ห้องปฏิบัติการ CFD (Computational Fluid Dynamics Analysis) ความล้มเหลวที่นำมาสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่
ห้องปฏิบัติการ CFD (Computational Fluid Dynamics Analysis)
ความล้มเหลวที่นำมาสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่
หนึ่งในห้องปฏิบัติการที่นำความรู้ทางวิชาการต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์สำหรับสาธารณะได้อย่างลงตัว ห้องปฏิบัติการ CFD ห้องแล็ปวิศวกรรมพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ (Computational Fluid Dynamics Analysis) ที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุกวิจัยจากภาคเอกชน โดยบริษัท นำพล จนก่อให้เกิดผลงานนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนและการต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ มากมาย ดังตัวอย่างโครงการจริงที่เคยผ่านการทำงานในห้องปฏิบัติการนี้มาแล้ว
1. Waste Water Pump Design โครงการจัดสร้างเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ ที่ใช้แก้ปัญหาน้ำท่วมในเขตที่พักอาศัยในเมืองใหญ่ๆ เป็นหนึ่งในโครงงานวิจัยที่สะท้อนปรัชญาแนวคิด Simply Significant ได้เป็นอย่างดี และ ทุกๆ ขั้นตอนของการค้นคว้า กว่าจะออกมาเป็นเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ ที่ว่านี้ ก็ได้ถูกฟูมฟักเพาะบ่มจนถือกำเนิดเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีปทุม แห่งนี้นั่นเอง เริ่มต้นตั้งแต่ทางทีมงานวิจัย ที่นำโดย ดร.เกียรติศักดิ์ สกุลพันธ์ แห่ง ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและนวัตกรรมอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้เข้าพบเพื่อพูดคุยรับทราบปัญหาและความต้องการของภาครัฐ ที่ต้องการเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วม โดยต้องการเครื่องสูบน้ำความแรงสูงขนาดใหญ่ที่ มีความสามารถในการรองรับปริมาณน้ำจำนวนมากในพื้นที่ได้ จากนั้น ทางทีมวิจัย จึงได้นำแนวคิดและความต้องการเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อออกแบบ ต่อด้วยการออกแบบดีไซน์ ที่เป็น 3 มิติ ต่อด้วยขั้นตอนการทำ simulation โดยใช้โปรแกรม ANSYS Software ที่ได้รับการยอมรับในวงการนักวิชาการระดับสากลถึงประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือในการทำงาน ซึ่งกระบวนการออกแบบตรงนี้ นักวิจัยจะมีการทดสอบ ลองผิด ลองถูก เพื่อทดสอบแบบที่วางแผนไว้กับประสิทธิภาพที่ได้ ซึ่งจะเป็นกระบวนการต่อเนื่อง จนกว่าจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการผลิตต้นแบบ และจัดสร้างอุปกรณ์ปั๊มน้ำขนาดใหญ่ขึ้นจริงในท้ายที่สุด
2. Hydro Turbine For Electric Power Plant เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ได้ผ่านคิดค้น ทดลองและทดสอบ ที่ห้องปฏิบัติการนี้เช่นกัน ซึ่งโครงการนี้ได้รับเงินทุกสนับสนุนจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ต้องการช่วยขจัดปัดเป่าและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ห่างไกล ที่มีศักยภาพในด้านแหล่งน้ำ แต่ขาดแคลนระบบการสายส่งที่มีประสิทธิภาพ โดยทีมนักวิจัยของทาง มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้วางแผนแก้ปัญหานี้โดยการ นำพลังงานน้ำในพื้นที่มาแปรให้เป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อนำจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งต้องถือว่าเป็นอีกหนึ่งผลงานทางวิศวกรรมที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างแท้จริง โดยความมุ่งมั่นและทุ่มเทของทางทีมงานและพลังการสนับสนุนของทั้งมหาวิทยาลัยศรีปทุม และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั่นเอง
3. Elevator Shaft Analysis อีกหนึ่งโครงการที่ใช้หลักความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ มาช่วยปรับปรุงการก่อสร้างลิฟต์ในอาคารให้มีประสิทธิภาพและการใช้งานที่เป็นที่น่าพอใจ โดยที่มาของโครงการดังกล่าวนี้ เกิดจากความพยายามในการแก้ไขปัญหาช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างตัวลิฟต์กับ ผนักช่องลิฟต์ ที่ในบางครั้งการออกแบบสถาปัตยกรรมการก่อสร้างกับปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่หน้างานจริง แตกต่างกัน จนทำให้เกิดปัญหาช่องว่างดังกล่าวที่เมื่อลิฟท์มีการเคลื่อนที่ขึ้นลงด้วยความเร็ว จะทำให้เกิดแรงดันอากาศตามช่องว่างที่ว่า ทำให้ลิฟท์มีการสั่นไหวรวมถึงเสียงรบกวนที่เข้าไปสู่ในห้องโดยสารลองลิฟต์ ซึ่งการค้นคว้าและทดลองในห้องปฏิบัติการที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ แห่งนี้ก็ช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี จนทำการก่อสร้างลิฟต์ปราศจาคอุปสรรคและปัญหาที่เคยพบก่อนหน้านี้
และเหล่านี้เองเป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนต่างๆ จนเกิดเป็นผลงานทางวิชาการที่นำไปใช้งานได้จริง แก้ปัญหา ความทุกข์ยากและความเดือดร้อนของคนใช้ได้อย่างเข้าใจความต้องการเหล่านั้นอย่างแท้จริง เพราะการเรียนการสอนวิศวกรรมศาสตร์ของทาง มหาวิทยาลัยศรีปทุมแห่งนี้ เรามุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้า ได้ลงมือทำ ลองผิดลองถูก เพราะเราเชื่อว่าความล้มเหลวนำมาสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ หากไม่หยุดก้าวต่อไปพัฒนาสร้างประสบการณ์จริงอันจะนำมาซึ่งทักษะความชำนาญที่ให้งานในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างดีที่สุดนั่นเอง