SRIPATUM UNIVERSITY BUSINESS INCUBATOR
มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2549 โดยบริหารงานภายใต้กลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
การดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ดำเนินงานตามพันธกิจด้านการบ่มเพาะธุรกิจและการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภายในและภายนอก เช่น
1) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
2) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
3) สำนักพัฒนาผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (สพก.)
4) สำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (สพจ.)
5) สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (สพช.)
6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
7) สถาบันอิศรามูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
8) สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9) บริษัท กูเกิ้ล ประเทศไทย
10) สมาคมหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย (Thai-BISPA)
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์และพันธกิจ จึงมีแผนกลยุทธ์ที่สำคัญ ดังนี้
1. สร้างเครือข่ายสมาชิกผู้ประกอบการ จัดให้มีกิจกรรมด้านการฝึกอบรม จับคู่ธุรกิจและสนับสนุนด้านการตลาด โดยเก็บค่าสมาชิกเป็นรายปี
2. ส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการวิชาการ โดยเริ่มจากการกระตุ้นให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา เห็นความสำคัญของการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา การทำงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของตลาด การรวบรวมฐานข้อมูลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย การจดทะเบียนและบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนเชื่อมโยงงานวิจัยและงานบริการวิชาการไปสู่ภาคเอกชน
3. เพิ่มการบริการด้านการจัดตั้งธุรกิจและที่ปรึกษาธุรกิจ โดยใช้ความชำนาญและกระบวนการสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจที่มีในศูนย์บ่มเพาะ ธุรกิจ เชื่อมโยงกับความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของบุคลากรของมหาวิทยาลัยในการ บริการจัดตั้งธุรกิจและที่ปรึกษาธุรกิจ
4. พัฒนากระบวนการบ่มเพาะธุรกิจให้มีประสิทธิผล ผ่านกระบวนการบ่มเพาะธุรกิจตามมาตรฐานสากล โดยที่ปรึกษาและบุคลากรที่มีประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ที่เข้มแข็ง ทำให้ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับ
5. แสวงหาพันธมิตร เพื่อเพิ่มช่องทางธุรกิจใหม่ๆ ของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
6. ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ด้วยการลดการใช้พลังงานและขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น
ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (Sripatum University Busienss Incubator) เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลาการดำเนินงานมากว่า 9 ปี อยู่ภายใต้กลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ เป็น 1 ในหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองต่อพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ พร้อมให้บริการวิชาการแก่สังคมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สนับสนุนให้เกิดการกระจายองค์ความรู้ รวมทั้งนำองค์ความรู้และทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย พัฒนาต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่มในเชิงพาณิชย์
พันธกิจหลักประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการบ่มเพาะธุรกิจ และด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษา ศิษย์เก่า อาจารย์ และบุคคลทั่วไป นำองค์ความรู้และทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย ไปพัฒนาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ เรียกว่า “ผู้ประกอบการ” ซึ่งจะมีกระบวนการในการถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์ความรู้ และเสริมทักษะความรู้ทางธุรกิจ โดยที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ ตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้น (Pre-incubatees) ซึ่งมีแนวความคิดจะประกอบธุรกิจ และมีการพัฒนาแนวความคิดนั้น โดยการเริ่มเข้าสู่กระบวนการผลิต การจัดการ การตลาด การลงทุน กระทั่งเริ่มมีช่องทางการตลาด สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ เพื่อพัฒนาสู่บริษัทเริ่มต้น (Start-up Company) ซึ่งจะมีการบริหารจัดการโดยมุ่งหวังการเจริญเติบโตและอยู่รอด มีผลกำไรจากการประกอบการ มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ซึ่งถ้าสามารถบริหารจัดการธุรกิจได้จนกระทั่งมีผลประกอบการผ่านการประเมินตามเกณฑ์และระยะเวลาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนด ก็จะได้รับการผลักดันเข้าสู่ระดับบริษัทเต็มรูปแบบ (Spin-off Company) ซึ่งจะได้รับการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ จนกระทั่งมีความเข้มแข็ง ยืนหยัดอยู่ได้ในโลกของธุรกิจจริง มีผลประกอบการในอัตราที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ระยะเวลาและเกณฑ์ที่กำหนด ก็จะเป็นผู้ประกอบการตัวจริง ที่พร้อมดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนต่อไป
นับตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ได้ดำเนินการบ่มเพาะพัฒนาธุรกิจของ “ผู้ประกอบการ” ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ และเรามีความพร้อมที่จะดำเนินการบ่มเพาะพัฒนาธุรกิจ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการต่อไป ซึ่งเป้าหมายในการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 นั้น มีเป้าหมายให้เกิดการจัดตั้งบริษัทเริ่มต้น (Start-up Company) อย่างน้อย 2 ธุรกิจ และพัฒนาธุรกิจให้เป็นบริษัทเต็มรูปแบบ (Spin-off Companies) อย่างน้อย 1 ธุรกิจ นอกจากนั้นมีแผนดำเนินกิจกรรมสร้างความตระหนัก กระตุ้นความมีจิตวิญญาณผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Spirit) แก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้และทรัพย์สินทางปัญญา พัฒนาสู่เชิงพาณิชย์อย่างมีทิศทางและมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ จึงเชื่อมั่นว่าเราเป็น 1 ในหน่วยบ่มเพาะธุรกิจชั้นนำ ที่พร้อมให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมาย ภายใต้พันธกิจของหน่วยงาน ด้วยกลยุทธ์การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ความพร้อมของทีมผู้บริหารและทีมงานมืออาชีพ มุ่งมั่นพัฒนาองค์ความรู้และทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยให้เกิดมูลค่าสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจแก่กลุ่มเป้าหมาย ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมถึงส่งเสริมผลักดันธุรกิจ ให้มีแผนดำเนินงานรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) สามารถดำเนินธุรกิจอย่างมีระบบและมีศักยภาพได้อย่างยั่งยืน
ส่งเสริมให้ความรู้ บ่มเพาะ และพัฒนาธุรกิจในระดับเริ่มต้น ให้เกิดความยั่งยืน และพัฒนา สู่ระดับสากล
เป็นหน่วยบ่มเพาะธุรกิจชั้นนำ ในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการ บุคลากรและนักศึกษา โดยมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจให้ ประสบความสำเร็จอย่างมีศักยภาพโดยทีมงานมืออาชีพ
1. ด้านการบ่มเพาะธุรกิจ
1.1 จัดโครงการฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะการดำเนินธุรกิจด้านต่าง ๆ ให้แก่ คณาจารย์ บุคลากร นิสิต นักศึกษา ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีปทุม รวมทั้งผู้ประกอบการภายนอก
1.2 พัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความรู้ เพื่อให้ดำเนินธุรกิจได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนธุรกิจ และสามารถดำเนินธุรกิจได้ด้วยตนเองภายภายใน 2 ปี
1.3 ผลักดันให้เกิดวิสาหกิจใหม่ๆ และเป็นแหล่งจ้างงาน ลดปัญหาการว่างงานและช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยรวม
1.4 ให้ความรู้ ข้อมูล และแนะแนวทางในการแก้ปัญหา ให้สามารถก่อตั้งธุรกิจได้อย่างมีศักยภาพ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมเพื่อให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
2. ด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
2.1 ดำเนินการประสานงานการจดทะเบียนคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
2.2 จัดสรรสิทธิประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.3 บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
2.4 ส่งเสริมให้มีการนำเอาผลงานวิจัยและพัฒนาความพร้อมด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยศรีปทุม เชื่อมโยงกับภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม
2.5 พัฒนาการเป็นผู้ประกอบการใหม่ ส่งผลให้มีการสร้างงานและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
1. เพื่อส่งเสริมให้มีการนำเอาผลงานวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยไปเชื่อมโยงกับ ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม โดยการพัฒนาเจ้าของผลงานไปสู่การเป็นผู้ประกอบการใหม่ อันจะส่งผลให้มีการสร้างงานเพิ่มขึ้น ช่วยลดปัญหาการว่างงาน และช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยรวม
2. เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และสิทธิประโยชน์จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย รวมถึงการดำเนินการป้องกันพิทักษ์สิทธิอันชอบธรรมในผลงานวิจัยนั้น มีแนวทางที่ชัดเจนและเป็นธรรม อันจะเป็นการส่งเสริม สนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยทำการค้นคว้า วิจัย พัฒนา เพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาในสาขาต่าง ๆ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้
3. เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการใหม่ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การ เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียน (Creative Industrial Hub of ASEAN) โดย การจัดประเภทอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย 15 กลุ่มย่อย คือ งานฝีมือและหัตถกรรม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การแพทย์แผนไทย อาหารไทย ศิลปะการแสดง ทัศนศิลป์ การพิมพ์และสื่อการพิมพ์ การกระจายเสียง ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ ดนตรี งานออกแบบ แฟชั่น งานโฆษณา สถาปัตยกรรม ซอฟต์แวร์ รวมทั้งสาขาอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ และผู้ประกอบการใหม่ถนัดหรือมีประสบการณ์
4. เพื่อให้ความรู้ ข้อมูล และเสนอแนะแนวทางแก่ผู้ประกอบการใหม่ให้สามารถก่อตั้งธุรกิจและดำเนินธุรกิจ ต่อไปได้อย่างมีระบบ มีความมั่นใจ มีคุณภาพคู่คุณธรรม ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมในทุกด้านเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน
5. เพื่อสร้างความตื่นตัวในการเป็นเจ้าของธุรกิจ
โครงสร้างองค์กร (ORGANIZATION)
ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีความพร้อมด้านโครงสร้างการบริหารงานในการส่งเสริมให้บุคลากร อาจารย์ และนิสิตของมหาวิทยาลัยศรีปทุม สามารถพัฒนาองค์ความรู้และผลงานวิจัยสู่การเป็นผู้ประกอบการใหม่ รวมถึงการส่งเสริมให้มีการนำผลงานวิจัย ไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีโครงสร้างการบริหารงานดังนี้
แนะนำบุคลากร (Staff Profile)
1. ผู้อำนวยการ มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
- วางแผนบริหารกิจการของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและของมหาวิทยาลัย
- จัดทำแผนพัฒนาศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ จัดทำงบประมาณประจำปี ดำเนินการตามแผนรวมทั้งติดตามประเมินผล การดำเนินงานต่างๆ ของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ จัดทำรายงานประจำปีที่เกี่ยวกับกิจการต่างๆ ของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและเสนอต่อคณะกรรมการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ
- เสนอแต่งตั้ง หรือถอดถอนบุคลากรของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ
- เป็นผู้แทนของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจในกิจการทั่วไป
- ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
- บริหารกิจการของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ให้มีผลการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ โดยบรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและของมหาวิทยาลัย
- เป็นผู้ประสานงาน ดูแล และอำนวยความสะดวกกิจกรรมต่างๆ ที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเป็นผู้จัดร่วมกับหน่วยงานภายในและภายนอก
- จัดทำแผนพัฒนาศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ จัดทำงบประมาณประจำปี ดำเนินการตามแผนรวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินงานต่างๆ ของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ จัดทำรายงานประจำปีที่เกี่ยวกับกิจการต่างๆ ของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและเสนอต่อผู้อำนวยการ
- ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ผู้อำนวยการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณคุณ ธรณีนิติญาณ
Assistant Professor Nakhun Thoraneenitiyan, PhD.
ข้อมูลการติดต่อ | ||
โทรศัพท์ : 0-2579-1111 ต่อ 5556 | ||
Email : nakhun.th@spu.ac.th | ||
คุณวุฒิการศึกษา : | ||
ระดับปริญญาเอก | ||
• PhD (Banking and Finance), The University of Queensland, Australia | ||
ระดับปริญญาโท | ||
• บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การเงินและการธนาคาร), มหาวิทยาลัยศรีปทุม | ||
ระดับปริญญาตรี | ||
• บริหารธุรกิจบัณฑิต (การเงิน), มหาวิทยาลัยกรุงเทพ | ||
• เศรษฐศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ), มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | ||
• นิติศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | ||
• บัญชีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | ||
• รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (การบริหารทรัพยากรมนุษย์), มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | ||
• รัฐศาสตรบัณฑิต (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ), มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | ||
ตำแหน่งปัจจุบัน : | ||
(1) ผู้อำนวยการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม | ||
(2) อาจารย์พิเศษ โครงการปริญญาโท สำหรับผู้บริหารการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | ||
(3) กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ บริษัท ริชเอเชียสตีล จำกัด (มหาชน) | ||
(4) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการบริหารรายได้และทรัพย์สิน สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน | ||
ประสบการณ์ทำงาน : | ||
(1) ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม | ||
(2) หัวหน้าสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม | ||
(3) อาจารย์ประจำภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม | ||
(4) Business Analyst, P.S. Consulting Group Co., Ltd. | ||
(5) เจ้าหน้าที่การตลาดหลักทรัพย์ สายงานค้าหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ J.F. ธนาคม จำกัด | ||
ประสบการณ์บรรยาย : | ||
: | ระดับบัณฑิตศึกษา | |
• งบประมาณและการวางแผนกำไร (Budgeting and Profit Planning) | ||
• การจัดการสินเชื่อ (Credit Management) | ||
• การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) | ||
• การเงินระหว่างประเทศ (International Finance) | ||
• การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Project Feasibility Study) | ||
• หลักการลงทุน และการวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Investments) | ||
ระดับปริญญาตรี | ||
• งบประมาณและการวางแผนกำไร (Budgeting and Profit Planning) | ||
• การจัดการสินเชื่อ (Credit Management) | ||
• การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) | ||
• การดำเนินงานธนาคาร (Bank Operations) | ||
• การเงินระหว่างประเทศ (International Finance) | ||
• การจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Business Management) | ||
• การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Project Feasibility Study) | ||
• นโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง (Monetary and Fiscal Policies) | ||
ประสบการณ์งานบรรยายพิเศษ ฝึกอบรม ที่ปรึกษา และงานวิจัย : | ||
• วิทยากรในหลักสูตร “การบริหารและการจัดทำงบประมาณ” บริษัท เคฮิน ออโตพาร์ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด | ||
• วิทยากรในหลักสูตร “เทคนิคการจัดทำแผนงบประมาณประจำปี” | ||
บริษัท โตโยต้า โบโชคุ ฟิลเทรชั่น ซิสเต็ม (ประเทศไทย) จำกัด | ||
• วิทยากรในหลักสูตร “งบประมาณและการลงทุน” บริษัท ไทยซัมมิท เอนจิเนียริ่ง จำกัด | ||
• วิทยากรในหลักสูตร “การวิเคราะห์งบการเงินและการจัดทำงบประมาณ” | ||
บริษัท ไทยซัมมิท มิต ซูบะ อิเล็คทริค แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด | ||
• วิทยากรในหลักสูตร “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชีต้นทุน” กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง | ||
• วิทยากรในหลักสูตร “Finance for Non-Finance Manager” | ||
บริษัท คาวาซากิ มอเตอร์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ (ประเทศไทย) จำกัด | ||
• วิทยากรในหลักสูตร “กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงสำหรับผู้บริหาร” | ||
บริษัท ทีโอเอ เพอฟอร์มานซ์ โค๊ทติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด | ||
• วิทยากรในหลักสูตร “การจัดการความเสี่ยง” บริษัท ไทยซัมมิท มิตซูบะ อิเล็คทริค จำกัด | ||
• วิทยากรในหลักสูตร “การวัดประสิทธิภาพการผลิตเชิงเทคนิคในอุตสาหกรรมเกษตร” | ||
จัดโดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร | ||
• วิทยากรในหลักสูตร “การวัดประสิทธิภาพการผลิตเชิงเทคนิคขั้นสูงในอุตสาหกรรมเกษตร” | ||
จัดโดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร | ||
• วิทยากรในหลักสูตร “การวัดประสิทธิภาพการผลิตเชิงเทคนิคในอุตสาหกรรมเบื้องต้น” | ||
จัดโดย วิทยาลัยบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง | ||
• วิทยากรในหลักสูตร “การวัดประสิทธิภาพการผลิตเชิงเทคนิคในอุตสาหกรรมขั้นสูง” | ||
จัดโดย วิทยาลัยบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง | ||
• อาจารย์พิเศษ หลักสูตรชั้นนายพัน โรงเรียนทหารการเงิน กรมการเงินทหารบก | ||
• วิทยากรในหลักสูตร “ผู้ส่งออกอัจฉริยะ: Smart Exporter” | ||
จัดโดย สถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก | ||
• วิทยากรในหลักสูตร “การลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มกำไรให้กับองค์กร” | ||
จัดโดยสภาอุตสาหกรรมจังหวัดมุกดาหาร | ||
• วิทยากรในหลักสูตร “Managing Service Process” | ||
บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด | ||
จัดโดยศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ | ||
• วิทยากรในโครงการ “ฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการส่งเสริมการลงทุน | ||
และเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขัน” จัดโดยสำนักส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | ||
กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ | ||
• ปรึกษาโครงการการศึกษาทิศทางการดำเนินงานและแผนดำเนินการโครงการในอนาคต | ||
ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และการสำรวจศึกษาสภาพการจราจร | ||
และการเดินทางบนทางพิเศษ | ||
• นักวิจัย โครงการจัดทำมาตรการหรือสิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมอุตาหกรรมซอฟต์แวร์ | ||
• นักวิจัย งานวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการกลุ่มงานบริการของธนาคารเพื่อการเกษตร | ||
และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อย่างมีประสิทธิภาพ | ||
• นักวิจัย โครงการศึกษาเพื่อวางยุทธศาสตร์สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ | ||
และสังคมแห่งชาติ เพื่อเตรียมการเป็นองค์กรที่มีการบริหารงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ | ||
• นักวิจัย โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้กะทิเทียมผลิตขนมอาลัว | ||
โดยทุนวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) | ||
• นักวิจัย การประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2553 | ||
สาขางานวิจัย : | ||
(1) Bank operations | ||
(2) Bank restructuring | ||
(3) Mergers and Acquisitions | ||
(4) Performance measurement | ||
(5) Productivity and efficiency measurement | ||
ผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ / เผยแพร่ : | ||
• ณคุณ ธรณีนิติญาณ (2556). การจัดการการเงิน, หน่วยที่ 6 การบริหารสินทรัพย์หมุนเวียน, สาขาวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี. | ||
• ณคุณ ธรณีนิติญาณ (2555). วาณิชธนกิจและนวัตกรรมทางการเงิน, หน่วยที่ 4 การควบรวมกิจการ และ หน่วยที่ 5 การแปรรูปธุรกิจ, สาขาวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี. | ||
• Thoraneenitiyan, N (2010). Measuring Bank Performance in the Current Evolving Financial Marketplace. ABAC Journal, 30 (3). P 1-14. | ||
• Thoraneenitiyan, N. (2010). Cost Efficiency of Asian Banks during the Post-Crisis Era: A Comparison of Frontier Techniques. Chulalongkorn Business Review, 32 (125). P 18 -44. | ||
• Avkiran, N. and Thoraneenitiyan, N. (2010). Purging data before productivity analysis. Journal of Business Research, 63 (3). p 294-302. | ||
• Thoraneenitiyan, N. (2009). Are changes in bank efficiency related to stock returns? Sripatum Review of Humanities and Social Sciences, 9 (1), p. 5-12. | ||
• Thoraneenitiyan, N. and Avkiran, N. (2009). Measuring the Impact of Restructuring and Country-Specific Factors on the Efficiency of Post-Crisis East Asian Banking Systems: Integrating DEA with SFA. Socio-Economic Planning Sciences, 43 (4), p. 240-252. | ||
• Thoraneenitiyan, N. (2008). Are Changes in a Thai Bank’s Efficiency Reflected by Stock Price? Conference Proceeding, The Asia Pacific Productivity Conference (APPC2008), 17-19 July, Taipei, Taiwan. | ||
• Avkiran, N. and Thoraneenitiyan, N. (2007). Has East Asian Banking Restructuring following the Crisis Improved Efficiencies? JASSA, winter, issue 2, p. 28-31. | ||
• Avkiran, N. and Thoraneenitiyan, N. (2007). Investigating the Impact of Restructuring and Country-specific Factors on Post-crisis Asian Bank Efficiency, Conference Proceeding, The 5th International Symposium on DEA 2007, 5-7 January, Indian School of Business, Hyderabad, India. | ||
• Thoraneenitiyan, N. and Avkiran, N. (2007). Investigating Cost Efficiency of Asian Banks during the Post-Crisis Period: A Comparison of Frontier Techniques, Conference Proceeding, The 14th Annual Global Finance Conference (GFC2007), 1-4 April, Melbourne, Australia. | ||
• Thoraneenitiyan, N. and Avkiran, N. (2006). The Impact of Post-Crisis Restructuring on Bank Efficiency, Conference Proceeding, The 17th Australasian Finance and Banking Conference (AFBC 2006), 12 – 17 December, Sydney, Australia. |
ผู้จัดการโครงการ
Sawalee Naebnual
ข้อมูลการติดต่อ | ||
โทรศัพท์ : 0-2579-1111 ต่อ 5559 | ||
Email : sawalee.na@spu.ac.th | ||
คุณวุฒิการศึกษา: | ||
ปริญญาโท | ||
• หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม | ||
ปริญญาตรี | ||
• หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (เกียรติคุณผลการเรียนดีเด่น) สาขาวิชาการตลาด (หลักสูตรต่อเนื่อง) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม | ||
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) | ||
• คณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย | ||
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) | ||
• คณะบริหารธุรกิจ สาขาการขาย วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย | ||
ตำแหน่งปัจจุบัน: | ||
ผู้จัดการโครงการ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (ก.พ. 2559 – ปัจจุบัน) | ||
ประสบการณ์ทำงาน: | ||
(1) เจ้าหน้าที่โครงการอาวุโส ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (ก.พ. 2558 – ม.ค. 2559) | ||
(2) อาจารย์ที่ปรึกษา ชมรมผู้ประกอบการนักศึกษา SE-CLUB มหาวิทยาลัยศรีปทุม (2552 – 2558) | ||
(3) อาจารย์ที่ปรึกษาคณะบัญชี รายวิชา MGT345 “การเป็นผู้ประกอบการและการสร้างธุรกิจใหม่” มหาวิทยาลัยศรีปทุม (ส.ค. 2558 – ก.ย. 2558) | ||
(4) เจ้าหน้าที่บริหารโครงการ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (ต.ค. 2552 – ก.พ. 2558) | ||
(5) พนักงานขาย “หมูปลอดสารไฮมีท” บจก.เบทาโกรภาคเหนือ เกษตรอุตสาหกรรม (เชียงราย) (ม.ค.-ธ.ค. 2549) | ||
(6) พนักงานขาย “ผงซักฟอกบรีสเอกเซล” บจก.ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย (เชียงราย) (ก.ย.-พ.ย. 2548) | ||
(7) ผู้ช่วยเลขานุการ ผู้จัดการหอการค้า จังหวัดเชียงราย (มี.ค. – พ.ค. 2548) | ||
(8) พนักงานขายและแนะนำสื่อโฆษณา บริษัท เอ็ม-พลอย จำกัด (เชียงราย) (มี.ค.-พ.ค. 2547) | ||
ผลงาน/รางวัล/เกียรติบัตร: | ||
• กรกฎาคม 2558 เกียรติบัตรผ่านการอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน หลักสูตร การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรเพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ หัวข้อ การพัฒนาศักยภาพการพูดและการนำเสนอแบบมืออาชีพ จัดโดยกลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม | ||
• กรกฎาคม 2558 เกียรติบัตรผ่านการอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน หลักสูตร การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรเพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ หัวข้อ Marketing Concept for Training House จัดโดยกลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม | ||
• กรกฎาคม 2558 เกียรติบัตรผ่านการอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน หลักสูตร การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรเพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ หัวข้อ การเขียนโครงการและการบริหารโครงการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ จัดโดยกลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม | ||
• กรกฎาคม 2558 เกียรติบัตรผ่านการอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน หลักสูตร ทิศทางนโยบายการบริหารงานภายในกลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ จัดโดยกลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม | ||
• สิงหาคม 2557 เกียรติบัตรผ่านการฝึกอบรมโครงการ Train the Trainer for “Y.E.S. IDEA Challenge” จัดโดย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา | ||
• มิถุนายน 2556 โล่เกียรติคุณอาจารย์ที่ปรึกษาชมรมดีเด่น โดยมหาวิทยาลัยศรีปทุม | ||
• มิถุนายน 2552 เกียรติคุณบัตรรับรองการเป็นหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์นักศึกษา โดยคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ณ มหาวิทยาลัยศรีปทุมและกองพันทหารม้าที่ 30 กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ จังหวัดปราจีนบุรี โดยคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุมกรุงเทพฯ | ||
• พฤศจิกายน 2551 โครงการการเขียนแผนการตลาด, ม.ศรีปทุม ผ่านการฝึกอบรมการเขียนแผนการตลาด | ||
• กันยายน 2551 โครงการสื่อสารอย่างไรให้โดนใจ ครั้งที่ 1, ม.ศรีปทุม ผ่านการฝึกอบรมโครงการ และสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของการฝึกอบรมได้ | ||
• พฤษภาคม 2551 โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผ่านการอบรมตามเป้าหมายของโครงการ ว่าต้องสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดได้ | ||
• กุมภาพันธ์ 2550 คณะกรรมการดำเนินงานองค์การนักศึกษาอาชีวศึกษา, วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย เกียรติบัตรรับรองการเป็นนักศึกษาที่ทำงานเพื่อสถาบัน ในฐานะนักศึกษาองค์การ เป็นเวลา 2 ปี | ||
• มกราคม 2550 โครงการพาน้องเยี่ยมเยือนพี่, กองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นอาสาสมัครการทำงานของกองทุนฯ กิจกรรม “พาน้องเยี่ยมเยือนพี่” ในโครงการอาสาเครือข่ายอาสาสมัคร กยศ. | ||
• กรกฎาคม 2549 โครงการกรุงไทยยุววานิช, ธนาคารกรุงไทย การเข้าร่วมแข่งขันเขียนแผนธุรกิจ โดยผ่านการคัดเลือกรอบแรกจำนวน 100 แผน จาก 2,300 แผน | ||
• กรกฎาคม 2549 โครงการอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน ปี 49, สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เกียรติบัตรในการเข้าร่วมอบรมโครงการ ณ ห้องประชุม วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย | ||
• มิถุนายน 2549 English CVC Youth Camp: Higher Living 2006, Chiang Rai Vocational College & Chiangrai life and Social development foundation and A.G. Ponca Church แคมป์เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ เพื่อฝึกฝนทักษะด้านภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษา | ||
• พฤศจิกายน 2548 The Event Marketing’48 ครั้งที่ 1, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย เกียรติบัตรการเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขัน The event marketing’48 ครั้งที่ 1 | ||
• มิถุนายน 2548 การประกวดบทกลอนสุนทรภู่, วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย เกียรติบัตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดบทกลอนสุนทรภู่ เนื่องในวันสุนทรภู่ | ||
• กรกฎาคม 2548 โครงการเถ้าแก่น้อย รุ่นที่ 2, ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เกียรติบัตรการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเถ้าแก่น้อย รุ่นที่ 2 | ||
• มีนาคม 2548 นักเรียนที่มีผลการเรียนดีเด่น ประเภทพาณิชยกรรม, วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย เกียรติบัตรเพื่อแสดงว่าเป็นนักเรียนที่มีผลการเรียนดีเด่น ประเภทพาณิชยกรรม สาขาการขาย | ||
• มีนาคม 2548 นักเรียนที่มีความเป็นผู้นำดีเด่น ประเภทพาณิชยกรรม, วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย เกียรติบัตร แสดงว่าเป็นนักเรียนที่มีความเป็นผู้นำ ประเภทพาณิชยกรรม สาขาการขาย | ||
• มีนาคม 2548 นักเรียนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีเลิศ ประเภทพาณิชยกรรม, วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย เกียรติบัตร นักเรียนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีเลิศ ประเภทพาณิชยกรรม สาขาการขาย | ||
• ธันวาคม 2547 ทักษะการจัดแสดงสินค้าและเสนอขายสินค้า OTOP, วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขันทักษะการจัดแสดงสินค้าและเสนอขายสินค้า OTOP ระดับ ปวช. โดยสินค้าที่นำมาจัดแสดง คือ ผ้าทอมือ | ||
• พฤศจิกายน 2547 ทักษะการจัดแสดงสินค้าและเสนอขาย ระดับ ปวส., วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย เกียรติบัตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทักษะการแสดงสินค้าและเสนอขาย ระดับ ปวส. | ||
• มีนาคม 2545 หมอภาษาพัฒนาเยาวชน, สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีส่วนรวมในการอนุรักษ์ภาษาไทยในโครงการ หมอภาษาพัฒนาเยาวชน | ||
• กันยายน 2544 ชนะเลิศการแข่งขันทักษะการอ่านในใจ (กลุ่มภาษาไทย), กลุ่มโรงเรียนกรมสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย การแข่งขันทักษะความสามารถทางวิชาการของนักเรียน แสดงนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ และผลงานทางวิชาการของครู 5-7 กันยายน 2544 | ||
• สิงหาคม 2544 แข่งขันทักษะการจัดสวนถาด ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสถาบันราชภัฎเชียงราย เกียรติบัตรการเข้าร่วมแข่งขันทักษะการจัดสวนถาด เนื่องในโอกาสงานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ | ||
• กันยายน 2543 ประกวดแต่งบทร้อยกรอง, จังหวัดเชียงราย เกียรติบัตร การร่วมประกวดแต่งบทร้อยกรอง ส่งเสริมคุณธรรมตามแนวพระราชดำรัส ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น | ||
• กันยายน 2543 ประกวดแต่งบทร้อยแก้ว, จังหวัดเชียงราย เกียรติบัตรการร่วมแข่งขันประกวดแต่งบทร้อยแก้ว ส่งเสริมคุณธรรมตามแนวพระราชดำรัสระดับมัธยมศึกษาตอนต้น | ||
• มิถุนายน 2543 ชนะเลิศการแต่งคำประพันธ์ วันสุนทรภู่, โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2 ชนะเลิศการแต่งคำประพันธ์ อันดับที่ 1 ในงานวันสุนทรภู่รำลึก 2543 | ||
• มีนาคม 2542 การคัดเลือกเป็นนักเรียนมีความประพฤติดี, โรงเรียนเทศบาล 4 สันป่าก่อ เกียรติบัตรแสดงว่าเป็นนักเรียนที่มีความประพฤติดี | ||
• มิถุนายน 2541 อาสาแกนนำนักเรียนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเอดส์, เทศบาลเมืองเชียงราย เกียรติบัตรแกนนำนักเรียนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ ในสถานศึกษา | ||
• มิถุนายน 2541 เยาวชนสัมพันธ์เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ, ศูนย์เยาวชนเทศบาลเมืองเชียงราย วุฒิบัตร ได้ผ่านการอบรมเยาวชนสัมพันธ์เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
เจ้าหน้าที่บริหารโครงการ
อาจารย์เหมือนฝัน เฉลิมวัฒน์
Muanfan Chalermwat
ข้อมูลการติดต่อ | ||
โทรศัพท์ : 0-2579-1111 ต่อ 5557 | ||
Email : muanfan.ch@spu.ac.th | ||
คุณวุฒิการศึกษา: | ||
ปริญญาโท | ||
• กำลังศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม | ||
ปริญญาตรี | ||
• Bachelor’ s Degree of Education Major in Health and Physical Education, Chulalongkorn University | ||
ตำแหน่งปัจจุบัน: | ||
• เจ้าหน้าที่บริหารโครงการ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (ธันวาคม 2559 – ปัจจุบัน) | ||
ประสบการณ์ทำงาน: | ||
• 25th October 2014 – 1st November 2016 Position of Teacher, Satriangthong School | ||
ผลงาน/รางวัล/เกียรติบัตร: | ||
• - |