หลักสูตร "พลิกโฉมอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารด้วยแนวคิดดิจิทัล"
(Digital Transformation for food processing industry)
ภายใต้โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิต
ตามนโยบายการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree)
ดำเนินงานโดย วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ประเภทหลักสูตร ประกาศนียบัตร (Non-Degree)
สถานที่ฝึกอบรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน และสถานประกอบการ
กลุ่มเป้าหมาย (จำนวน 80 คน)
1. ผู้ประกอบการ/เจ้าของกิจการ/ผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
2. บุคลากรที่ต้องการเรียนรู้ธุรกิจอาหาร/เครื่องดื่ม ในรูปแบบ Digital Transformation
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 20 กรกฎาคม 2563 ลงทะเบียนออนไลน์ คลิก
เอกสารประกอบการสมัคร สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ใบ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
ในยุคที่เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ “สึนามิเทคโนโลยี” ที่ถาโถมเข้ามาสร้างความท้าทายรุกไล่ธุรกิจดั้งเดิม ควบคู่กับการสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิทัลจนกลายเป็นกระแส “ดิจิทัล ดิสรัปชั่น” ทำให้ “โลกธุรกิจ” ยุคนี้อยู่ในโหมดการปรับเปลี่ยนทรานส์ฟอร์มในทุกมิติ เพื่อที่จะให้สามารถอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืน[1]
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา “Digital Transformation” นับเป็นประเด็นที่เหล่าผู้นำธุรกิจทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ Digital Transformation คือ กระบวนการที่นำเอา Digital Technology มาปรับใช้กับทุกส่วนของธุรกิจ นับตั้งแต่รากฐานกระบวนการทำงาน การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ การตลาด วัฒนธรรมองค์กร และการกำหนดเป้าหมายการเติบโตในอนาคต เพื่อให้ธุรกิจสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงช่วยตอบโจทย์ธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ Digital Technology เป็นเพียงเครื่องมือ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้น การนำเอาเข้ามาใช้งานจึงควรเริ่มจากการตั้งเป้าหมายสำหรับอนาคตให้ชัดเจนก่อน จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์และนำเอา Digital Technology ที่เหมาะสมมาปรับใช้ตามวิสัยทัศน์นั้นๆ[2]
เนื่องจาก Digital Technology สามารถเข้าไปเพิ่มศักยภาพให้กับทุกองค์ประกอบของธุรกิจได้ ดังนั้น เราจึงเห็นว่ามี Digital Transformation เกิดขึ้นได้ในธุรกิจทุกประเภท สำหรับคำว่า Digital Transformation มีคุณลักษณะหลัก 3 ประการด้วยกัน ที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง สามารถอธิบายได้เป็น (1) มีลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลาง (2) การใช้การออกแบบเป็นวิธีการในการเน้นการทำซ้ำและการทำงานร่วมกัน (3) การผสานการให้บริการและช่องทางการให้บริการที่หลากหลายเข้าด้วยกันโดยใช้เทคโนโลยี
แผนยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2579) ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญไว้หลายด้าน โดยยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ คือยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยเน้นพัฒนาด้านต่างๆ อาทิ (1) การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการค้า การลงทุน พัฒนาสู่ชาติการค้า (2) การพัฒนาภาคการผลิตและบริการ เสริมสร้างฐานการผลิตเข้มแข็งยั่งยืน (3) การพัฒนาผู้ประกอบการและเศรษฐกิจชุมชน พัฒนาทักษะผู้ประกอบการ ยกระดับผลิตภาพแรงงานและพัฒนา SMEs สู่สากล (4) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษและเมือง พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และพัฒนาระบบเมืองศูนย์กลางความเจริญ (5) การเชื่อมโยงกับภูมิภาคและเศรษฐกิจโลก สร้างความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนากับนานาประเทศ ส่งเสริมให้ไทยเป็นฐานของการประกอบธุรกิจ ฯลฯ
อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างสูงต่อประเทศไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้จำนวนแรงงานมาก มีมูลค่าการลงทุนสูงที่สุด มีมูลค่าเพิ่มสูงที่สุด และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาสูงที่สุดเมื่อเทียบกับสาขาต่างๆ ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทย โดยในปัจจุบันมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในตลาดอาหารทั่วโลกอยู่ 3 แขนง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ได้แก่ ความต้องการมาตรฐานความปลอดภัยและความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ที่สูงขึ้นจากผู้บริโภคอาหาร การเพิ่มขึ้นของความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากแหล่งโปรตีน ซึ่งประเทศไทยสามารถใช้การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เป็นโอกาสในการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป โดยส่งเสริมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการเพิ่มมาตรฐานด้านการตรวจสอบย้อนกลับ อุตสาหกรรมวิจัยและผลิตโภชนาการเพื่อสุขภาพอาหารที่มีการเติมสารอาหาร (Fortified Foods) และการผลิตอาหารไทยไขมันต่ำ อาหารที่ให้พลังงานต่ำและน้ำตาลต่ำ เป็นต้น
จากสภาพการณ์ทางธุรกิจและแผนยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวข้างต้น วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จึงกำหนดจัดหลักสูตรประกาศนียบัตรอบรมระยะสั้น หลักสูตร “พลิกโฉมอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารด้วยแนวคิดดิจิทัล (Digital Transformation for food processing industry) ขึ้น เนื่องด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิต และภาคอุตสาหกรรมตามนโยบายการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย เพื่อสร้างความมั่งคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ต่อภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และประเทศต่อไป
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อสร้างและพัฒนาธุรกิจด้วยแนวคิด Digital Transformation และพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะและศักยภาพสูง สู่อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
2. เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ โดยการนำแนวคิด Digital Transformation มาปรับประยุกต์ใช้อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศผ่านหลักสูตรประกาศนียบัตร และสามารถเทียบโอนปริญญาได้
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเมื่อจบการอบรม
1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความเชี่ยวชาญและสมรรถนะด้านนวัตกรรม (Professional in Innovative Competencies) รองรับความต้องการของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร รวมถึง STEM Skill และ Innovative Skills
2. ผู้เข้ารับการอบรมมีสมรรถนะในโลกสมัยใหม่ (General Competencies) ที่ประกอบด้วยทักษะสังคมและชีวิต (Social and Life Balance) มีความสามารถที่เป็นสากล (Globally Talented) มีความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Mindset) และมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Engaged) มีเครือข่ายที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engines)
3. เพื่อพัฒนา/ปรับปรุงอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารด้วยแนวคิด Digital Transformation และเติมเต็มศักยภาพของบุคลากรของสถานประกอบการให้มีความเชี่ยวชาญและสมรรถนะ
แนวทางการจัดการเรียนการสอน
การจัดอบรมกำหนดหัวข้อแยกเป็น 2 ส่วน รวมระยะเวลาอบรม จำนวน 285 ชั่วโมง แบ่งเป็นการอบรมเชิงทฤษฎี จำนวน 60 ชั่วโมง และเชิงปฏิบัติการ จำนวน 225 ชั่วโมง ซึ่งสามารถเทียบเคียงเป็นจำนวนหน่วยกิต ตามข้อกำหนดของหลักสูตรได้จำนวน 9 หน่วยกิต โดยกำหนดการอบรมในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ ใช้สถานที่ ณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน และฝึกปฏิบัติ ณ สถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม เนื้อหาการอบรมเน้นเชิงทฤษฎีร้อยละ 20 และเชิงปฏิบัติการ ร้อยละ 80 รายละเอียดหัวข้อการอบรม ดังนี้
โมดูลที่ 1 สมรรถนะในโลกสมัยใหม่ (General Competencies)
(ภาคทฤษฎี 15 ชั่วโมง, ภาคปฏิบัติ 50 ชั่วโมง รวม 65 ชั่วโมง)
ดำเนินการจัดการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมและชีวิต การสื่อสาร การนำเสนอ การตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ความสามารถที่เป็นสากล รู้และเข้าใจธุรกิจ และหลักการจัดการสมัยใหม่ ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งความจำเป็นเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการอบรมเน้นเชิงบูรณาการใช้ Team Teaching Method โดยทีมคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
รูปแบบการอบรม
ดำเนินการจัดการอบรมโดยเน้นการอบรมเชิงบูรณาการใช้ Team Teaching Method โดยทีมคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่ทำหน้าที่อบรมจะมีการประชุมร่วมกันเพื่อกำหนด Learning Outcome และออกแบบการอบรมโดยเน้นใช้ Active Learning และ Activity Based ดังนี้
1. จัดการอบรมเน้นกิจกรรมกลุ่ม Group Discussion Work Shop โดยใช้ Case Study จัดการอบรมเน้น Project Based ภายใต้การกำกับดูแลของทีมวิทยากรที่อบรม ซึ่งจะมีการมอบหมายโจทย์อย่างต่อเนื่องทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม มีการเสนองาน ตรวจงาน สรุปและประเมินผล เพื่อวัด Learning Outcome และแนะนำเพื่อปรับปรุงพัฒนาผู้อบรมอย่างต่อเนื่อง
2. จัดการอบรมโดยใช้เทคนิค Game Based Learning และ Project Based
เรียนรู้ ณ สถานประกอบการหรือภาคอุตสาหกรรมที่นำสมัยเน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการพัฒนาและขับเคลื่อนองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม
โมดูลที่ 2 ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะทางด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ด้วยแนวคิด Digital Transformation
(ภาคทฤษฎี 45 ชั่วโมง, ภาคปฏิบัติ 175 ชั่วโมง รวม 220 ชั่วโมง)
ดำเนินการจัดอบรมเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ด้วยแนวคิด Digital Transformation ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงองค์กรหรือธุรกิจ โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงให้ธุรกิจหรือองค์กรมีความพร้อมในโลกดิจิตอลมากขึ้น แต่สิ่งที่ต้องเน้นย้ำสำคัญที่เราจะเรียกว่าเป็น Digital Transformation ได้อย่างสมบูรณ์แบบก็คือ นอกจากการนำเทคโนโลยีมาใช้แล้ว การวางยุทธศาสตร์ แนวคิดการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กรรวมถึงวิสัยทัศน์ของผู้นำที่พร้อมจะมีการรับสิ่งที่เปลี่ยนแปลง การมีและใช้นวัตกรรมให้เกิดประโยชน์ และการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ การนำสิ่งต่างๆ เหล่านี้มาใช้ครบถ้วนจึงจะนำได้ว่าเป็น Digital Transformation อย่างแท้จริง
แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาด้านเทคโนโลยีเป็นไปแบบก้าวกระโดด ดังนั้นการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานจึงควรมุ่งเน้นไปที่การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์การดำเนินงานทั้งระยะสั้นและระยะยาวขององค์กรในอนาคต ดังนั้นวิสัยทัศน์ของผู้นำและการเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของบุคคลากรในองค์การจึงนับได้ว่าเป็นส่วนสำคัญ
หลักสูตรการอบรม “พลิกโฉมอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารด้วยแนวคิดดิจิทัล (Digital Transformation for food processing industry)” จึงมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านผลิตภัณฑ์ (Product), ด้านการตลาด (Marketing), ด้านกระบวนดำเนินงาน (Operations), ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management : HRM) และด้านการเงินและการบัญชี (Finance & Accounting) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารสู่รูปแบบธุรกิจ Digital Transformation
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
คุณพนิดา อังวราวงศ์ โทร. 02-579-1111 ต่อ 3054 / 0846018924
คุณนริศรา โหรดากุล โทร. 02-579-1111 ต่อ 3055 / 0921911994
คุณสุรี พฤกษ์ทวีศักดิ์ โทร. 02-579-1111 ต่อ 3048 / 0955910195
Line ID: sawalee7287 (ผู้จัดการโครงการ)