กทม.
ชลบุรี
ขอนแก่น
International
ไทย
EN
中文
สมัครเรียน
ปริญญาตรี 2568
คณะ/สาขาที่เปิดรับ
ค่าเทอม
ทุนการศึกษา
กองทุนกู้ยืมฯ
วิธีสมัครเรียน
สมัครเรียนเพื่อรับทุน
การเดินทาง
นโยบายความเสมอภาค
ปริญญาโท-เอก 2567
สมัครเรียนออนไลน์
หลักสูตรที่เปิดสอน
ค่าเล่าเรียน
วิธีสมัครเรียน
ทุนการศึกษา
การเดินทาง
International College
British College
คณะและหลักสูตร
British College
คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ
วิทยาลัยการบินและคมนาคม
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ
คณะศิลปศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจ
วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
คณะบัญชี
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะดิจิทัลมีเดีย
คณะนิติศาสตร์
Sripatum International College
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ
นักศึกษา
ผู้ปกครอง
e-Staff
Toggle navigation
สมัครเรียน
Brochure Dek65
รู้จักคณะ
ข่าว/กิจกรรม
ผลงานและรางวัล
เครือข่าย
Show Case
ติดต่อคณะ
คุยกับคณบดี
SHOW CASE
หน้าแรก
SHOW CASE
เจาะไอเดีย #DekSE เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ปั้นโปรเจกต์ ‘ลานผัก’ แก้ปัญหาเกษตรกร
เจาะไอเดีย #DekSE
เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
ปั้นโปรเจกต์
‘
ลานผัก
’ แก้ปัญหาเกษตรกร
---------------
การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจเติบโตได้ในยุคที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน
เช่นเดียวกับ
ชลิตา หวานซึ้ง สุพิชญา ทองมา ภูริชญา จันทรวงศ์ และ อธิญากรณ์ ท่อนทอง
นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่คิดค้นโครงงานพัฒนาธุรกิจจำหน่ายผักภายใต้แบรนด์
“ลานผัก”
จนสามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการประกวดโครงงานเพื่อพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตอุดมคติไทยในบริบทใหม่ ประจำปี 2567
มหาวิทยาลัยศรีปทุม มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ สอดคล้องกับรูปแบบการพัฒนาบัณฑิตพันธุ์ใหม่ผสมผสานสัดส่วนวิชาการและวิชาชีพ คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ จึงส่งเสริมให้กับผู้เรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์พัฒนาโครงงานและการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มผลลัพธ์ที่มากยิ่งขึ้นบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม
จุดเริ่มต้นของโปรเจกต์
“ลานผัก”
เริ่มจากครอบครัวของ กั๊ง-ชลิตา ประกอบธุรกิจโรงงานตัดแต่งผักอยู่แล้ว ช่วงฝึกงานได้มีโอกาสลงพื้นที่กับเกษตรกร จึงพบว่าเกษตรกรกำลังเผชิญปัญหาการกระจายสินค้า เนื่องจากการแข่งขันด้านราคา นำมาสู่การคิดค้นใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างรถ และแอปพลิเคชันเพื่อช่วยเกษตรกรแก้ปัญหา
แพลตฟอร์มนี้จะช่วยในการคาดคะเนการปลูกผัก การจัดการต้นทุนกำไร และการทำบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของประชากรในพื้นที่สูง ผ่านรูปแบบธุรกิจแบบเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) การจัดการต้นทุนกำไร และการทำบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของประชากรในพื้นที่สูง ผ่านรูปแบบธุรกิจแบบเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy)
“
เราพัฒนาโครงการลานผักมาอย่างต่อเนื่องโดยยึดหลักตามกระบวนการ
Design Thinking
ที่อาจารย์สอนในชั้นเรียน ซึ่งการที่เราได้ลงมือทำด้วยตัวเองเป็นเรื่องที่ดีมาก ทำให้เราได้มองเห็นภาพการทำธุรกิจได้ชัดมากขึ้น ได้เรียนรู้การแก้ปัญหาที่มีเข้ามาทุกวัน เราเชื่อว่ากระบวนการคิดวิเคราะห์จากการทำโครงงานครั้งนี้จะนำไปใช้ต่อยอดกับการประกอบธุรกิจในอนาคตได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ
”
ดร.พีรยา สุขกิจเจ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า โปรเจกต์ลานผักมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่นักศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 ซึ่งเด็กๆ มีอินเนอร์อยู่ในตัวอยู่แล้ว เพราะเขาเห็นถึงสภาพปัญหาของเกษตรกรในชุมชนบ้านเกิดของตนเอง จึงมีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือคนในชุมชน
“อาจารย์ในคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจจะทำหน้าที่เป็นโค้ช ซึ่งแต่ละท่านจะมีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตลาด เทคโนโลยี การเงิน ฯลฯ หน้าที่หลักของโค้ชคือต้องอ่านโปรเจกต์ของนักศึกษาให้ขาด ดูว่าเขาจะไปในทิศทางใด แล้วคอยแนะนำเขาให้ไปถึงในแนวทางที่ตั้งใจ”
ดร.พีรยา กล่าวว่า สิ่งที่นักศึกษาได้รับจากการทำโครงการนี้ คือ ทำให้นักศึกษาได้ประสบการณ์จากการทดลองผิดทดลองถูก ได้ทักษะการทำงานแบบเป็นระบบ ประยุกต์การวิจัยทางการตลาด การเริ่มต้นธุรกิจ ได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะ soft skills ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตและการทำงานในอนาคต
0
SHARES