เรียนกับตัวจริง อดีต Cabin Services Director สายการบิน Qatar Airways กว่า 10 ปี
! เรียนกับตัวจริงผู้มีประสบการณ์
ตำแหน่ง Cabin Services Director
สายการบิน Qatar Airways กว่า 10 ปี
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
อาจารย์มิกิ ภานิดา รักกลิ่น
อาจารย์ประจำสาขาวิชาธุรกิจการบิน
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนวิชาอะไร?
ในวิทยาลัยการท่องเที่ยวและบริการ
หลายวิชาเลยค่ะ (หัวเราะ) จะเกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่เราเคยทำ เช่น วิชา In-flight Service สอนในด้านงานบริการผู้โดยสาร การเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม ความปลอดภัยเหตุฉุกเฉินต่างๆ และการปฐมพยาบาลบนเครื่องบินเบื้องต้น วิชาที่ 2 เป็นของการเตรียมตัวเพื่อสมัครเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน นอกจากนี้มีการสอนในการแต่งหน้า-การแต่งกาย เพื่อไปสมัครงาน การจำลองการสัมภาษณ์งานตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการการสมัครแอร์ฯ การเขียน CV / Resume วิชาที่ 3 เป็นวิชาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เราอาจจะพบเจอในอนาคต วิชาที่ 4 เป็นวิชาการเตรียมตัวเพื่อทดสอบภาษาอังกฤษวัดผลทางภาษา วิชาที่ 5 วิชานิรภัยและการรักษาความปลอดภัยทางการบิน วิชาที่ 6 โภชนาการและครัวการบิน และวิชาสุดท้ายคือ การพัฒนาบุคลิกภาพและอัตลักษณ์ทั้งภายในและภายนอก ให้ผู้เรียนปรับไปในทิศทางที่ดีขึ้นและเหมาะสมกับงานบริการค่ะ
>>จุดเริ่มต้นในการเป็น<<
พนักงานต้อนรับ Qatar Airways
จุดเริ่มต้นมาจากการเราเป็นคนชอบภาษาอังกฤษ ชอบพูดชอบคุย และเดิมทีครอบครัวของเราเป็นคนชอบท่องเที่ยว เลยคิดว่าอาชีพแอร์ฯ นี่แหละเหมาะกับเราที่สุด เลยเกิดความพยายามในการพัฒนาภาษาอีกครั้ง โดยการหาเพื่อนต่างชาติ จากการเป็นอาสาสมัครให้อาจารย์ตอนเรียนมหาวิทยาลัยในการดูแลนักเรียนแลกเปลี่ยนต่างชาติ ซึ่งตอนนั้นภาษาอังกฤษก็ไม่ได้เก่ง Gramma เท่าไหร่ (หัวเราะ) ช่วงเรียนจบใหม่ๆ ก็ว่างค่ะ เลยขอใบรับรองการจบจากมหาวิทยาลัยและสอบชิงทุนไปเรียนที่มหาวิทยาลัย Innsbruck University ที่ประเทศออสเตรีย ระยะเวลาแลกเปลี่ยน 6 เดือน ระหว่างรอคำตอบการประกาศผลสอบชิงทุน ก็ได้ Walk-In สายการบิน Qatar Airways เพื่อหาประสบการณ์ สุดท้ายความพยายามของเราก็สัมฤธิ์ผล เราได้การตอบรับจากทั้ง 2 ที่ สายการบิน Qatar ให้ Date of joining วันที่ 15 พฤษภาคม 2010 ส่วนทุนเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน กำหนดวันเดินทางให้คือวันที่ 19 พฤษภาคม 2010 ตอนนั้นเครียดเลยค่ะ คือตัดสินใจไม่ได้ เพราะเรามีเวลาแค่ 2 เดือนในการเลือก โดยคุณแม่ให้กำลังใจว่า ในเมื่อได้แอร์ฯ ก็ให้ไปตามความฝันเพราะสุดท้าย ไปเรียนก็ต้องกลับมาทำงานอยู่ดี แต่อย่างน้อยการที่เราได้ทุน เป็นการพิสูจน์ในความมานะของเราว่าเราทำได้แล้ว สุดท้ายเลยเลือกไปทำงานกับสายการบินและใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศตลอด 10 ปี พึ่งกลับมาอยู่เมืองไทยเมื่อปี 2020 ก่อนสถานการณ์โควิด-19 นิดเดียวเองค่ะ
ลักษณะงานของแอร์เป็นยังไง
หากพูดถึงลักษณะงานหลักๆ แอร์-สจ๊วต คือการดูและเรื่องความปลอดภัยทั้งด้าน Safety และ Security การปฐมพยาบาล และสุดท้ายคือการบริการดูแล ผู้โดยสารบนเที่ยวบินค่ะ
*เสน่ห์ของอาชีพนี้อยู่ตรงไหน?
ส่วนตัวคิดว่า เสน่ห์ของอาชีพนี้ คือ การที่ทำให้เราได้เปิดโลกทัศน์ อะไรที่ไม่เคยเห็นก็ได้เห็น อะไรที่ไม่เคยทำก็ได้ทำ ได้รู้จักผู้คนหลากหลาย เรียนรู้การทำงานกับคนต่างเชื้อชาติ ต่างวัฒนธรรมและการมีคอนเนคชั่นในหลากหลายอาชีพ โดยพบว่าเรามีเพื่อนร่วมงานที่เป็นหมอ พยาบาล ครูสอนภาษาอังกฤษ วิศวะไฟฟ้า และวิศวะแขนงต่างๆ สถาปนิก ดารา-นักแสดง เรารู้สึกตื่นตาตื่นใจมากเลยค่ะ เขาบอกว่ามาเปิดประสบการณ์ช่วงเวลา 2-3 ปี มาเรียนรู้การทำงานแบบมืออาชีพ การเรียนรู้การใช้จิตวิทยาบริการและการท่องเที่ยว ถือเป็นของแถม ก่อนจะกลับไปประกอบอาชีพเดิม
จุดเปลี่ยนจากแอร์ในสายงานบริการ
>>>สู่บทบาทครูผู้สอน<<<
ด้วยการที่เราไปทำงานในสายงานนี้มาตั้งแต่เรียนจบใหม่ๆ เลยเป็นคนถึงไหนถึงกัน เดินทางกว่า 80 ประเทศ ใน 120 จุดหมายปลายทางทั่วโลก และด้วยที่เราเป็นคนช่างสังเกต และพบเจอผู้คนหลากหลาย เลยมีการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว พฤติกรรมของคนที่เราทำงานด้วย รวมถึงผู้โดยสาร เราสั่งสมประสบการณ์ในงานสายนี้มาเป็นระยะเวลา 10 กว่าปี ทำให้เรารู้ว่าสายการบินแต่ล่ะสายต้องการคนลักษณะใด ลักษณะเฉพาะอย่างไร คือเราสามารถวิเคราะห์ได้เลยว่า รูปร่าง หน้าตา และ Attitude แบบไหน ต้องไปสมัครสายการบินไหนจะได้แน่นอน ล่าสุดลูกศิษย์ที่เราเคยติวเข้มให้เขา ไปสมัครสายการบินที่เราบอก ตอนนี้ก็ติดปีกไปเป็นที่เรียบร้อย ด้วยประสบการณ์ของเราที่สั่งสมมา เลยได้มีโอกาสได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษหัวในข้อเกี่ยวข้องกับอาชีพของเราบ่อยๆ เป็นอาจารย์พิเศษบ้าง พอถึงจุดๆ นึงเราเริ่มอิ่มตัวในการท่องเที่ยวเหมือนเราได้ทำตามฝันของเราไปแล้ว แต่ยังรักในอาชีพนี้อยู่ และเล็งเห็นว่าอาชีพนี้เป็นที่ต้องการของตลาดธุรกิจการบินที่เปิดรับสมัครตลอดปี และเรามีความสุขทุกครั้งที่ได้สอน แนะนำความรู้ และแชร์ประสบการณ์การทำงานของเราให้กับนักศึกษา หรือคนรุ่นใหม่ที่มีความฝันเดียวกับเรา เลยตัดสินใจลาออก และศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการจัดการการบิน (เกีรตินิยม อันดับหนึ่ง เหรียญทอง) ทั้งนี้เพื่อพัฒนาความรู้ของตนเองและนำไปต่อยอดให้กับหลายคนที่อยากทำอาชีพนี้ค่ะ
จุดเด่นของ คณะ สาขา ที่นี่ มีอะไรบ้าง ?
และมีเทคนิคสู่การเป็นแอร์อย่างไรบ้าง
การเรียนกับตัวจริง สร้างประสบการณ์จริงให้แก่ผู้เรียนค่ะ ทางสาขามีหลากหลายศาสตร์ และทักษะในธุรกิจการบินหลายแขนง ไม่ใช่เพียงแต่เรียนเพื่อเป็นแอร์โฮสเตสเท่านั้นนะคะ แต่ยังมีวิชาของการเรียนเพื่อเป็นพนักงานในการบริการภาคพื้น เช่น Check-In มีการเรียนการสอนในการออกตั๋ว โดยใช้โปรแกรม Amadeus, วิชา Cargo หรือ การขนส่งทางอากาศ ส่วนวิชาที่เรียนเตรียมความพร้อม เพื่อเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน วิชา In-flight Service การบริการผู้โดยสารบนเครื่องบิน การเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม ความปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นเหตุฉุกเฉินต่างๆ และการปฐมพยาบาลบนเครื่องบินเบื้องต้น ส่วนของการสมัครงานเพื่อเป็น แอร์-สจ๊วต จะมีการสอนในการแต่งหน้า-การแต่งกายเพื่อไปสมัครงาน การจำลองการสัมภาษณ์งานตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ การเขียน CV / Resume นอกจากนี้ยังมีการจัดโครงการติวแอร์เข้มให้ฟรี รวมถึงการจัดวัดทักษะทางภาษา เพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าทักษะของตนอยู่ในระดับใดและควรพัฒนาต่ออย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
*อยากเป็นแอร์โฮสเตส แต่ไม่เก่งภาษา
คณะนี้มีสอนด้านภาษาเพิ่มเติมไหม ?
การไม่เก่งภาษา ไม่ใช่ปัญหาเลยค่ะ เพราะภาษาคือสิ่งที่เราสามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ ตัวอาจารย์เองเคยมีปัญหาทางภาษามาก่อน แต่ฝึกฝนและพูดบ่อยๆ กับเพื่อนต่างชาติ ดูหนัง Sound track ฟังเพลง และดูข่าวต่างประเทศ เพื่อฝึกทักษะการฟัง นอกจากนี้ทางสาขา ของเรามีการส่งเสริมการเรียนภาษากับตัวจริงทางด้านภาษาอังกฤษ กับอาจารย์ ต่างชาติ กว่า 5 รายวิชา รวมถึงมีโครงการ แคมเปญที่ได้เรียนกับเจ้าของภาษา เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนด้วยค่ะ
อยากให้อาจารย์พูดถึง
“โครงการฝึกงานได้งาน”
จุดเริ่มต้นของโครงการนี้ เริ่มมาได้ 2 ภาคการศึกษา ทางวิทยาลัยฯ ได้เปิด 2 หลักสูตรสำคัญในสาขาวิชาธุรกิจการบิน ได้แก่ หลักสูตรการบริการผู้โดยสารบนเครื่องบิน (In-flight Service) และการบริการภาคพื้น (Ground Service Officer) โดยแบ่งเป็นหลักสูตร ปริญญาตรี หลักสูตร 3 ปีครึ่ง และ 4 ปี โดยทางสาขาฯ มุ่งเน้นการเสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรอบรู้ในศาสตร์แขนงต่างๆ ของธุรกิจการบิน ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้นักศึกษาออกฝึกงานกับสถานประกอบการณ์ในสายงานธุรกิจการบิน ส่งผลให้นักศึกษาของเรามีความพร้อมและสามารทำงานได้ทันทีหลังจบการศึกษา ปัจจุบันนักศึกษาสาขาวิชาธุรกิจการบินเริ่มมีรายได้ตั้งแต่ฝึกงาน ในโครงการฝึกงานได้เงิน ทั้งยังมีสายการบินและธุรกิจการบินรอตอบรับนักศึกษาที่เรียนจบ เข้าทำงานทันทีกับโครงการฝึกงานได้งาน นอกจากนี้ทางสาขาฯ ยังมีหลักสูตรเร่งลัดในการ อัพสกิล รีสกิล ที่ช่วยเพิ่มและพัฒนาทักษะสำคัญอื่นๆ ในธุรกิจการบิน เพื่อป้อนบุคลากรให้ทันต่อความต้องการของตลาดอีกด้วย ปัจจุบันนักศึกษาของเราเข้าโครงการฝึกงานได้งาน หากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ อยู่ราวๆกว่า 15% ส่วนใหญ่ทำงานกับบริษัทการบริการภาคพื้นค่ะ
*อยากเป็น
Flight Attendance
ต้องเริ่มต้นอย่างไร?
เริ่มจากการเตรียมความพร้อมทางด้านทักษะภาษา ร่างกาย บุคลิกภาพทั้งภายนอกและภายใน รวมถึงจิตใจค่ะ ใจต้องสู้นะคะ เพราะเป็นอาชีพที่คู่แข่งเยอะ ค่าตอบแทนสูง สวัสดิการดี ไลฟ์สไตล์ที่โดดเด่น เพื่อนของอาจารย์บางคน สมัครอยู่ 5-6 ปี บางคนลองผิดลองถูกเอง สมัครกว่า 30-40 ครั้ง อันนี้ไม่เกินจิงเลยค่ะ แต่บางคนสมัครสายการบินที่ตรงสเปคของเขา บางทีครั้งเดียวได้เลยก็มี อย่างเช่นอาจารย์เป็นต้น (หัวเราะ) อันนี้ไม่ได้ขิงนะคะ ถ้าเราไปถูกที่ ถูกเวลา โอกาสก็จะเป็นของเรา ต้องศึกษาข้อมูลสายการบินที่เราสนใจ ว่าสายการบินต้องการคนลักษณะใด ลักษณะเฉพาะอย่างไร ที่สำคัญต้องหาที่ปรึกษาดีๆ
ที่คอยช่วยให้คำแนะนำเราค่ะ เราจะได้ไปสายการบินที่เหมาะกับเรา ไม่ตุ๊บ ไม่แห้วค่ะ
>>ทักษะที่สำคัญ<<
ที่สุดของสายงานนี้
ทักษะสำคัญหลักๆ ของสายงานนี้ต้องมี 7 ข้อนี้เป็นขั้นพื้นฐานเลยค่ะ 1. มีใจรักการบริการ Service mind ถือเป็นคุณสมบัติสำคัญและหัวใจของคนที่ทำงานด้านบริการทุกสายงาน เพราะพนักงานต้อนรับเป็นเสมือนตัวแทนของสายการบินนั้นๆ แอร์โฮสเตสต้องสามารถแสดงถึงความจริงใจ ความตั้งใจ สามารถตอบคำถามหรือแก้ปัญหาให้ผู้โดยสารจากหลากเชื้อชาติหลายวัฒนธรรม เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความพึงพอใจ ประทับใจ และมีความสุขกับการเดินทางและบริการค่ะ 2.แต่งกายเป๊ะ บุคลิกสง่า มาพร้อมความมั่นใจ 3. ช่างสังเกตและใส่ใจ 4. เรียนรู้เร็ว ไหวพริบดี ปรับตัวได้ง่าย 5. พร้อมทำงานเป็นทีม 6. เปิดใจรับวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย 7. มีทักษะและความสามารถพิเศษ
เป็นแอร์โฮสเตสได้
ต้องสูงและสวยจริงหรือเปล่า ?
ไม่จำเป็นต้องสวยตามแบบของใครเลยค่ะ แค่เราสวยในแบบของเรา คือการมีบุคลิกภาพดี
ซึ่งจุดนี้เราสามารถพัฒนา ฝึกฝนกันได้ ส่วนเรื่องส่วนสูง ส่วนใหญ่จะกำหนดว่า ไม่ต่ำกว่า 160 ซม. เนื่องจากอุปกรณ์ฉุกเฉิน ด้านความปลอดภัย จะถูกเก็บในช่องเก็บสัมภาระเหนือศรีษะ ซึ่งอยู่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว หากแอร์โฮสเตสมีส่วนสูงไม่ถึง หรือไม่สามารถเอื้อมถึงอุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉิน อาจเป็นอุปสรรค์ในการช่วยชีวิตผู้โดยสารในกรณีฉุกเฉินได้ค่ะ
"ฝากถึง น้องๆ มัธยมปลายที่มีความใฝ่ฝัน"
<<< อยากทำอาชีพในสายงานบริการ >>>
น้องๆ ชั้นมัธยมศึกษาที่มีความฝันเดียวกับอาจารย์ อาจารย์อยากเป็นกำลังใจให้ และอยากให้ทุกคนเดินตามความฝันของตัวเอง ถ้าอาจารย์เป็นแอร์ได้ ทุกคนก็สามารถทำได้เช่นกัน ทุกอย่างอยู่ที่ความตั้งใจและการฝึกฝนของเราเอง ยิ่งเรามีผู้ให้คำปรึกษาจากตัวจริงที่เคยอยู่ในสายงานนี้มาก่อน อาชีพนี้ไม่ไกลเกินเอื้อมค่ะ ซึ่งทางสาขาของเรา Airline Business ม.ศรีปทุม เรียนครบทุกด้านในสายธุรกิจการบิน อยากเป็นแอร์ต้องได้เป็น อยากทำกราวด์ก็ต้องได้ทำ เพราะเราเรียนกับตัวจริง สร้างประสบการณ์จริง และทางสาขามีการพานักศึกษาไปศึกษาดูงานต่างประเทศ เพื่อเพิ่มประสบการณ์จริงและเปิดโลกทัศน์ ให้มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ