ส่องเสน่ห์ของหุ่นยนต์แห่งโลกอนาคต กับ อาจารย์ตัวจริง วิศวกรรมศาสตร์ SPU
#Dekวิศวะ SPU
ได้เรียนรู้ทุกอณูของ หุ่นยนต์
พร้อมเข้าสู่อุตสาหกรรมในอนาคต
จบไปหางานทำง่ายแน่นอน !
.... ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วนายุทธ์ แสนเงิน ....
อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
__________________________________________________
จุดเริ่มต้นของความชอบ หุ่นยนต์
อาจารย์วนายุทธ : ย้อนกลับไปตอนที่ผมยังเป็นเด็ก สมัยนั้นมีการ์ตูน ภาพยนตร์ เกี่ยวกับหุ่นยนต์ ที่ฉายทางโทรทัศน์ จำได้ว่าสนุกมากๆ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของความชอบ จากนั้นผมก็เริ่ม ถอด/ลื้อ/แยกชิ้นส่วน ของเล่น รวมถึงระบบกลไก อุปกรณ์ต่างๆ เพราะอยากเห็นการทำงานจริงๆ ของมันว่า ทำงานได้อย่างไร แต่ประกอบที่ไรน๊อตเกินทุกที่..... (ขำ) จากวันนั้นทำให้ผมได้เรียนต่อด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเป็นอาจารย์สอนเกี่ยวกับระบบกลไกเหล่านั้นทุกวันนี้ครับ
เสน่ห์ ของ หุ่นยนต์
ไม่บ่น .....
อาจารย์วนายุทธ : ได้สนุกกับการคิด การออกแบบหุ่นยนต์ในจินตนาการ แล้วนำมาสร้างเป็นของจริง และจะยิ่งรู้สึกภูมิใจอย่างมาก เมื่อสร้างสำเร็จแล้ว ได้เห็นหุ่นยนต์ทำงานจริง
เรียนสนุก จบแล้วไม่ตกงาน
อาจารย์วนายุทธ : นักศึกษาที่จบวิศวกรรมไฟฟ้า ระบบควบคุมอัตโนมัติและหุ่นยนต์ จะได้เข้าใจในระบบควบคุมหุ่นยนต์ ระบบเซนเซอร์ ระบบสื่อสารข้อมูล การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งในงานอุตสาหกรรมปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนใช้หุ่นยนต์มากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และประกอบยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมด้านโลจิสติกส์ในงานขนส่งสินค้าและคลังสินค้าอัตโนมัติ อุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่ด้วยระบบอัตโนมัติ รวมถึงงานด้านการแพทย์ สถานพยาบาลนำหุ่นยนต์มาช่วยงานมากขึ้น หุ่นยนต์ขนส่งอาหารและยา มีบทบาทมากในช่วงสถานการณ์โควิด-19 มั่นใจได้เลยว่า เรียนจบสาขาทางด้านนี้ มีตลาดงานรองรับในอนาคต และไม่ตกงานอย่างแน่นอน
อาชีพใหม่ใน สายงานด้านหุ่นยนต์
อาจารย์วนายุทธ : System Integrator ผู้ผสมผสานระบบ ด้วยเครื่องจักรหลากหลายยี่ห้อ หลากหลายชนิด จึงต้องมีการพัฒนาระบบให้สามารถสื่อสารข้อมูลและเชื่อมต่อข้อมูลในระบบเครือข่ายเดียวกัน และสื่อสารระหว่างเครื่องจักรหรือเครือข่ายภายในโรงงาน รวมถึงการสื่อสารระยะไกล Agricultural Robot Developer ผู้พัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยใช้หุ่นยนต์และระบบควบคุมอัตโนมัติในงานการเกษตร การเพาะปลูก การดูแลการเจริญเติบโตพืชผลผลิต และเก็บเกี่ยวผลผลผลิต เป็นต้น
ผลงานที่ภาคภูมิใจของ #Dekวิศวะ SPU
อาจารย์วนายุทธ : ผลงานหุ่นยนต์ช่วยเดิน สำหรับผู้พิการครึ่งท่อนล่าง เป็นอุปกรณ์สวมใส่แบบยึดติดกับมนุษย์ (Exoskeleton Robot) เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวการเดินของผู้สวมใส่ กลับมาเดินเทียบเคียงคนปกติ
#Dekวิศวะ กับรางวัลการันตี
• “Leading Innovation Award” by International Intellectual Property Network Forum (IIPNF) at Taipei International Invention Show & Technomart” (INST 2015) ณ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน
• “Honorable Mention” at Taipei International Invention Show & Technomart” (INST 2015) ณ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน
• รางวัลนักคิดสิ่งประดิษฐ์ รุ่นใหม่ ประจำปี 2558 โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผลงาน: รางวัลชนะเลิศ, หัวข้อ“หุ่นยนต์ช่วยเดินสำหรับผู้ทุพพลภาพครึ่งท่อนล่าง” กลุ่มสิ่งประดิษฐ์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ประเภทอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา
• การประกวดผลงานด้านหุ่นยนต์ เพื่อกระบวนการผลิต (RACMP2014) ประเภทเพื่อสังคม
ผลงาน: รางวัลชนะเลิศ, หัวข้อ“หุ่นยนต์ช่วยเดินสำหรับผู้ทุพพลภาพครึ่งท่อนล่าง”