กลุ่มศึกษาและวิจัยทางด้านวิศวกรรมยานยนต์
(Study and Applied Research Group on Microcontroller, Electronic and Telecommunication: SARGMET)
หัวหน้าศูนย์ความเชี่ยวชาญ : ผศ.ดร.ปรีชา กอเจริญ
สมาชิก :
หลักการและเหตุผล การประยุกต์ใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์และสื่อสารโทรคมนาคม เป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งในปัจจุบัน ทั้งในการศึกษา และวิจัยในมหาวิทยาลัย และในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสารโทรคมนาคม สามารถทำการ ประมวลผลเพื่อคิด และตัดสินใจ ในกระบวนการต่างๆ รวมถึงการสื่อสารข้อมูลต่างๆได้ เช่นการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ การนำมาใช้ควบคุม การแสดงผล การนำมาใช้สำหรับ การวัดคุม การนำมาเป็นหัวใจของการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ การใช้งานในด้านสมองกล ฝังตัว และในด้านอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นการศึกษาและวิจัยเชิงประยุกต์ใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์และสื่อสารโทรคมนาคม จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง สำหรับอาจารย์ และนักศึกษา ทั้งนี้ไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสารโทรคมนาคม ได้มีการจัดการเรียนการสอนในภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าทั้งในรายวิชาทฤษฎี และรายวิชาปฏิบัติ อยู่แล้วสำหรับนักศึกษาทุกๆคน แต่ยังขาดในด้านการปฎิบัติการประยุกต์ใช้งาน และวิจัยสำหรับนักศึกษาที่สนใจในด้านนี้โดยเฉพาะ วัตถุประสงค์
เป้าหมาย
เป็นกลุ่มนักวิจัยที่มีอาจารย์ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ และนักศึกษาเป็นส่วนร่วม เพื่อทำการศึกษาและวิจัยเชิง ประยุกต์ไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสารโทรคมนาคม ทำการสร้างผู้เชี่ยวชาญในการใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสารโทรคมนาคม ทำการเผยแพร่ความรู้ ทำการจัดอบรม เป็นที่ปรึกษาสำหรับนักศึกษาที่ทำโครงงานวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นกลุ่ม ที่มีสถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ ต่างๆเพื่อทำการศึกษา และวิจัย ทำการทดสอบความรู้เพื่อออกใบรับรองความสามารถ การใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสารโทรคมนาคม ในระดับต่างๆ (หัวข้อนี้อาจถูกนำไปใช้ในกรณีที่กรรมการสอบโครง งานเห็นว่าโครงงานที่นักศึกษาเสนอมีเรื่องเกี่ยวข้องกับ ไมโครคอนโทรลเลอร์และอิเล็กทรอนิกส์อยู่มากจึงให้นักศึกษาที่ จะทำโครงงานนี้ ต้องผ่านการทดสอบความรู้ในด้านการประยุกต์การใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสารโทรคมนาคม ในระดับที่เหมาะสมกับที่ต้องใช้ในโครงงานฯ) ผู้เข้าร่วมโครงการ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 – 4
เครื่องมือและอุปกรณ์
เครื่องมือและอุปกรณ์ในเบื้องต้นส่วนหนึ่ง ได้รับสนับสนุนจากทางภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าให้ใช้เครื่องมือที่มีอยู่ใน ห้องปฎิบัติการต่างๆ และต่อไปเมื่อจัดอบรมเผยแพร่ความรู้ หรือมีรายได้อื่นๆเข้ามาก็จะนำมาใช้สนับสนุนเครื่องมือและ อุปกรณ์เพิ่มเติม ผลงาน – ดำเนินการจัดกิจกรรม ศรีปทุมแรลลี่รถอัจฉริยะขนาดเล็ก (SPU Smart Tiny-Car Rally) ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม 2552 (ไม่มีหัวข้อนี้) - “เครื่องบีบอัดและคัดแยกที่เปิดกระป๋องอลูมิเนียมอัตโนมัติ” สามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 จากสาขา“รางวัลนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ ประจำปี 2551” ระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ประเภทที่ 1 อุปกรณ์รักษาสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในงานวันนักประดิษฐ์แห่งชาติ ณ ฮอลล์ 9 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 2-5 กุมภาพันธ์ 2552