คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นหนึ่งในคณะวิชาที่มีปณิธานที่จะพัฒนานักศึกษาให้มีความโดดเด่นทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ที่นำไปสู่การสร้างความสำเร็จในแบบฉบับที่เป็นตัวตนของนักศึกษา ภายใต้คำกล่าว “Make IT Your Way: สร้างความสำเร็จในแบบฉบับที่เป็นคุณ” ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า พวกเราทุกคนก้าวสู่ยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีใหม่และนวัตกรรมดิจิทัลที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคมของประเทศไปสู่การเป็นประเทศในรูปแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ...
+ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมวิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ สาขาวิชาธุรกิจการบิน ...
มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอแสดงความยินดีกับทีมนักศึกษาจากสาขาวิศวกรรมระบบราง ...
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เน้นการเตรียมบัณฑิตให้รองรับงานเทคโนโลยีสารสนเทศในส่วนของธุรกิจในทุกภาคส่วนที่จำเป็นต้องมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทางสาขามีความมุ่งมั่นจะสร้างบุคลากรที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและภาคปฏิบัติควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อรองรับความต้องการขององค์กร และผู้ใช้งานในองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สาขามีความมุ่งมั่นที่จะสร้างบุคลากรที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและภาคปฏิบัติควบคู่กันไป เพื่อรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และผู้ใช้งานในองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศ
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เน้นการเตรียมบัณฑิตให้รองรับงานเทคโนโลยีสารสนเทศในส่วนของธุรกิจในทุกภาคส่วนที่จำเป็นต้องมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทางสาขามีความมุ่งมั่นจะสร้างบุคลากรที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและภาคปฏิบัติควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อรองรับความต้องการขององค์กร และผู้ใช้งานในองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สาขามีความมุ่งมั่นจะสร้างบุคลากรที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและภาคปฏิบัติควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อรองรับความต้องการขององค์กร และผู้ใช้งานในองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ศึกษาพื้นฐานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ของระบบคอมพิวเตอร์ โดยเน้นการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ทั้งส่วนอุปกรณ์ (Hardware) และส่วนชุดคำสั่ง (Software) ที่ใช้ในกิจการประมวลข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ผู้สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชานี้สามารถทำงานเป็นนักออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ เป็นวิศวกรส่วนชุดคำสั่งที่สามารถพัฒนาชุดคำสั่งระบบและชุดคำสั่งประยุกต์ใช้งานและเป็นฝ่ายสนับสนุนเทคนิคแก่องค์กรที่นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการปฏิบัติงาน
หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ออกแบบพัฒนาระบบซอฟต์แวร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้ล้ำหน้า นำเทรนด์ความรู้ด้าน Artificial Intelligence of Things (AIoT) และเน้นการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทั้งส่วนอุปกรณ์ (Hardware),ส่วนชุดคำสั่ง (Software) และปัญญาประดิษฐ์(AI) พัฒนาออกแบบระบบที่รองรับเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) ครอบคลุมทั้งระบบ เช่น การออกแบบอุปกรณ์ IoT การเชื่อมต่อเครือข่าย การจัดเก็บข้อมูลแบบทันเวลา(time series database) ระบบการตัดสินใจ ได้ฝึกมือในห้อง Maker Space สู่การทำงานจริงกับ Partner สมาคมไทยไอโอทีและองค์กรชั้นนำ
เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ออกแบบพัฒนาระบบซอฟต์แวร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้ล้ำหน้า นำเทรนด์ความรู้ด้าน Artificial Intelligence of Things (AIoT) และเน้นการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทั้งส่วนอุปกรณ์ (Hardware),ส่วนชุดคำสั่ง (Software) และปัญญาประดิษฐ์(AI) พัฒนาออกแบบระบบที่รองรับเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) ครอบคลุมทั้งระบบ เช่น การออกแบบอุปกรณ์ IoT การเชื่อมต่อเครือข่าย การจัดเก็บข้อมูลแบบทันเวลา(time series database) ระบบการตัดสินใจ ได้ฝึกมือในห้อง Maker Space สู่การทำงานจริงกับ Partner สมาคมไทยไอโอทีและองค์กรชั้นนำ
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์ (CSI) ได้รับการออกแบบมาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Full Stack ซึ่งปัจจุบัน การขับเคลื่อนธุรกิจในยุคดิจิทัล มีความต้องการใช้งานซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันและดิจิทัลแพลตฟอร์มที่สามารถทำงานแบบฉลาด (Smart) เช่น ระบบการซื้อ-ขายอัจฉริยะ ที่สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมความต้องการของลูกค้า (Customer Insight) สามารถคาดการณ์ ทำนาย ความต้องการใหม่ๆ และยอดขายในอนาคตได้
นอกจากนี้ ธุรกิจใหม่ที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ปัญญาประดิษฐ์ บล็อกเชน ในรูปแบบสกุลเงินดิจิทัล (คริปโตเคอเรนซี) การลงทุนแบบใหม่ เช่น DeFi, NFT, Metaverse ล้วนต้องการความสามารถของนักพัฒนาซอฟต์แวร์สมัยใหม่ที่มีความสามารถทั้งด้านการวิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจ การออกแบบการใช้งานซอฟต์แวร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (Front-end) และการพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนติดต่อการทำงานกับระบบสนับสนุนต่างๆ เช่น ระบบฐานข้อมูล ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ระบบคลาวด์ อาจเรียกได้ว่า นักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Full Stack ในแบบ “เขียน ครบ จบในคนเดียว”
ปัจจุบัน ทั้งภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมดิจิทัล มีความต้องการบุคลากรในตำแหน่งงาน นักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Full Stack เป็นจำนวนมาก สาขาวิชา “วิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์” จึงเป็นหลักสูตรที่ตอบโจทย์ความต้องการผลิตบุคลากร สายการพัฒนาซอฟต์แวร์ของประเทศ โดยผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาทั้งองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม ทั้งวิทยากร และสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกับตัวจริงประสบการณ์จริง
1. หลักสูตร CSI เน้นการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Full Stack “เขียน ครบ จบในคนเดียว” ซึ่งมีความทันสมัยและอุตสาหกรรมดิจิทัลของประเทศมีความต้องการบุคคลากรในสายงานนี้สูงมาก
2. หลักสูตร CSI ได้เสริมทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล A B C D I
A: AI (Artificial Intelligence)
B: Block chain
C: Cloud Computing
D: Big Data
I: IoT (Internet of Things)
เป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำเทคโนโลยีไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์ (CSI) ได้รับการออกแบบมาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Full Stack ซึ่งปัจจุบัน การขับเคลื่อนธุรกิจในยุคดิจิทัล มีความต้องการใช้งานซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันและดิจิทัลแพลตฟอร์มที่สามารถทำงานแบบฉลาด (Smart) เช่น ระบบการซื้อ-ขายอัจฉริยะ ที่สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมความต้องการของลูกค้า (Customer Insight) สามารถคาดการณ์ ทำนาย ความต้องการใหม่ๆ และยอดขายในอนาคตได้
นอกจากนี้ ธุรกิจใหม่ที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ปัญญาประดิษฐ์ บล็อกเชน ในรูปแบบสกุลเงินดิจิทัล (คริปโตเคอเรนซี) การลงทุนแบบใหม่ เช่น DeFi, NFT, Metaverse ล้วนต้องการความสามารถของนักพัฒนาซอฟต์แวร์สมัยใหม่ที่มีความสามารถทั้งด้านการวิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจ การออกแบบการใช้งานซอฟต์แวร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (Front-end) และการพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนติดต่อการทำงานกับระบบสนับสนุนต่างๆ เช่น ระบบฐานข้อมูล ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ระบบคลาวด์ อาจเรียกได้ว่า นักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Full Stack ในแบบ “เขียน ครบ จบในคนเดียว”
ปัจจุบัน ทั้งภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมดิจิทัล มีความต้องการบุคลากรในตำแหน่งงาน นักพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นจำนวนมาก สาขาวิชา “วิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์” จึงเป็นหลักสูตรที่ตอบโจทย์ความต้องการผลิตบุคลากร สายการพัฒนาซอฟต์แวร์ของประเทศ โดยผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาทั้งองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม ทั้งวิทยากร และสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกับตัวจริงประสบการณ์จริง
ต่อที่ 2 ลดดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี (จากปกติ 1% ต่อปี)