ข่าว/กิจกรรม

Libra เงินสกุลใหม่บน FACEBOOK สกุลเงินโลกจะเป็นอย่างไร

UploadImage

Libra
- เงินสกุลใหม่ -
เงินสกุลใหม่ที่ชื่อ Libra ของ Facebook ที่ประกาศใช้ในปีนี้
พันธกิจ (Mission) ของ Libra คือ
"A simple global currency and financial infrastructure that empowers billions of people"
โดยเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2019 ที่ผ่านมา Facebook ได้ประกาศ ตะกร้าเงิน หรือ Libra Crypto’s Currency Basket หรือหลักการของการผูกสกุลเงิน Libra ไว้กับตะกร้าของสกุลเงินหลักของโลก เพื่อให้เงิน Libra มีเสถียรภาพ สร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้มากขึ้น
โดยสัดส่วนในตะกร้าเงินมีดังนี้
-----------
ดอลลาร์สหรัฐ 50%
ยูโร 18%
เยนญี่ปุ่น 14%
ปอนด์ 11%
ดอลลาร์สิงคโปร์ 7%
------------
สาเหตุที่ไม่ใช้
เงินหยวนของจีนอยู่ในตะกร้าเงิน
 

 
เพราะสัดส่วนการใช้เงินหยวนทั่วโลกยังน้อยอยู่ จึงใช้เงินสิงคโปร์แทน เพราะมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองของสิงคโปร์มีมาก
ดังนั้น Libra น่าจะเป็นเงินดิจิทัลที่จะได้รับความนิยมมากที่สุดในเวลานี้
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 จุดประสงค์สำคัญของการสร้างและออกใช้ลิบร้าคือ “การเป็นสกุลเงินของโลก (global currency)” (ไม่แตกต่างจากจุดประสงค์ของการสร้างบิทคอยน์) โดยลิบร้าจะดำเนินงานอยู่บนระบบบล็อกเชนที่สามารถรองรับผู้ใช้งานที่ตั้งเป้าไว้ถึงระดับพันล้านคนได้ และหนุนหลังมูลค่าลิบร้าด้วยเงินสำรอง ซึ่งเป็นตะกร้าของสินทรัพย์ในสกุลเงินต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่ำ (ยังไม่ได้ประกาศในรายละเอียด แต่แตกต่างจากบิทคอยน์ที่ไม่มีเงินสำรอง) รวมทั้งกำกับดูแลโดยหน่วยงานอิสระที่มีชื่อเหมือนกับสกุลเงินตนเองว่า Libra Association ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกถึง 28 หน่วยงานยักษ์ใหญ่ในหลายกลุ่มธุรกิจ (รวมเฟสบุ๊ค) อาทิ การชำระเงิน เทคโนโลยี และองค์กรไม่แสวงหากำไร
         จะเห็นได้ว่า ลิบร้าถูกสร้างและออกใช้โดยหน่วยงานกลาง (ในที่นี้คือ Libra Association ซึ่งเปรียบเสมือนธนาคารกลางในประเทศต่างๆ ที่ออกใช้เงินแต่ละสกุลของตน) มีสินทรัพย์หนุนหลัง (ในที่นี้คือตะกร้าของสินทรัพย์ในสกุลเงินต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่ำ) เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะทำให้ลิบร้ามีมูลค่าในตัวเอง (intrinsic value) และมีจุดประสงค์ในการสร้างและออกใช้ที่ชัดเจนโดยเฉพาะ นั่นคือ การมุ่งเป็นสกุลเงินของโลก
         อย่างไรก็ตาม การจะเข้าข่ายความเป็น “เงิน” ที่ใช้ได้อย่างแพร่หลายตามวัตถุประสงค์นั้น ลิบร้าจำเป็นต้องมีคุณสมบัติทั้งหมด 3 ประการ ได้แก่ 1) เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (medium of exchange) 2) เป็นที่เก็บรักษามูลค่า (store of value) หรือการมีมูลค่าไม่ผันผวน และ 3) มีหน่วยวัดทางบัญชี (unit of account) หรือพูดง่ายๆ คือ มีการคิดราคาสินค้าและบริการเป็นหน่วยสกุลลิบร้าหรือไม่ ดังนั้น คงจะเป็นการด่วนสรุปเกินไป หากจะตัดสินในตอนนี้ว่า ลิบร้ามีหรือไม่มีคุณสมบัติของความเป็นเงินอย่างครบถ้วน เพราะมองไปข้างหน้า ยังคงมีคำถามอีกมากมายที่ลิบร้าต้องตอบและรอการพิสูจน์ในประเด็นดังต่อไปนี้
         1) การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน: ลิบร้าจะต้องเป็นที่ยอมรับในวงกว้างเพื่อเป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ และจะต้องสามารถใช้ชำระหนี้ได้จริงตามกฎหมาย คำถามสำคัญที่ตามมาคือ ภาครัฐในแต่ละประเทศจะยอมประกาศให้ลิบร้าสามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมายหรือไม่? (ล่าสุดเริ่มมีทางการจากหลายประเทศ รวมทั้งสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ เริ่มแสดงท่าทีต่อต้านลิบร้า)
         2) การเก็บรักษามูลค่า: ลิบร้าจะต้องมีมูลค่าไม่ผันผวนจนเกินไป จึงจะสามารถเก็บรักษามูลค่าหรือความมั่งคั่ง (wealth) ของผู้ถือลิบร้าได้ ทำให้มีคำถามว่า การมีสินทรัพย์หนุนหลังจะช่วยให้ลิบร้ามีความน่าเชื่อถือและทำให้มูลค่ามั่นคงมากน้อยเพียงใด? หน่วยงานที่กำกับดูแลจะมีการทำงานอย่างรัดกุมแค่ไหน?
          3) การเป็นหน่วยวัดมูลค่า: การตั้งราคาสินค้าและบริการจะต้องใช้ลิบร้าเป็นหน่วยวัดมูลค่า เช่น ร้านอาหารพิมพ์เมนูโดยใช้หน่วยลิบร้าเป็นตัววัดมูลค่า (menu cost) คำถามที่ตามมาคือ ลิบร้าจะได้รับความไว้วางใจ (trust) จากร้านค้าและผู้บริโภคมากเพียงพอที่จะนำลิบร้ามาเป็นหน่วยวัดมูลค่าโดยตรงหรือไม่?
         ดังนั้น จึงจำเป็นต้องติดตามพัฒนาการของลิบร้าต่อไปอย่างใกล้ชิด เพราะนอกจากเราจะ “ก้าวทัน” เทคโนโลยีในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแล้ว เราจำเป็นต้อง “รู้ทัน”
------- 
ดร.ณัฐสพันธ์ เผ่าพันธ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ และผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม
 
view: 175 shares: