'อาจารย์เกียรติศักดิ์' ตัวจริงด้านเครื่องกล เจ้าของผลงานขึ้นทะเบียนนวัตกรรมไทย
“ดร.เกียรติศักดิ์ สกุลพันธ์”
อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเครื่องจักรกล การออกแบบกังหันพลังงานน้ำ และพลังงานลม
การออกแบบโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
และการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมเชิงตัวเลข
ทำความรู้จัก “สาขาวิศวกรรมเครื่องกล”
วิศวกรรมเครื่องกลเป็นศาสตร์ที่ใช้ทักษะการแก้ปัญหา การออกแบบสร้างสรรค์ และความรู้เชิงวิเคราะห์ เพื่อเปลี่ยนแนวคิดให้เป็นผลงานจริง วิศวกรรมเป็นหนึ่งในสายงานที่ต้องการคนมากที่สุดในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนาคตเครื่องจักรกลต้องผสมผสานกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้วยแล้ว ยิ่งทำให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ จะต้องติดตั้งเครื่องจักร รวมถึงต้องการการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องจักร ที่ต้องอาศัยวิศวกรเครื่องกล เพื่อให้ทำงานได้สะดวกมากขึ้น
อาจารย์ตัวจริงด้านวิศวกรรมศาสตร์
การันตีด้วยรางวัลระดับประเทศ
ผลงานระดับประเทศคือ “เครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่ระบบไฮดรอลิก” ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนนวัตกรรมไทย รวมถึงเป็นผู้แต่งหนังสือ เทคโนโลยีกับการพัฒนาระบบจำหน่ายไฟฟ้าในอนาคต และล่าสุดกับการได้รับรางวัลเหรียญเงิน Class A จากผลงานชื่อ Pump as Impulse Tubine การเข้าร่วมประกวดผลงานนวัตกรรมทางด้าน Mechanics, Engines, Machinery, Tools, Industrial Processes, Metallurgy ในงาน The 48th International Exhibition of Inventintions Geneva ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
พูดถึง ‘เครื่องสูบน้ำระบบไฮดรอลิก’
ผลงานวิจัยขึ้นทะเบียน นวัตกรรมไทย
งานวิจัยการพัฒนาเครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่ระบบไฮดรอลิก ผลงานความสำเร็จ ซึ่งได้แรงสนับสนุนทุนจากภาคอุตสาหกรรมอย่าง บริษัท นำพล อินเตอร์เทรด จำกัด เนื่องจากทางบริษัทฯ ต้องการออกแบบเครื่องสูบน้ำ สำหรับการบริหารจัดการน้ำของเมืองในโครงการภาครัฐต่างๆ โดยโจทย์แรกของงาน มีการตั้งคำถามว่า ทั้งที่ประเทศไทยมีบุคลากรทางการศึกษา และภาคเอกชนที่มีความรู้ ความสามารถมากมาย แต่ก็ไม่มีใครคิดจะทำผลิตภัณฑ์ตัวนี้ออกมาจำหน่ายในนามของคนไทย โดยทางบริษัทฯ ได้ทำพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับทางมหาวิทยาลัยศรีปทุม และให้ทุนสนับสนุนก้อนแรกจำนวน 4.25 ล้านบาท สำหรับจัดซื้อคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงจำนวน 4 เครื่อง รวมถึงลิขสิทธิ์โปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านวิศวกรรมพลศาสตร์ของไหล (ANSYS CFX) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่งานทางด้านวิชาการทั่วโลกให้การยอมรับ เพื่อใช้ในการศึกษาวิเคราะห์รูปร่างของใบพัดเครื่องสูบน้ำให้ได้ประสิทธิภาพตามที่ต้องการ
อาจารย์ ต้องเป็น “น้ำ” ที่ “ไม่เต็มแก้ว”
อาจารย์ไม่สามารถสอนหนังสืออย่างเดียว อาชีพอาจารย์นอกจากการสอนแล้วจะต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา และออกไปหาวิชาชีพข้างนอก เพื่อนำมาประกอบการเรียนการสอน ซึ่งทางอธิการบดี ม.ศรีปทุม ให้การสนับสนุนทุนศึกษาแก่อาจารย์ที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และให้การช่วยเหลือด้านเวลาอีกด้วย ผมจึงใช้ประสบการณ์ทำงานจริงกับภาครัฐและเอกชนมาสอนนักศึกษา โดยย่อยทฤษฎีเป็นภาพ เพื่อให้นักศึกษาเห็นภาพจริง และมีวิชาที่ประยุกต์ประสบการณ์มาใช้ในการสอนที่เกี่ยวกับการผลิตเครื่องจักรอยู่หลายตัว เช่น ออกแบบเครื่องจักร (Machine Design) เครื่องจักรกลของไหล (Fluid Machinery)
คุณสมบัติของ
“ศิษย์เก่าวิศวะ” SPU
เป็นวิศวกรคุณภาพของประเทศ ที่มีทักษะเป็น “Practical Engineer” หรือวิศวกรวิชาชีพ อยู่บนพื้นฐานความเชี่ยวชาญที่ชำนาญการปฏิบัติตามความต้องการของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม (Industry Focus) ที่ทันสมัย โดดเด่นด้านภาคปฏิบัติ เพราะได้รับความรู้และการแนะนำจากอาจารย์มืออาชีพ รวมถึงมีประสบการณ์สหกิจศึกษา (Co-operative Education) ที่เน้นการปฏิบัติงานในหน่วยงาน เป็นเสมือนเจ้าหน้าที่หรือพนักงานปฏิบัติงานชั่วคราวในองค์กรนั้น ๆ เรียกได้ว่า จบไปแบบมืออาชีพ