ข่าว/กิจกรรม

CEO TALK#08 การทำธุรกิจกับปรัชญา แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง : ดร.วัชรมงคล เบญจธนะฉัตร์ (บริษัท บาธรูมดีไซน์ จำกัด)

UploadImage
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เปิดห้องเรียนพิเศษ สำหรับนักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป 
เชิญมาเปิดมุมมองใหม่ๆ ติดอาวุธทางความคิด ก้าวทันความเสี่ยง และมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ
"เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง"

CEO TALK #08
การบริหารการตลาดตามแนวทาง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพีบง
โดย ดร.วัชรมงคล เบญจธนะฉัตร์
ประธานกรรมการ บริษัท บาธรูมดีไซน์ จำกัด 
วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2561 
เวลา 09.00-12.00 น.
ณ ห้องเธียเตอร์ (อาคาร 11 ชั้น 3) 
มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02 558 6888 ต่อ 3012
Line ID : @gradspu

#GraduateCollegeOfManagement
#sripatumuniversity 
#WeCreateProfessionalsByProfessionals 
#สร้างมืออาชีพด้วยมืออาชีพ


วิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี พ.ศ. 2540 ฉุดเศรษฐกิจไทยดิ่งเหวธุรกิจล้มกันระเนระนาดไปทั้งประเทศ บริษัท บาธรูม ดีไซน์ จำกัดที่กำลังเป็นดาวรุ่งต้องเปลี่ยนสถานภาพกลายเป็นหนี้สินภายในชั่วข้ามคืน

ด้วยวัยเพียง20 ปีเศษในเวลานั้น ในฐานะเจ้าของบริษัทคุณสี่-ดร.วัชรมงคล เบญจธนะฉัตร์ เขาไม่มีแม้แต่เงินเดือนจ้างพนักงาน

“เป็นครั้งแรกที่เคยได้ยินในหลวงสอนให้ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงพระองค์บอกว่าทุกวันนี้คนเดินหน้าแข่งขันกันสร้างตึกโดยพึ่งพาเทคโนโลยี นวัตกรรม แม้แต่เงินทุนจากต่างประเทศทั้งหมด ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาประเทศจึงได้รับผลกระทบไปหมดเศรษฐกิจพอเพียง คือ จึงเปรียบเสมือนกับการลงเสาเข็มสร้างรากฐานให้แข็งแรง เราต้องพึ่งพาตัวเองให้ได้ก่อนที่จะไปพึ่งคนอื่น”

ยิ่งได้ฟัง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล บรรยายแนวพระราชดำริอีกหลายครั้งจนความคิดตกผลึกและกลายเป็นหนทางสู่การหลุดพ้น
“เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้แปลว่า ประหยัด ไม่ใช่ถอยหลังเข้าคลอง แต่แปลว่า การพัฒนาที่สมดุล การที่เราจะพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น เราทำได้แต่ต้องมั่นคงก่อน และก่อนจะมั่นคงก็ต้องสมดุลก่อนนั่นคือ ต้องพึ่งพาตัวเองให้ได้มากที่สุดปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก สามารถทำตัวให้เป็นประโยชน์เป็นที่พึ่งให้แก่ผู้อื่นได้ นี่คือ “ของวิเศษ” ที่พ่อให้”

เขานำ”ของวิเศษ”มาปรับใช้แก้ปัญหาทีละเปลาะ ตั้งแต่ลดราคาสินค้าเพื่อหารายได้มาจ่ายเงินเดือนเดินหน้าแก้ปัญหาด้านสินเชื่อ หยุดการนำเข้าและลงมือออกแบบและผลิตสินค้าด้วยตัวเอง โดยใช้องค์ความรู้แงะพัฒนาเทคโนโลยีจนสามารถสร้างi-spa นวัตกรรมสุขภัณฑ์ที่เต็มไปด้วยฟังก์ชั่นเพื่อความสุขที่คว้ารางวัลการออกแบบในเวทีโลกมากมาย

แม้ธุรกิจจะเติบโตรุดหน้าแต่ปัญหาต่างๆ ก็ตามติดมาเป็นเงา ทั้งลอกเลียนสินค้าและถล่มราคาตัดหน้า เวลานั้น เขานำคำพ่อสอนมาเป็น “ภูมิคุ้มกัน”ในการทำธุรกิจ

“ต้องสู้ต่อด้วยความรัก ไม่ทำธุรกิจด้วยความโลภ ไม่ใช่ว่าธุรกิจไหนดีวิ่งไปทำสุดท้ายพอเกิดปัญหาขึ้นมาก็ล่ม ฉะนั้นต้องรักในสิ่งที่ทำและสนุกกับมัน พอเกิดวิกฤติเราจะพึ่งพาตัวเองได้”

นอกจากนั้นแล้ว เพราะอยากให้ทุกคนสัมผัสสุขแท้ร่วมกันเขายังบริหารคนด้วยการนำหลักคุณธรรมมาใช้ในทุกด้าน ตั้งแต่การให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม ให้สวัสดิการอาหารกลางวันฟรีมีทุนการศึกษาลูกหลานส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวโดยเพิ่มวันหยุดพิเศษให้ในวันเกิดและมอบของขวัญตอบแทนคุณบิดามารดา

“ความสุขมันมีคุณค่าที่วัดเป็นตัวเลขไม่ได้เป็นของวิเศษมาก”

เมื่อกิจการมั่นคง เขาจึงเริ่มวางมือจากธุรกิจและหันมาทำงานเพื่อสังคมด้วยการเป็นผู้บรรยายเผยแพร่แนวคิดการทำธุรกิจ “ตามรอยพ่อ” มานานกว่า 10ปี โดยนำค่าตอบแทนทุกบาททุกสตางค์เข้ากองทุนช่วยเหลือสังคม
view: 750 shares: