ปรับค่าจ้าง!!! เรื่องน่ายินดีที่น่าปวดหัว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์
รักษาการหัวหน้าสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์
รักษาการหัวหน้าสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
การขอขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นประเด็นที่พูดถึงกันมาตั้งแต่กลางปี 2560 จนมาได้ข้อสรุปในเดือนมกราคม 2561 ว่าจะขึ้นระหว่าง 5 – 22 บาท แล้วแต่พื้นที่ โดยกำหนดให้มีผลในวันที่ 1 เมษายน 2561 สิ่งที่นักบริหารค่าจ้างเงินเดือนต้องมานั่งคิดต่อ คือ แล้วจะต้องไปปรับค่าจ้างของพนักงานกันยังไง โดยเฉพาะการปรับค่าจ้างต้องไม่ทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมาหรือให้ตามมาน้อยที่สุด ปัญหาที่มักจะพบก็คือ ปัญหาระหว่างลูกจ้าง 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้ค่าจ้างไม่ถึงเกณฑ์ค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ กับ กลุ่มลูกจ้างเก่าที่ทำงานมาหลายปีแล้ว สมมติผมพึ่งมาทำงานไม่ถึงเดือน ขณะนี้ค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากับ 305 บาท ในพื้นที่ที่ผมทำงาน และจะได้รับการปรับเงินเพิ่ม 20 บาท ตามข้อตกลงการปรับค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ นั่นหมายความว่าผมจะได้ค่าจ้างใหม่เป็นวันละ 325 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 และก็สมมติอีกว่าถ้าลูกพี่ผมทำงานที่นี่มา 3 ปีแล้ว ได้ค่าจ้างวันละ 320 บาท พอวันที่ 1 เมษายน 2561 ลูกพี่ผมก็ได้รับการปรับค่าจ้างเป็น 325 บาท เท่ากับผมเลย เอาละสิ…คุณคิดว่าลูกพี่ผมจะยอมมั๊ย!!!
ความจริงเรื่องแบบนี้ไม่ใช่พึ่งเกิดเป็นครั้งแรก นักบริหารค่าจ้างเงินเดือนเลยต้องหาทางออกให้กับเรื่องน่ายินดีแต่ไม่สบอารมณ์ของลูกพี่ผม ด้วยการคิดสูตรการคำนวณค่าจ้างใหม่ที่ลูกพี่ผมจะได้รับ ดังนี้ครับ
(ค่าจ้างปัจจุบัน – ขั้นต่ำเดิม) x ตัวคูณ + ขั้นต่ำใหม่ – ค่าจ้างปัจจุบัน ตัวคูณ = แสดงสัดส่วนความต่างระหว่างค่าจ้าง 2 อัตราที่ลดลง เช่น ตัวคูณ 0.5 = 50% หรือ 0.6 = 60% หรือ 0.7 = 70% อันนี้แล้วแต่ๆ ละบริษัทครับดังนั้น เมื่อแทนค่าในสมการ (แหนะ! ยังก๊ะสอนคณิตศาสตร์) (320 – 305) x 0.5 + 325 – 320 = 12.50 บาท
ความจริงเรื่องแบบนี้ไม่ใช่พึ่งเกิดเป็นครั้งแรก นักบริหารค่าจ้างเงินเดือนเลยต้องหาทางออกให้กับเรื่องน่ายินดีแต่ไม่สบอารมณ์ของลูกพี่ผม ด้วยการคิดสูตรการคำนวณค่าจ้างใหม่ที่ลูกพี่ผมจะได้รับ ดังนี้ครับ
(ค่าจ้างปัจจุบัน – ขั้นต่ำเดิม) x ตัวคูณ + ขั้นต่ำใหม่ – ค่าจ้างปัจจุบัน ตัวคูณ = แสดงสัดส่วนความต่างระหว่างค่าจ้าง 2 อัตราที่ลดลง เช่น ตัวคูณ 0.5 = 50% หรือ 0.6 = 60% หรือ 0.7 = 70% อันนี้แล้วแต่ๆ ละบริษัทครับดังนั้น เมื่อแทนค่าในสมการ (แหนะ! ยังก๊ะสอนคณิตศาสตร์) (320 – 305) x 0.5 + 325 – 320 = 12.50 บาท
ดังนั้น ลูกพี่ผมจะได้ค่าจ้าง 320 + 12.50 = 332.50 บาท ครับ
จากตัวอย่างการคำนวณข้างบนก็น่าจะช่วยคลี่คลายสถานการณ์ได้บ้างนะครับ ถึงแม้ว่าคนเก่าจะยังรู้สึกว่าไม่ค่อยเป็นธรรมเท่าไหร่ แต่ก็น่าจะยอมรับได้ครับ อย่างน้อยองค์การก็ได้แสดงความพยายามอะไรให้ลูกจ้างเห็น อีกอย่างการปรับค่าจ้างขั้นต่ำหนนี้ก็ไม่ใช่หนสุดท้ายครับ…โลกเรายังไม่แตก