เรื่องไม่ลับเกี่ยวกับ 4 ประเภทใบอนุญาตวิศวกร ที่ ไม่รู้ไม่ได้แล้ว
อาชีพ “วิศวกร” ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของประเทศ และมีบทบาทความรับผิดชอบที่สูงยิ่งต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยในสังคม
ทำให้อาชีพวิศวกร จึงต้องมีการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน และนั่นคือที่มาของการก่อกำเนิด “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในประเทศไทย” เพื่อใช้ประกอบการทำงานทางวิศวกรรมที่ต้องเกี่ยวข้องกับชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน อีกทั้งยังสร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการด้านวิศวกรรม โดยจะต้องมีการอบรมและทดสอบด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านความปลอดภัย และด้านกฎหมายเพื่อให้ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในประเทศไทย
4 ประเภทใบอนุญาตวิศกร ที่ ไม่รู้ไม่ได้แล้ว
-
ภาคีวิศวกร
-
ภาคีวิศวกรพิเศษ
-
สามัญวิศวกร
-
วุฒิวิศวกร
วิศวกรระดับแรกระดับภาคีวิศวกร (Associate Engineer) เป็นระดับที่สามารถทำงานได้ตามประเภท และขนาดที่กำหนดตามข้อบังคับของสภาวิศวกร หลังจากได้รับใบอนุญาตฯ ระดับภาคีวิศวกรมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีจะสามารถขอสอบเลื่อนเป็น
นอกจากนี้ ภาคีวิศวกรพิเศษ (Adjunct Engineer) ที่สามารถทำงานได้เฉพาะตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต โดยจะต้องมีความรู้และประสบการณ์ตรงกับลักษณะงาน
ระดับสามัญวิศวกร (Professional Engineer) ที่สามารถทำงานได้ตามประเภท และขนาดที่กำหนดตามข้อบังคับของสภาวิศวกรเช่นกัน หลังจากได้รับใบอนุญาตฯ ระดับสามัญวิศวกรมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี จะสามารถขอเลื่อนไป
ระดับวุฒิวิศวกร (Senior Professional Engineer) ได้ ซึ่งเป็นระดับที่ทำงานได้ทุกงาน ทุกประเภท และทุกขนาด ซึ่งทั้ง 3 ระดับอยู่ภายใต้การเป็นสามัญสมาชิกของสภาวิศวกร
ประโยชน์ที่ได้รับในการมี ใบอนุญาตวิศวกร
-
ประกอบวิชาชีพควบคุมได้อย่างถูกกฎหมาย
-
ได้รับการส่งเสริมจากสภาฯ
-
ได้รับความเชื่อถือในการ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
สำหรับน้องๆ ที่สนใจอยากศึกษาทางด้ายสายวิชาชีพวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมเป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำที่เปิดการเรียนการสอนทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มากว่า 30 ปี โดยปัจจุบันมีวิศวกรที่ประกอบอาชีพในสายวิชาชีพวิศวกรรมต่างๆ ในหลากหลายบริษัท องค์กรภาครัฐ และธุรกิจเอกชนชั้นนำต่างๆ มากมาย อยากเรียนเป็นวิศวกรมืออาชีพ ต้องเรียนกับวิศวกรตัวจริง ประสบการณ์จริง เท่านั้น