'พี่กู๊ด' เล่าให้ฟัง การเป็นวิศวกรที่ญี่ปุ่น ไม่ง่ายและไม่ยากอย่างที่คิด!

 'พี่กู๊ด' เล่าให้ฟังการเป็นวิศวกรที่ญี่ปุ่น
ไม่ง่าย และ ไม่ยาก อย่างที่คิด !

 
ทำความรู้จัก รุ่นพี่คนเก่ง !
สวัสดีครับ ผมชื่อ ดิฐพูม ชิณบุตร หรือเรียกว่า พี่กู๊ด ปัจจุบันทำงานในตำแหน่งวิศวกร บริษัท AIHO Corporation จังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ครับ พี่มีโอกาสได้ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น (Monbukagakusho : MEXT) สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว จนมีโอกาสพัฒนาตัวเอง ให้ได้มาทำงานเป็นวิศวกร ที่ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันครับ
 
ารเป็นวิศวกรที่ญี่ปุ่น
ต้องใช้ทักษะอะไรบ้าง?

หลังจากที่พี่มีโอกาสรับทุนรัฐบาลญี่ปุ่น และได้ศึกษาใน ‘สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว’ พี่พยายามพัฒนาความรู้ความสามารถของตัวเอง จนมีทักษะทำงานที่นี่ได้เลยครับ โดยส่วนใหญ่แล้วหลักๆ จะต้องทำงาน ออกแบบ ทั้ง 2D 3D CAD รวมไปถึงงานออกแบบเครื่องจักร ติดตามงานในไลน์ผลิตและเทสรัน ก่อนส่งมอบ เครื่องจักรครับ นอกจากงานออกแบบแล้ว ยังได้ทำงานวิจัยและพัฒนา ได้แก่ ระบบเผาไหม้และความร้อน  งานที่ใช้ทักษะด้านความคิดก็มีเช่นกัน คือคิดแผนการผลิตสินค้าใหม่ ซึ่งงานที่พี่ทำมีได้ออกทำงานต่างประเทศด้วยนะ เพราะต้องไปควบคุมติดตั้งเครื่องจักร และแก้ไขปัญหาของเครื่องจักร ประสบการณ์ทำงานจึง หลากหลายไม่ได้อยู่เพียงแค่ในญี่ปุ่นเท่านั้น


UploadImage
 >>แชร์ประสบการณ์ทำงานวิศวกรในต่างแดน<<
การทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น ที่นี่จะจริงจังในเรื่องของการตรงต่อเวลามากๆ เลยครับ หากใครอยากทำงานต่างประเทศแล้วยังติดนิสัยเลทต้องปรับตัวไว้ให้ชินนะครับ นอกจากนี้ ยังต้องทำงานเป็นทีมเวิร์ค ซึ่งพี่โชคดีที่สมัยเรียนมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้เจออาจารย์และเพื่อนๆ ร่วมทำโปรเจค จึงมีแต้มต่อในเรื่องการเข้าสังคมเป็น ทุนเดิมอยู่แล้วครับ และที่สำคัญวิศวกรในญี่ปุ่นจะทุ่มเทกับการทำงานอย่างมาก ดังนั้นต้องขยัน พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ สามารถรายงานความก้าวหน้าต่อเนื่องในแต่ละขั้นตอนของงานได้ครับ
 
.....น้องๆ ที่อยากเป็นวิศวกร.....
....ในประเทศญี่ปุ่น ควรรู้สิ่งนี้....

น้องๆ ที่สนใจอยากทำงานวิศวกรที่ประเทศญี่ปุ่น อย่างแรกเลยคือต้องเตรียมเรื่องทักษะด้านวิศวกรรมให้แม่น และที่สำคัญคือในเรื่องของภาษาญี่ปุ่นและอังกฤษ เพราะเราต้องใช้ในการสื่อสาร เพื่อทำงานและชีวิตประจำวัน สำหรับค่าครองชีพที่นี่สูงกว่าไทยประมาณ 2-3 เท่า เช่น ค่าที่พัก 1 หมื่นบาท , ข้าวจานละ 200 บาท แต่ก็สอดคล้องกับรายได้ อย่างอาชีพวิศวกร จบ ป.ตรี เงินเดือนเริ่มต้น 5-6 หมื่นบาท มีโบนัส 3 ครั้งต่อปี  นอกจากนี้ อย่าลืมเรื่องภาษีนะครับ ที่นี่จะจ่ายโดยรวม 35 - 40 % จากรายได้ แต่ถ้าเริ่มทำงานตั้งแต่เรียนจบไปจนถึงอายุ 60 ปี จะได้รับบำนาญประมาณ 6 หมื่นบาทต่อเดือนเลยครับ

SPU สอนทุกทักษะที่ ‘วิศวกร’ ได้นำไปใช้จริง 
ผมต้องขอบคุณตัวเองที่เลือกก้าวแรกอย่างมหาวิทยาลัยศรีปทุม การได้เจอสังคมที่ดี มีอาจารย์ที่พร้อมให้ความรู้อย่างเต็มที่ SPU สอนให้พี่รู้จักการทำงานเป็นทีม ทักษะด้านช่างซึ่งได้จากชมรมฟอร์มูลาร์ การเขียนแบบ CAD การวางแผนงาน ที่สำคัญคือทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทุกๆ อย่างที่บอกไปล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พี่มีโอกาสได้ทุนเรียนต่อประเทศญี่ปุ่น มายืนอยู่จุดนี้ ทำงานเป็นวิศวกรที่นี่ ขอบคุณมากๆ ครับ
 
รุ่นพี่ฝากไว้ อยากเจอเส้นทางที่ใช่ ก่อนเรียนจบ ต้องแบบนี้
สิ่งแรกเลย ก็คือต้องถามตัวเองให้ชัดว่า อยากทำงานอะไร มีความถนัดด้านไหน จากนั้นก็พุ่งเป้าไปเรียนสิ่งนั้นเลยครับ ที่สำคัญเลยคือ ระหว่างเรียนต้องตั้งใจเรียน เก็บเกี่ยวความรู้ในห้องเรียนให้ได้มากที่สุด ถ้ามีการแข่งขันทักษะด้านนั้นๆ ให้คว้าโอกาสเข้าร่วมไว้ก่อนครับ เพราะการทำกิจกรรมจะช่วยให้เราพัฒนาตัวเองมากขึ้น และอย่าลืมแบ่งเวลาศึกษาภาษาอังกฤษ เพราะทักษะด้านภาษาก็มีความจำเป็นในอนาคตอย่างแน่นอน