ข่าว/กิจกรรม

ว.บัณฑิตศึกษาฯ ม.ศรีปทุม จัดอบรมการเรียนรู้ภาษาพม่า หวังปูทางเรียนรู้ เปิดประตูสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

UploadImageUploadImage
 “มิงกลาบา” หรือ “สวัสดี” “เจซูติน บาแด” หรือ “ขอบคุณมาก” “ควินโละ บ่าหน่อ” หรือ “ขอโทษ” “เหล่เส่ะ แปลว่า สนามบิน เป็นหนึ่งในภาษาพม่าที่เรามักได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งหลายๆคนกำลังเรียนรู้เพื่อปรับตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
UploadImage
ด้วยความเป็น Dynamic University ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จึงได้ร่วมกับ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เปิดห้องเรียน ด้วยการจัดอบรม การเรียนรู้ภาษาพม่าเพื่อการสื่อสาร โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษ 2 ท่าน อาจารย์เรวดี จะเรียมพันธ์ และอาจารย์ ทวิช บุญธรรม ร่วมถ่ายทอดความรู้ด้านภาษาพม่า ให้กับนักศึกษาวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณาจารย์ บุคลากร และผู้ที่สนใจได้รับฟัง
UploadImage
เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจด้วยภาษาและวัฒนธรรม และเรียนรู้ “รู้เขา รู้เรา” ติดอาวุธ พร้อมเปิดประตูสู่ตลาดงานและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยภายหลังเสร็จสิ้นการอบรม ผู้ช่วยศาสตราจารย๋ ดร.ธรินี มณีศรี คณบดีวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ได้มอบของที่ระลึกให้กับวิทยากรเพื่อแสดงความขอบคุณ ณ ห้อง Convention Room 1 ชั้น 4 อาคาร 11 มหาวิทยาลัยศรีปทุม กทม.(บางเขน)
UploadImage
ดร.อุทัยรัตน์ เมืองแสน ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจกรรมนักศึกษาและกิจการพิเศษ และผู้อำนวยการหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการฯ กล่าวว่า การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในช่วงปลายปี 2015 ที่ผ่านมาส่งผลให้อาเซียนกลายเป็นตลาดที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และ เวียดนาม) ทั้งนี้ด้วยปัจจัยหลายอย่าง อาทิ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่าจ้างแรงงานที่มีราคาต่ำ การมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ การดำเนินนโยบายของภาครัฐ ทั้งในด้านของการเปิดการค้าเสรี การจัดตั้งศูนย์อำนวยความสะดวกทางธุรกิจ และการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการลงทุนต่างๆ ให้กับนักลงทุน
UploadImage

สำหรับในด้านของภูมิศาสตร์จะเห็นได้ว่ากลุ่มประเทศ CLMV ตั้งอยู่ใจกลางของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางการค้าใหญ่ๆ จากทุกมุมโลก นอกจากนี้ กลุ่มประเทศ CLMV ได้รับการวางแผนพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องโดยการสนับสนุนจากประเทศมหาอำนาจ เช่น ญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯ เยอรมัน ดังนั้นปัจจัยเหล่านี้จึงส่งผลให้กลุ่มประเทศ CLMV เหมาะแก่ผู้ประกอบการในการย้ายฐานการผลิตเพื่อลดต้นทุน รวมถึงเป็นภูมิภาคที่มีโอกาสในการขยายตลาดค่อนข้างสูง

UploadImage

UploadImageทางวิทยาลัยฯได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดโครงการอบรมภาษาพม่าสำหรับ นักศึกษาคณาจารย์ บุคลากร และผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะการใช้ภาษาพม่า ซึ่งจะทำให้ได้ฝึกทักษะภาษาพม่าจากผู้ประกอบการไทยที่ไปทำธุรกิจมาเป็นเวลานานใน  สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า  และได้เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของพม่า อีกทั้งสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในการเรียนหรือการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ดร.อุทัยรัตน์ กล่าว
UploadImage
view: 387 shares: