แนะนำหน่วยงาน


บริการประกันอุบัติเหตุ
1. การประกันอุบัติเหตุของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
1.1> นักศึกษาในระดับปริญญาตรีทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ (เสาร์-อาทิตย์) รวมถึงนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาภาคปกติ  และภาคพิเศษ  จะได้รับความคุ้มครองโดยจะเริ่มมีผลทันทีที่ลงทะเบียนเรียนและชำระค่าประกันอุบัติเหตุ
1.2> ถ้าในกรณีพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา กรมธรรม์ประกันภัยนี้จะไม่คืนเบี้ยประกันภัยให้  โดยจะให้ความคุ้มครองจนสิ้นสุดระยะเวลาเอาประกันภัย
1.3> จำนวนเงินเอาประกันภัยคนละ  200,000.-บาท  ค่ารักษาพยาบาลคนละ 20,000.- บาท ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง
1.4> นักศึกษาจะได้รับบัตรประกันฯ เพื่อนำบัตรไปยื่นต่อสถานพยาบาลที่ทำข้อตกลงเมื่อเข้ารักษาโดยไม่ต้องสำรองจ่ายเงิน
1.5> กรณีไม่มีบัตรประกันฯไปยื่นต่อสถานพยาบาล ให้นักศึกษาสำรองจ่ายแล้วมายื่นเรื่องขอเบิกเงินคืนในภายหลัง
2.  ขั้นตอนการขอรับเงินคืน กรณีสำรองจ่าย (งานประกันอุบัติเหตุ อาคาร 10 ชั้น 5 ห้อง 501)
2.1> นักศึกษาขอแบบฟอร์มใบเรียกร้องค่าทดแทนเนื่องจากอุบัติเหตุ รับได้ที่งานประกัน 
2.2> นักศึกษา ยื่นเอกสารประกอบการเบิกที่ งานประกันอุบัติเหตุ
2.3> นักศึกษาลงชื่อไว้เป็นหลักฐานเมื่อมาส่งเอกสารประกอบการเบิก
2.4> รอรับเงินค่าสินไหมประกันอุบัติเหตุคืนเข้าบัญชีธนาคาร ประมาณ 20 วัน
3.  เอกสารที่ใช้ประกอบการเบิกค่ารักษาพยาบาลอุบัติเหตุทั่วไป(กรณีสำรองจ่าย)
3.1> แบบฟอร์มใบเรียกร้องค่าทดแทนเนื่องจากอุบัติเหตุ
3.2> ใบรับรองแพทย์ตัวจริง
3.3> สำเนาบัตรประชาชน
3.4> สำเนาหน้าบัญชีธนาคารใดก็ได้
3.5> กรณีอุบัติเหตุจราจร (แบบบันทึกประจำวันตำรวจ ถ้าแจ้งความ)
3.6> กรณีถูกทำร้ายร่างกาย (ต้องมีบันทึกประจำวันตำรวจ)
4.  สิทธิในการเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย
4.1> ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นบุตรธิดาของข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานของ เอกชน (ยกเว้นมหาวิทยาลัยศรีปทุม) ซึ่งมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลจากต้นสังกัดของตน เมื่อได้ใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล และได้รับเงินรักษาพยาบาลที่ได้จ่ายไปแล้วจากต้นสังกัดของตนจะไม่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทได้อีกเว้นแต่เงินค่ารักษา พยาบาลที่ได้รับนั้นไม่คุ้มกับค่ารักษาพยาบาลที่ได้จ่ายไปจริงโดยบริษัทจะชดใช้ส่วนที่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รับแต่สูงสุดไม่เกินจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง
4.2> ในกรณีที่บุคคลภายนอกทำละเมิดและมีผลให้ผู้เอาประกันภัยได้รับบาดเจ็บ เมื่อผู้กระทำละเมิดได้ชดใช้ค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียจะไม่มีสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจำนวนนี้จากบริษัท เว้นแต่เงินค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นไม่คุ้มกับค่ารักษาพยาบาล ที่ได้จ่ายไปจริง โดยบริษัทจะชดใช้ส่วนที่ผู้เอาประกันภัยยังไม่ได้รับ แต่สูงสุดไม่เกินจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาล ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งที่ได้ซื้อประกันภัยไว้
4.3> ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยจำเป็นต้องรับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้น ให้ถือว่าค่ารักษา พยาบาลที่ผู้เอาประกันภัยได้จ่ายไปแต่ละครั้งเป็นค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุครั้งเดียวกันและมีสิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาลรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งที่ได้ทำประกันภัยไว้นอกเหนือจากการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามผลประโยชน์พื้นฐานแล้ว  ผู้รับประโยชน์มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนผู้เอาประกันภัยได้ด้วย
4.4> ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากต้นสังกัดหรือจากต้นสังกัดของบิดามารดา หรือจากบุคคลภายนอกผู้ทำละเมิดแล้ว  แต่เงินค่ารักษาพยาบาลนั้นไม่คุ้มกับค่ารักษาพยาบาลที่ได้จ่ายไปจริง และผู้เอาประกันภัยต้องการจะเรียกให้บริษัทชดใช้ค่ารักษาพยาบาลส่วนที่ผู้เอาประกันไม่ได้รับ ซึ่งสูงสุดไม่เกินจำนวนค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งที่ได้ซื้อประกันภัยไว้   ผู้เอาประกันภัยจะต้องแสดงหลักฐานรับรองการได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากต้นสังกัด หรือจากต้นสังกัดของบิดามารดา หรือจากผู้ทำละเมิดแทนใบเสร็จรับเงินตัวจริง  ซึ่งได้ใช้เบิกจ่ายเงินไปแล้วก็ได้
5.  การปฏิบัติในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเฉพาะกรณีสูญเสียอวัยวะและสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
5.1> ให้ผู้รับประโยชน์หรือทายาทของผู้เอาประกันภัยแจ้งให้บริษัทและมหาวิทยาลัยทราบโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้
5.2> ให้ผู้รับประโยชน์หรือทายาทของผู้เอาประกันภัย รวบรวมเอกสารต่อไปนี้
ก.) หลักฐานทางการแพทย์  เช่น  ใบรับรองแพทย์  ฟิล์มเอกซเรย์  และผลการรักษา
ข.) กรณีสูญเสียอวัยวะให้ถ่ายรูปอวัยวะส่วนที่สูญเสีย และถ่ายรูปเต็มตัวของผู้เอาประกันภัยมาด้วย
ค.) สำเนาบัตรประชาชน และ สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เอาประกันภัย
ง.) หนังสือ หรือ คำรับรองของมหาวิทยาลัย
จ.) สำเนาบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ถ้ามี)
6.  การปฏิบัติในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน กรณีเสียชีวิต 
6.1> ให้ผู้รับประโยชน์หรือทายาทของผู้เอาประกันภัยแจ้งให้บริษัทและมหาวิทยาลัยทราบโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้
6.2> ให้ผู้รับประโยชน์หรือทายาทของผู้เอาประกันภัยรวบรวมเอกสารต่อไปนี้
ก.) แบบฟอร์มใบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
ข.) สำเนาใบชันสูตรพลิกศพทั้งด้านหน้าและหลัง (รับรองสำเนาถูกต้องโดยหน่วยงานที่ออกให้)
ค.) สำเนาใบรายงานการผ่าศพ (รับรองสำเนาถูกต้องโดยหน่วยงานที่ออกให้) กรณีมีการผ่าศพพิสูจน์
ง.) สำเนาใบรับรองการเสียชีวิตหรือหนังสือรับรองการตาย (รับรองสำเนาถูกต้องโดยหน่วยงานที่ออกให้) ถ้ามี
จ.) สำเนาใบแจ้งความ และ/หรือ สำเนาบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ(รับรองสำเนาถูกต้องโดยหน่วยงานที่ออกให้)
ฉ.) สำเนาใบมรณะบัตรของผู้เอาประกันภัย (รับรองสำเนาถูกต้องโดยหน่วยงานที่ออกให้)
ช.) สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัย และผู้รับประโยชน์ (รับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้รับประโยชน์)
ซ.) สำเนาใบทะเบียนสมรส (บิดา-มารดา, สามี-ภรรยา)
ฌ.) หนังสือรับรองสถานะโสดของผู้เอาประกันภัยและเอกสารพยาน (แบบฟอร์มตัวอย่างจาก มหาวิทยาลัย)
ญ.) หนังสือรับรองบิดา-มารดาหรือคู่สมรส ไม่ได้จดทะเบียนสมรส (แบบฟอร์มตัวอย่างจาก มหาวิทยาลัย)
ฎ.) หนังสือรับรองบุคคล (กรณีใบมรณบัตรไม่ระบุเลขที่บัตรประชาชนบิดาหรือมารดา และอื่น ๆ)
มหาวิทยาลัยจะรวบรวมเอกสารต่างๆ  ส่งให้แก่ตัวแทนที่บริษัทส่งมาประสานงานกับมหาวิทยาลัย

 
ยื่นเอกสารและติดต่อสอบถาม ได้ที่ งานประกันอุบัติเหตุ
กลุ่มงงานกิจการนักศึกษา อาคาร 10-501
โทรศัพท์ 0 2579 1111 ต่อ 3177 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์  เวลา 09.00-16.30 น.