรรค์โมเดลสามมิติประเภทต่างๆ
- Technical Director ผู้กำกับเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านศิลปะและการเขียนโปรแกรม ดูแลการทำงานด้านเทคนิคของวิชวลเอฟเฟกต์
มุ่งเน้นการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษาได้เรียนรู้การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในรูปแบบจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพเคลื่อนไหวด้วยสื่อดิจิทัล โดยใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือในโปรแกรมต่างๆ เช่น การวาดรูปแบบ Digital Paint การปั้นโมเดลแบบ 3 มิติ (3D Sculpture) และการวาดภาพประกอบ (Illustration) เป็นต้น
เรียนรู้การออกแบบงานศิลปะ ในรูปแบบของจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพเคลื่อนไหวด้วยสื่อดิจิทัล โดยใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือในโปรแกรม เช่น การวาดรูปแบบ Digital Paint การออกแบบโมเดล แบบ 3 มิติ (3D Sculpture) การวาดภาพประกอบ (Illustration) และงานศิลปะในเกม เป็นต้น
1) ศิลปินเชิงแนวคิด
2) นักเขียนภาพประกอบ
3) ศิลปินนักออกแบบโมเดล 3 มิติ
4) ผู้กำกับศิลป์
5) ศิลปินแนวดิจิทัล
6) ศิลปินสำหรับงานพื้นผิวเพื่องาน 3 มิติ
7) นักตัดต่อและลำดับภาพ
8) ผู้กำกับหนังอิสระ
9) นักตัดต่อหนัง
10) นักออกแบบกราฟิกเคลื่อนไหว
11) นักออกแบบสร้างสรรค์งานอิสระ ฯลฯ