USR หรือ University Social Responsibility คือความรับผิดชอบต่อสังคมอุดมศึกษา ได้กำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก โดยแนวคิดและเจตนารมณ์ของ ผศ.ดร.จรรยา พุคยาภรณ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งมีหลักการสำคัญคือ ผูกพันด้วยความดี (Goodwill Commitment) โยงใยด้วยใจ (Bridging with Heart) และแบ่งบันไร้พรมแดน (Sharing beyond Border)
กลยุทธ์ของ USR คือ การดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาคนให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนการปลูกจิตสำนึกหรือ DNA ให้ชาวมหาวิทยาลัยแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบต่อสังคม ผ่านหลักสูตรการศึกษาที่จะเรียนรู้ถึงต้นเหตุของปัญหาที่คนในสังคมประสบ และเปิดโกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ศักยภาพและความสามารถของตน รวมทั้ง การรู้จักเป็นผู้ให้ ผู้เสียสละและผู้แบ่งบันให้เพื่อนๆ ร่วมสังคมโดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ไม่แบ่งแยกศาสนา และไม่แบ่งแยกพรมแดน
หลักการทำงาน
1. ดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับสัมมาอาชีวะ
2. มีความเข้าใจชัดเจนในความหมายของ USR
3. การทำงานทำด้วยกัลยาณมิตร
4. มีเทคนิคบริหารโครงการ
5. กิจกรรมที่สร้างนวตกรรม
6. แผนการสื่อสารที่มิใช่การโฆษณา
7. ความต่อเนื่อง
8. การทำงานอย่างโปร่งใส
9. ทำงานเป็นทีม ที่ทุกคนเคารพซึ่งกันและกัน
10. สนุกกับการทำงาน
: ผูกพันด้วยความดี :
>>>ความดีก่อให้เกิดความผูกพันระหว่างคนทำดีด้วยกัน เมื่อมีคนผูกพันด้วยความดีมากขึ้น สังคมก็จะเปลี่ยนไปในทางที่ดี
: โยงใยด้วยใจ :
>>>ความจริงใจ คือการใช้ชีวิตอย่างไม่เสแสร้ง หรือหลอกลวง เมื่อทำสิ่งใดด้วยใจก็จะเกิดการช่วยหลือและเข้าใจกันและกัน ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จ
: แบ่งปันไร้พรมแดน :
>>>คนเราต้องรู้จักการให้บ้างไม่ใช่รับฝ่ายเดียว การให้โดยการแบ่งปันไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะวัตถุ หรือเงินทอง แต่สามารถแบ่งปันเวลา ความรู้ ความสามารถ เราสามารถแบ่งปันได้โดยไม่เลือกชนชั้นพวกพ้อง หรือสัญชาติ