ข่าว/กิจกรรม

อาจารย์ ม.ศรีปทุม ความคิด สุดเจ๋ง กลยุทธ์การสอนภาษาอังกฤษพื้นฐาน โดยใช้แบบการเรียนรู้ของผู้เรียน

 

UploadImage
ดร. เกรียงไกร สัจจะหฤทัย
อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต 
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยศรีปทุม


ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ซึ่งเป็นยุคของการติดต่อสื่อสารแบบไร้พรมแดน มนุษย์ทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วขึ้น โดยการสื่อสารเพื่อความเข้าใจระหว่างกันต้องใช้ภาษาเป็นสื่อกลาง เช่น ภาษาอังกฤษ ฯลฯ ซึ่งภาษาอังกฤษถือว่าเป็นภาษาสากลที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสาร นอกจากการใช้ภาษาอังฤษในการติดต่อสื่อสารแล้ว ภาษาอังกฤษยังถูกนำมาใช้เป็นภาษาในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้น จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าภาษาอังกฤษไม่มีความสำคัญกับมนุษย์ในยุคนี้

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพราะใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง และในอนาคตอันใกล้นี้การเข้าร่วมเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนของประเทศไทยจะทำ ให้ภาษาอังกฤษมีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้น แต่จากการสำรวจพบว่า ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนและนักศึกษาไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ต่ำจึงจำ เป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาอย่างเร่งด่วนเพื่อให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศ (ณภัทร วุฒิวงศา, 2557)

ดังนั้น การพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะ สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ต้องพัฒนากระบวนการเรียนการสอนของครูหรืออาจารย์ผู้สอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ครูต้องใส่ใจต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การสร้างความกระตือรือร้นในการขวนขวายหาความรู้ภาษาอังกฤษของผู้เรียน เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ และนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยเหตุและผลข้างต้น จึงมีความสนใจในการศึกษากลยุทธ์การสอนภาษาอังกฤษพื้นฐาน ENG 111 โดยใช้แบบการเรียนรู้ของผู้เรียน
วัตถุประสงค์การศึกษา

  1. เพื่อศึกษากลยุทธ์การสอนภาษาอังกฤษพื้นฐาน ENG 111 โดยใช้แบบการเรียนรู้ของผู้เรียน
  2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนกลยุทธ์การสอนภาษาอังกฤษพื้นฐาน ENG 111 โดยใช้แบบการเรียนรู้ของผู้เรียน

แนวคิดทฤษฏีที่ใช้ในการศึกษา
แนวคิดแบบการเรียนรู้ (Learning Style) ของ Haynes (2009) ที่ให้รายละเอียดว่า แบบการเรียนรู้ มี 3 ประเภท คือ

1) ลักษณะผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ดีจากการฟัง (Auditory Learners) หมายถึง ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีจากการฟัง และสามารถจดจำสิ่งที่ฟังได้ ผู้เรียนประเภทนี้จะสนุกกับการพูดคุย สัมภาษณ์ การอ่านออกเสียง สำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะกับผู้เรียนกลุ่มนี้ ได้แก่  Interviewing, Debating, Participating on a Panel, Giving Oral Reports, Participating in Oral Discussions of Written Material

2) ลักษณะผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ดีจากการดู (Visual learners) หมายถึง ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีจากการดู และสามารถจำสิ่งที่ดูได้ ผู้เรียนประเภทนี้จะชอบการอ่านในใจ และการสังเกต กิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะกับผู้เรียนกลุ่มนี้ ได้แก่ Computer Graphics, Maps, Graphs, Charts, Cartoons, Posters, Diagrams, Graphic Organizers and Text with a lot of Pictures

3) ลักษณะผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัส (Tactile Learners) หมายถึง ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัส พวกเขาจะเข้าใจในสิ่งที่ตนได้ลงมือเขียน และเรียนรู้ได้ดีจากการลงมือทำ  กิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะกับผู้เรียนกลุ่มนี้ ได้แก่ Drawing, Playing Board Game, Making Dioramas, Making Models, Following Instructions to make Something การสอนอ่านกับผู้เรียนกลุ่มนี้เหมาะที่จะใช้ “The Language Experience Approach (LEA)” และ “The Whole Language Approaches”

จากแนวคิดดังกล่าว ผู้สอนได้พิจารณาลักษณะของผู้เรียนตามแนวคิดแบบการเรียนรู้ ของประชากรในการศึกษา แล้วพบว่า ประชากรที่ใช้ในการศึกษามีลักษณะการเรียนรู้ได้ดี 2 แบบ ได้แก่ ลักษณะผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ดีจากการฟัง และลักษณะผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ดีจากการดู ทั้งนี้ผู้สอนได้ผสมให้ลักษณะผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัสเพิ่มลงในทั้ง 2 แบบ ดังนั้น การศึกษานี้จะมีแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน 2 แบบ คือ 1) ลักษณะผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ดีจากการฟังและสัมผัส และ 2)ลักษณะผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ดีจากการดูและสัมผัส

วิธีดำเนินการศึกษา

แบบแผนการศึกษา
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองในสถานการณ์จริง ซึ่งมีแบบแผนการศึกษาดังนี้

sec 32 33  :    O1      X1     O2

sec 86       :   O1      X1     O2

หมายเหตุ : E หมายถึง กลุ่มทดลอง sec 32 33 และ 86

X1 คือ กลยุทธ์การสอนโดยใช้การสร้างทัศนคติที่ดี การสร้างแรงจูงใจ และการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบ Auditory Learners และ Tactile Learners สำหรับ Sec 32 33 และ แบบการเรียนรู้แบบ Visual Learners และ Tactile Learners สำหรับ Sec 86

O1 คือ คะแนน Pre-Test

O2 คือ คะแนน Post-Test และพฤติกรรมของผู้เรียน วัดโดยการสังเกตพฤติกรรม ความกระตือร้น และการมีส่วนร่วม

ประชากรและตัวอย่าง
ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนวิชา ENG 111 ภาคการศึกษาที่ 1/2559 ในกลุ่มเรียนที่ 32 33 และ 86 จำนวน 67 คน เนื่องจากผู้สอนรับผิดชอบการสอนรายวิชาดังกล่าวของทั้ง 3 กลุ่มนี้ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลกับนักศึกษาทุกคน (Census) โดยแบ่งเป็นลักษณะผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ดีจากการฟังและการสัมผัส คือ นักศึกษากลุ่มเรียน 32 และ 33 จำนวน 37 คน (เป็นนักศึกษาวิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ) และผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ดีจากการดูและการสัมผัส คือ นักศึกษากลุ่มเรียน 86 จำนวน 30 คน (เป็นนักศึกษาคณะดิจิทัลมีเดีย)

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการสอน ครั้งที่ 12-15 คือ แผนการสอนครั้งที่ 12  เรื่อง Shopping แผนการสอนครั้งที่ 13 เรื่อง A wide world แผนการสอนครั้งที่ 14 เรื่อง  Busy lives และแผนการสอนครั้งที่ 15 เรื่อง นิทรรศการ

กลยุทธ์การสอน ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์การสร้างทัศนคติที่ดี โดยการใช้เทคโนโลยีมาประกอบการสอน เช่น การแชร์โพสต์เกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษและคำศัพท์ในเฟสบุ๊ค กรุ๊ป ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาได้รู้สึกว่าภาษาอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และการตอบคำถามพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นที่นักศึกษาสงสัยผ่านทางไลน์กลุ่ม ซึ่งจะทำให้นักศึกษากล้าที่จะแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมมากขึ้น รวมถึงเพื่อสร้างความคุ้นชินกับผู้สอนในรายวิชาภาษาอังกฤษ และจะส่งผลให้ผู้เรียนมีทัศนคติต่อรายวิชาภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น 2) กลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจ โดยการตั้งเป้าหมายร่วมกันก่อนการเรียนในแต่ละครั้ง เพื่อสร้างแรงขับของผู้เรียน ให้ไปสู่เป้าหมายให้ได้  และ 3) กลยุทธ์การสอนตามแบบการเรียนรู้ ดังนี้

(1) การจัดการเรียนการสอนตามแบบการเรียนรู้แบบ Auditory Learners และ Tactile Learners สำหรับ Sec 32 และ 33 มีขั้นตอน ดังนี้  (แผนภาพ 1)

ขั้นตอนที่ 1  กำหนดเวลา  5 นาที ให้นักศึกษาซักถามกันระหว่างเพื่อนถึงกิจกรรมวันหยุดที่ผ่านมา โดยใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งจะผลัดเปลี่ยนให้นักศึกษาได้พูดคุยกันไปเรื่อยๆ โดยเน้นย้ำให้นักศึกษายังไม่ต้องกังวลเรื่องไวยกรณ์แต่ให้พูดสื่อสารกันอย่างเข้าใจก่อน

ขั้นตอนที่ 2  ค้นหาสิ่งที่นักศึกษาสนใจหรือสื่อต่างๆ มาดึงความสนใจก่อนเข้าบทเรียน โดยการสอบถาม เล่าเรื่อง หรือยกตัวอย่างจากสังคมออนไลน์

ขั้นตอนที่ 3  ให้นักศึกษาเตรียมการสอน เพื่อสอนเพื่อนในชั้นเรียนตามหัวข้อที่ได้แบ่งไว้

ขั้นตอนที่ 4  อธิบายเสริมจากที่นักศึกษาได้เตรียมการสอนมา เนื่องจากสิ่งที่นักศึกษาได้เตรียมมานั้นอาจจะไม่ครบถ้วนหรือการสื่อสารยังไม่สามารถเข้าถึงนักศึกษาในชั้นเรียนได้ ดังนั้ นผู้สอนจึงต้องเสริมในสิ่งที่ยังขาดและยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้นักศึกษาเห็นภาพรวมตามวัตถุประสงค์ของบทเรียน

ขั้นตอนที่ 5  ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะหากสอนแต่ไม่มีการสรุปบทเรียนอาจทำให้นักศึกษาไม่สามารถตกผลึกองค์ความรู้ได้ ดังนั้น ผู้สอนควรนำสรุปบทเรียนและเกริ่นนำเพื่อปูทางไปถึงบทเรียนครั้งต่อไป พร้อมแนะนำให้นักศึกษาได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากสื่อต่างๆ และนำสิ่งที่ค้นหามานั้นเล่าให้เพื่อนฟังในครั้งต่อไป และตอบข้อซักถามหากนักศึกษามีข้อสงสัย

Ki1

แผนภาพ 1 การจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบ Auditory Learners และ Tactile Learners

(2) การจัดการเรียนการสอนตามแบบการเรียนรู้แบบ Visual Learners และ Tactile Learners สำหรับ Sec 86 มีขั้นตอนดังนี้ (แผนภาพ 2)

ขั้นตอนที่ 1  กำหนดเวลา  5 นาที ให้นักศึกษาซักถามกันระหว่างเพื่อนถึงกิจกรรมวันหยุดที่ผ่านมา โดยใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งจะผลัดเปลี่ยนให้นักศึกษาได้พูดคุยกันไปเรื่อยๆ โดยเน้นย้ำให้นักศึกษายังไม่ต้องกังวลเรื่องไวยกรณ์แต่ให้พูดสื่อสารกันอย่างเข้าใจก่อน

ขั้นตอนที่ 2  ค้นหาสิ่งที่นักศึกษาสนใจหรือสื่อต่างๆ มาดึงความสนใจก่อนเข้าบทเรียน และโยงให้เข้ากับเรื่องเกมส์และการออกแบบเพื่อดึงความสนใจ

ขั้นตอนที่ 3  ให้นักศึกษาออกแบบสื่อการสอน มาสอนเพื่อนในชั้นเรียนตามหัวข้อที่ได้แบ่งไว้

ขั้นตอนที่ 4  อธิบายเสริมจากที่นักศึกษาได้ออกแบบสื่อการสอนมาสอน เนื่องจากสิ่งที่นักศึกษาได้เตรียมมานั้นอาจจะไม่ครบถ้วนหรือการสื่อสารยังไม่สามารถเข้าถึงนักศึกษาในชั้นเรียนได้ ดังนั้นผู้สอนจึงต้องเสริมในสิ่งที่ยังขาดและยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้นักศึกษาเห็นภาพรวมตามวัตถุประสงค์ของบทเรียน

ขั้นตอนที่ 5  ให้นักศึกษาออกแบบชิ้นงานตามหัวข้อของบทเรียน เช่น เรื่อง Part Sim ให้นักศึกษาออกแบบหนังสือการ์ตูนให้ตรงตามหัวข้อที่กำหนดไว้ จากนั้นผู้สอนนำสรุปบทเรียนและเกริ่นนำเพื่อปูทางไปถึงบทเรียนครั้งต่อไปพร้อมแนะนำให้นักศึกษาได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากสื่อต่างๆ และนำสิ่งที่ค้นหามานั้นมาเล่าให้เพื่อนฟังในครั้งต่อไป และตอบข้อซักถามหากนักศึกษามีข้อสงสัย

Ki2

แผนภาพ 2 การจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบ Visual Learners และ Tactile Learners

ข้อสอบ Pre – test และ Post-test เพื่อใช้วัดผลสัมฤทธิ์ของการเรียนตามกลยุทธ์การสอน
การวิเคราะห์และนำเสนอผลการศึกษา
การวิเคราะห์และนำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความต่างของคะแนนเฉลี่ย และคะแนนเฉลี่ยเพิ่มสัมพัทธ์ และการบรรยายพฤติกรรมของนักศึกษาจากการได้รับกลยุทธ์การสอนของรายวิชาภาษาอังกฤษ

สรุปผลการศึกษา

  1. ผลการศึกษากลยุทธ์การสอนภาษาอังกฤษพื้นฐานโดยใช้แบบการเรียนรู้ของผู้เรียน

ผลการศึกษากลยุทธ์การสอนภาษาอังกฤษพื้นฐาน ENG111 โดยใช้แบบการเรียนรู้ของผู้เรียน พบว่า กลยุทธ์การสร้างทัศนคติที่ดีของผู้เรียน ด้วยวิธีการแชร์โพสต์เกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษและคำศัพท์ในเฟสบุ๊ค กรุ๊ป นั้น ในกลุ่มเรียน  32 และ 33 พบว่า นักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลามากขึ้น ขณะที่กลุ่มเรียน 86 นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียนมากขึ้น และการตอบคำถามพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นที่นักศึกษาสงสัยผ่านทางไลน์กลุ่มทำให้นักศึกษากล้าที่จะแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมมากขึ้น ในกลุ่มเรียน  32 และ 33 พบว่า นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น และนักศึกษาเปิดใจมากขึ้น ขณะที่กลุ่มเรียน 86 นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น

กลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจของผู้เรียนในการเรียนภาษาอังกฤษ ด้วยวิธีการตั้งเป้าหมาย เพื่อสร้างแรงขับ ในกลุ่มเรียน  32 และ 33 พบว่า นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน นักศึกษากระตือรือร้นในชั้นเรียน ขณะที่กลุ่มเรียน 86 นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน นักศึกษากระตือรือร้นในชั้นเรียน และนักศึกษาใส่ใจมากขึ้น

สำหรับกลยุทธ์การสอนตามแบบการเรียนรู้ (Learning Style) นักศึกษากลุ่มเรียน 32 และ 33 ที่ใช้แบบการเรียนรู้ Auditory Learners และ Tactile Learners (ภาพ 1) พบว่า นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน นักศึกษากระตือรือร้นในชั้นเรียน นักศึกษาเปิดใจมากขึ้น และนักศึกษาเข้าใจมากขึ้น ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้สู่เพื่อนตามความถนัดของตนเอง นักศึกษากลุ่มเรียน 86 ที่ใช้ แบบการเรียนรู้ Visual Learners และ Tactile Learners (ภาพ 2) นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน นักศึกษากระตือรือร้นในชั้นเรียนนักศึกษาเปิดใจมากขึ้น นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้สู่เพื่อนตามความถนัดของตนเอง รายละเอียดตาราง 1

ตาราง 1 สรุปผลการศึกษากลยุทธ์การสอนภาษาอังกฤษพื้นฐานโดยใช้แบบการเรียนรู้ของผู้เรียน

กลยุทธ์การสอน

ผลการประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์

กลุ่มเรียน 32 และ 33

กลุ่มเรียน 86

1.กลยุทธ์การสร้างทัศนคติที่ดีของผู้เรียนต่อรายวิชาภาษาอังกฤษ
1.1 การแชร์โพสเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษและคำศัพท์ในเฟสบุ๊ค กรุ๊ป -นักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา -นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน
1.2 การตอบคำถามพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นที่นักศึกษาสงสัยผ่านทางไลน์กลุ่มทำให้นักศึกษากล้าที่จะแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมมากขึ้น -นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น

 

-นักศึกษาเปิดใจมากขึ้น

-นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น
2. กลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจของผู้เรียนในการเรียนภาษาอังกฤษ ด้วยวิธีการตั้งเป้าหมาย เพื่อสร้างแรงขับ -นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน

 

-นักศึกษากระตือรือร้นในชั้นเรียน

-นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน

 

-นักศึกษากระตือรือร้นในชั้นเรียน

-นักศึกษาใส่ใจมากขึ้น

3.กลยุทธ์การสอนตามแบบการเรียนรู้ (Learning Style)
3.1 แบบการเรียนรู้ Auditory Learners และ Tactile Learners -นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน

 

-นักศึกษากระตือรือร้นในชั้นเรียน

-นักศึกษาเปิดใจมากขึ้น

-นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น

-นักศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน

 
3.2 แบบการเรียนรู้ Visual Learners และ Tactile Learners   -นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน

 

-นักศึกษากระตือรือร้นในชั้นเรียน

-นักศึกษาเปิดใจมากขึ้น

-นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น

-นักศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน

Ki3.PNG

ภาพ 1 การสอนตามแบบการเรียนรู้แบบ Auditory Learners และ Tactile Learners

K4

ภาพ 2 การสอนตามแบบการเรียนรู้แบบ Visual Learners  และ Tactile Learners

Ki5

ภาพ 3  ภาพรวมผลการสอนโดยใช้กลยุทธ์การสอนภาษาอังกฤษพื้นฐาน ENG111 โดยใช้แบบการเรียนรู้ของผู้เรียน

จากผลการศึกษา ผู้สอนได้นำกลยุทธ์ที่ใช้ในการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ENG 111 มาพัฒนาเป็นรูปแบบการสอนที่เข้าใจง่าย และสะดวกต่อการนำไปใช้และพัฒนาต่อยอด โดยได้หาคำสำคัญที่กระชับ ชัดเจน เพื่อใช้ในการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ดังภาพต่อไปนี้

Ki6

   เปิดใจ (Open mind)

ใส่ใจ (Concentrate)

เข้าใจ (Understand)

แบ่งปัน (Share)

  • ปรับทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ
  • สร้างแรงจูงในเพื่อให้เกิดการใฝ่รู้
  • นักศึกษาตั้งใจ เอาใจใส่ในบทเรียน
  • นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาและกล้าสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษมากขึ้น
  • นักศึกษานำผลงานที่ได้จากการเรียนรู้จัดเป็นนิทรรศการ
  • การให้นักศึกษาสอนเพื่อน โดยใช้สื่อที่พัฒนาขึ้นเอง
  • นำผลงานหรือสื่อการสอนนั้นมอบให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนสื่อการสอน พร้อมทั้งการอาสาสอน

ทั้งหมดนี้เป็นการแสดงถึงการเปิดใจ ใส่ใจ เข้าใจ ต่อการเรียนภาษาอังกฤษ

กลยุทธ์การสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียน

กลยุทธ์แบบการเรียนรู้
(Learning Style)

กลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจ

แผนภาพ 3 รูปแบบของกลยุทธ์การสอนรายวิชาภาษาอังกฤษ “ 3 ใจ 1 แบ่งปัน”

จากแผนภาพ 3 เป็นรูปแบบของกลยุทธ์การสอนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน เรียกว่า “3 ใจ 1 แบ่งปัน” ซึ่งแต่ละใจ และแบ่งปัน มีรายละเอียดดังนี้

  1. เปิดใจ ก่อนการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนต้องสร้างทัศนคติที่ดีของผู้เรียนต่อรายวิชาภาษาอังกฤษก่อน โดยการสร้างทัศนคติที่ดีนั่น ควรเริ่มตั้งแต่ครั้งแรกของการเรียนการสอน ในที่นี่ก็เพื่อให้ผู้เรียนเปิดใจรับรายวิชาภาษาอังกฤษ เปิดใจรับผู้สอนรายวิชาภาษาอังกฤษ และเปิดใจรับเพื่อน ทั้งนี้ ทัศนคติที่ดีต่อรายวิชา ต่อผู้สอน และต่อเพื่อน อาจถูกพังทลายด้วยความผิดหวังจากผลสอบ จากความเข้าใจผิดระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และกับเพื่อน ดังนั้น จึงต้องมีการกระตุ้นหรือสร้างทัศนคติที่ดี อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การเปิดใจรับรายวิชา ผู้สอน และเพื่อน ยังคงอยู่ตลอด นอกจากการมีทัศนคติที่ดีแล้ว การสร้างแรงจูงใจเป็นอีกส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนเปิดใจ ด้วยการวางเป้าหมายร่วมกัน เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนในการเรียน และแรงจูงใจย่อมมีวันพังทลายเช่นกัน จึงต้องมีการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่อง
  2. ใส่ใจ ภายหลังที่ผู้เรียนเปิดใจแล้ว การสร้างหรือพัฒนาให้ผู้เรียนใส่ใจในการเรียน ผู้สอนต้องเข้าใจลักษณะและความถนัดของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม แล้วนำกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้เรียนมาใช้ในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนตั้งใจและเอาใจใส่ในบทเรียน กิจกรรมการเรียนมากขึ้น
  3. เข้าใจ จากที่ผู้เรียนได้เปิดใจ และใส่ใจในรายวิชา ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนแล้ว การสร้างความเข้าใจในเนื้อหาของผู้เรียนจะง่ายและรวดเร็วขึ้น โดยผู้สอนจะหยิบเนื้อหา สอดแทรกเนื้อหาหรือให้ความรู้ได้ง่ายขึ้น โดยผู้สอนอาจสังเกตจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วม การแสดงความคิดเห็น การส่งงานตามที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องและตรงเวลา
  4. แบ่งปัน ผู้สอนวางเป้าหมายนอกจากการจัดกิจกรรมการเรียนตามความเหมาะสมของผู้เรียนแล้ว ยังตั้งเป้าหมายให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ตลอดจนการร่วมแบ่งปันความรู้ระหว่างเพื่อน และสังคม ดังนั้น การมอบหมายให้ผู้เรียนสร้างสื่อการสอนตามหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ และมีความถนัด และนำไปแบ่งปันร่วมกันในงานนิทรรศการภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ผลของกิจกรรมดังกล่าว ยังช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ในระดับสูงสุดอีกด้วย
  1. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนตามกลยุทธ์การสอนตามแบบการเรียนรู้

ภาพรวมนักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ย Post-test สูงกว่าคะแนนเฉลี่ย Pre-Test  (เปรียบเทียบระหว่าง 103.01 กับ 74.75 คะแนน) ขณะเดียวกันยังพบอีกว่า ในทุกกลุ่มเรียนนักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น (ตาราง 2)

สำหรับผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนตามกลยุทธ์การสอนตามแบบการเรียนรู้ ที่พิจารณาจากคะแนนพัฒนาการ พบว่า โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่ม มีคะแนนพัฒนาการที่วัดจากคะแนนความต่างของคะแนนเฉลี่ย Post-Test  –  Pre-Test  เท่ากับ 28.36 คะแนน แสดงให้เห็นว่านักศึกษาทั้ง 3 กลุ่ม มีคะแนนเฉลี่ยครั้งหลังเปลี่ยนไปจากครั้งแรกจำนวน 28.36 คะแนน เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยเพิ่มสัมพัทธ์ พบว่า นักศึกษาทั้ง 3 กลุ่ม สามารถพัฒนาการเรียนได้ร้อยละ 51.24 ของปริมาณที่ควรพัฒนาได้ (ตาราง 2)

นักศึกษากลุ่มเรียน 32 มีคะแนนพัฒนาการที่วัดจากคะแนนความต่างของคะแนนเฉลี่ย Post-Test  –  Pre-Test  เท่ากับ 28.24 คะแนน แสดงให้เห็นว่านักศึกษากลุ่ม 32 มีคะแนนเฉลี่ยครั้งหลังเปลี่ยนไปจากครั้งแรกจำนวน 28.24 คะแนน เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยเพิ่มสัมพัทธ์ พบว่า นักศึกษาในกลุ่ม 32 สามารถพัฒนาการเรียนได้ร้อยละ 50.32 ของปริมาณที่ควรพัฒนาได้

ในกลุ่ม 33 มีคะแนนพัฒนาการที่วัดจากคะแนนความต่างของคะแนนเฉลี่ย Post-Test  –  Pre-Test  เท่ากับ 44.20 คะแนน แสดงให้เห็นว่านักศึกษากลุ่ม 33 มีคะแนนเฉลี่ยครั้งหลังเปลี่ยนไปจากครั้งแรกจำนวน 44.20 คะแนน เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยเพิ่มสัมพัทธ์ พบว่า นักศึกษาในกลุ่ม 33 สามารถพัฒนาการเรียนได้ร้อยละ 64.34 ของปริมาณที่ควรพัฒนาได้

ในกลุ่ม 86 มีคะแนนพัฒนาการที่วัดจากคะแนนความต่างของคะแนนเฉลี่ย Post-Test  –  Pre-Test  เท่ากับ 21.71 คะแนน แสดงให้เห็นว่านักศึกษากลุ่ม 86 มีคะแนนเฉลี่ยครั้งหลังเปลี่ยนไปจากครั้งแรกจำนวน 21.71 คะแนน เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยเพิ่มสัมพัทธ์ พบว่า นักศึกษาในกลุ่ม 86 สามารถพัฒนาการเรียนได้ร้อยละ 46.72 ของปริมาณที่ควรพัฒนาได้

ตาราง 2 คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความต่างของคะแนนเฉลี่ย และคะแนนเฉลี่ยเพิ่มสัมพัทธ์ ของคะแนน Pre-test และ Post-test ภาพรวมและรายกลุ่ม

Ki7.PNG

อภิปรายผล

ผลการศึกษากลยุทธ์การสอนภาษาอังกฤษพื้นฐาน ENG 111 โดยใช้แบบการเรียนรู้ของผู้เรียน พบว่า กลยุทธ์การสอนต้องประกอบด้วยการสร้างทัศนคติ และการสร้างแรงจูงใจ เพื่อเปิดใจของผู้เรียนในการรับเนื้อหารายวิชาภาษาอังกฤษ ผู้สอน และเพื่อนสอดคล้องกับการศึกษาของดวงทิพย์ เจริญรุกข์ เผื่อนโชต (2557) ที่ศึกษาทัศนคติของนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ที่มีต่อรายวิชา COM 218 ภาษาอังกฤษสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 1 โดยรวมอยู่ในเชิงบวก โดยกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติในเชิงบวกไปในเรื่องของการได้ใช้ความรู้จากการเรียนวิชา ภาษาอังกฤษสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 1 ในชีวิตประจำวันในอนาคตอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคม การติดต่อสื่อสารหรือสื่อสารมวลชนต่างๆ นักศึกษาจะพบกับภาษาอังกฤษเสมอ ส่วนการนำความรู้ที่เรียนวิชา ภาษาอังกฤษสำหรับนักนิเทศศาสตร์ไปประยุกต์ใช้นั้นจะพบว่าตนเองสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และนักศึกษามีการซักถามปัญหา หลังการเรียนทุกครั้ง ซึ่งจะทำให้เรียนวิชาภาษาอังกฤษได้ดี และสอดคล้องกับการศึกษาขอ สกนธ์  ภู่งามดี (2558) ที่ศึกษาการสร้างแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอของนักศึกษารายวิชา DGA321 แนวคิดศิลปะ สาขาดิจิทัลอาร์ตส์ คณะดิจิทัลมีเดีย พบว่าสาเหตุที่นักศึกษามีพฤติกรรมขาดเรียนบ่อยในวิชาแนวคิดศิลปะคือการนอนดึก และนิสัยส่วนตัวที่ชอบท่องเที่ยวหาประสบการณ์ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับตารางเรียนโดยสาเหตุ 2 ข้อนี้เป็นสาเหตุจากปัจจัยส่วนบุคคลที่เกิดจากตัวนักศึกษาเป็นหลักและผลลัพท์จากการสร้างแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอของนักศึกษากลุ่มดังกล่าว โดยใช้สิ่งจูงใจจากปัจจัยเสริมแรงด้านบวกและด้านลบ สรุปผลได้ว่านักศึกษา 4 จาก 5 คนมีพฤติกรรมเข้าเรียนสม่ำเสมอมากขึ้นและนำไปสู่ผลการเรียนที่ดีขึ้นแต่ยังมีนักศึกษาจาก 1 ใน 5 คนยังไม่ปรับพฤติกรรมการเข้าเรียนตามเกณฑ์ซึ่งผู้วิจัยเสนอแนะให้กำหนดโครงการฝึกอบรมนักศึกษาด้านการพัฒนาตนเองควบคู่กับกิจกรรมที่สนองต่อความต้องการของนักศึกษาที่เป็นประชากรในกลุ่มวัยรุ่น สำหรับกลยุทธ์การสอนตามแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือการเลือกจัดกิจกรรมการเรียนที่ผู้เรียนถนัดหรือสนใจ จะทำให้ผู้เรียนใส่ใจและเข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดแบบการเรียนรู้ (Learning Style) ของ Haynes (2009) ที่กล่าวว่า อาจารย์ต้องศึกษาแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนและหาทางให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในแบบของตน เพื่อให้การเรียนรู้เป็นเรื่องง่ายและได้ผลมาก

ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนตามกลยุทธ์การสอนตามแบบการเรียนรู้ พบว่า ภาพรวมนักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น สอดคล้องกับการศึกษาของ ธุวพร ตันตระกูล(2555) ที่ศึกษาเรื่องการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน โดยใช้บทฝึกการสนทนาภาษาอังกฤษและพบว่า ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาก่อนและหลังการทดลอง พบว่า หลังการทดลองนักศึกษาสามารถพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้ดีขึ้น โดยมีความสามารถใน การพูด เพื่อการสื่อสารหลังการทดลองสูงกว่า ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

  1. ในด้านทัศนคติควรมีการสร้างทัศนคติที่ดีก่อนการเรียนการสอนโดยสร้างแรงจูงใจควบคู่กัน เพื่อให้ผู้เรียนเปิดใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่ผู้เรียนส่วนใหญ่กลัวและไม่ถนัด
  2. ควรเสริมทัศนคติและแรงจูงใจอย่างต่อเนื่องโดยสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เข้าเรียนไม่ตรงเวลา ไม่ส่งงาน ไม่มีสมาธิในการเรียน
  3. ผู้สอนต้องวิเคราะห์ผู้เรียนก่อนที่จะวางแผนการสอนให้ตรงตามแบบและลักษณะของผู้เรียน ผู้สอนต้องใส่ใจผู้เรียนโดยสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนเสมอๆ
  4. ผู้สอนควรสอดแทรกการทำงานเป็นทีม จริยธรรม และ คุณธรรม เข้าไปด้วยในรายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงการแบ่งปันมากกว่าการแข่งขัน

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

  1. ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการทำงานเป็นทีม การสอนโดยใช้คุณธรรมและจริยธรรมร่วมกับกลยุทธ์การสอน
  2. ควรศึกษากลยุทธ์การสอนแบบอื่นๆ เพื่อให้ครอบคลุมกับผู้เรียนในรูปแบบต่างๆ

 

รายการอ้างอิง

ดวงทิพย์ เจริญรุกข์ เผื่อนโชต. (2557). ทัศนคติของนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ที่มีต่อรายวิชา COM 218 ภาษาอังกฤษสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 1. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ธราบุญ คูจินดา. (2550). ประโยชน์และวิธีใช้เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน. หนองคาย: สารสองฝั่งโขง.

ธุวพร ตันตระกูล. (2555). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน โดยใช้บทฝึกการสนทนาภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สกนธ์  ภู่งามดี (2558). การแก้ปัญหาการไม่ส่งงาน ของนักศึกษาสาขาดิจิทัลอาร์ตส์ คณะดิจิทัลมีเดีย ในรายวิชา DGA 352 ศิลปะนิยม. กรุงเทพมหานคร: รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน สาขาวิชาดิจิทัลอาร์ตส์ คณะดิจิทัลมีเดีย, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Haynes, J. (2009). “Teach to Students’ Learning Styles”. Retrieved  August 30, 2015 from http://www.everythingesl.net/inservices/learningstyle.php.

view: 1577 shares: