ข่าว/กิจกรรม

Engineering Talk ช่วง เล่าให้ศิษย์ได้ฟัง -- เมื่ออาจารย์ช่าง แวะ ไปเที่ยว Crazy House บ้านเพี้ยน เมืองดาลัด ประเทศเวียดนาม

UploadImage

 

เล่าให้ศิษย์ได้ฟัง - โครงสร้างบ้านเพี๊ยน Crazy House Dalat Vietnam โดย ผศ.ดร.ไพจิตร ผาวัน


หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอกฮิตของเมือง ดาลัต ประเทศเวียดนาม เครซีเฮ้าส์ หรือ โรงแรมเครซีเฮ้าส์ บ้านปริศนาที่สร้างโดยหญิงสาวชาวเวียดนาม ชื่อว่า Hang Nga บุตรสาวของอดีตประธานาธิบดีคนที่ 3 ของเวียดนาม

โดยเครซีเฮ้าส์ได้แรงบันดาลใจในการออกแบบมาจากนิทานเรื่อง อลิซ อิน วันเดอร์แลนด์ (Alice in Wonderland) เป็นบ้านต้นไม้ที่ไม่ได้สร้างจากไม้ทั้งหมดซะทีเดียว เพราะบางส่วนสร้างขึ้นจากคอนกรีตและวัสดุอื่น ๆ เพื่อความแข็งแรงและง่ายต่อการดัดแปลงโครงสร้าง  โดยภายในแต่ละส่วนสามารถเดินทะลุถึงกันได้ ถ้าเดินไม่ดีจะหลงกลับมาอยู่ที่เดิม ทั้งที่พื้นที่ก็แคบๆเท่านั้น ภายใน ประกอบไปด้วยห้องต่างๆ บางห้องภายในตกแต่งด้วยวัสดุโบราณ บางห้องบรรยากาศเหมือนอยู่บ้านทาร์ซานในดิสนีย์แลนด์ บ้างประดับประดาด้วย แก้วหลากสี

ซึ่ง ผศ.ดร.ไพจิตร ผาวัน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรโครงสร้าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุมของเราได้เล่าให้ศิษย์ได้ฟังว่า ลัษณะเด่นของอาคาร หลังนี้ คือการออกแบบให้มีลักษณะที่เรียกว้า free form หรือรูปทรงอิสระ โดยหากพิจารณาให้ละเอียดขึ้นจะเป็นได้ว่า อาคารหลังนี้ได้ถูกออกแบบโครงสร้างมาเป็นอย่างดีโดยเริ่มจากฐานราก ที่มีการกำหนดโครงสร้างขอบเขตของอาคารและมีการกำหนดเสาหลักของฐานในการรับน้ำหนักของตัวอาคาร โดยจากภาพแบบร่างโครงสร้างอาคารที่จัดแสดงนั้นจะเห็นได้ว่าอาคารหลังนี้ไม่ได้มีเสาเข็ม แต่ใช้ลักษณะของเสาตอหม้อที่มีฐานวางอยู่บนชั้นดินที่เป็นดินแข็ง ซึ่งคล้ายคลึงกับชั้นดินบริเวณตามต่างจังหวัดของประเทศไทยที่เป็นชั้นดินแข็งที่มีความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาและอาคาร

นอกจากนี้ในส่วนของโครงสร้างด้านบนของอาคารจะมีการออกแบบในลักษณะของเคเบิ้ลเฟรม ที่เป็นลักษณะของจั่วในการรับน้ำหนัก โดยจะเสริมความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างผนังเพื่อที่จะสามารถรองรับน้ำหนักของโครงสร้างหลังคาทั้งหมดได้เป็นอย่างดี และความพิเศษของการออกแบบโครงสร้างอาคารชุดนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือมีการผสมผสานโครงสร้างที่มีหลายรูปฟอร์มมาประกอบกันโดยมีทั้งส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคารสูงเชื่อมต่อกับโครงสร้างรูปทรงโค้งเว้าอื่นๆ ที่ต่อเติมขึ้นไปด้ายบน โดยทุกส่วนใช้หลักการโครงสร้างที่เป็น เคเบิ้ลเฟรม แบบพอร์ทอลเฟรม มาผสมผสานต่อเติมจนได้รูปทรงอาคารที่มีความแปลกดูจากภายนอกคล้ายกับไร้รูปทรงแต่หาก มองจากมุมของของนักวิศวกรโครงสร้างแล้วละก็จะเป็นรูปแบบการทำงานที่เป็นระบบ และทั้งหมดนี้คือความสำคัญของวิชาชีพที่เรียกว่าวิศวกรโครงสร้าง หนึ่งในอาชีพในฝันของน้องๆ ที่ชื่นชอบการออกแบบโครงสร้างอาคาร


view: 209 shares: