บริการ


UploadImage
 

การบ่มเพาะพัฒนาธุรกิจ (THE INCUBATION)

ด้านการบ่มเพาะพัฒนาธุรกิจ1

ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดเตรียมความพร้อมให้แก่ คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีปทุม รวมทั้งผู้ประกอบการภายนอก เพื่อกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป โดยการให้บริการมีดังนี้

1.1 การสร้างหลักสูตร การอบรมส่งเสริมความรู้ การเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ ให้คำปรึกษาการพัฒนาแผนการดำเนินงานโครงการด้านการบ่มเพาะธุรกิจแก่ผู้ประกอบการอย่างครบวงจรและต่อเนื่อง

1.2 ให้คำปรึกษาแนะนำในการเริ่มต้นธุรกิจ โดยดูแลเริ่มต้นตั้งแต่การสร้างแบรนด์ การออกแบบเครื่องหมายการค้า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท

1.3 การจัดโครงการฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะการดำเนินธุรกิจด้านต่าง ๆ ด้วยบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและมากประสบการณ์

1.4 การเปิดรับสมาชิกผู้ประกอบการ SPUBI โดยเปิดให้ผู้ประกอบการสมัครเป็นสมาชิก เข้ามารับคำปรึกษาแนะนำในการเริ่มต้นธุรกิจ ด้านการตลาด องค์การ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การผลิต การเงินการบัญชี การจับคู่ธุรกิจ การออกบูธแสดงสินค้า และจัดนิทรรศการ

1.5 อัพเดทสาระความรู้ บทความ และข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์

1.6 ศึกษาดูงาน ณ สถานประกอบการที่ประสบความสำเร็จ
 

เครือข่ายความร่วมมือทางธุรกิจ (Network Business)

Untitled

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)

ditplogo

Department of International Trade Promotin Ministry of Commerce, Royai Thai Government

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

Untitled-1

Office of the Higher Education Commission

เลขที่ 328 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

เบอร์โทรอัตโนมัติ 0 2610 5200 โทรสาร. 0 2354 5524-6

Email : pr_mua@mua.go.th

สมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย

1.11.12_LOGO_Thai BISPA_1

Thai Business Incubators and Science Parks Association หรือเรียกชื่อย่อว่า “Thai-BISPA”

131 อาคารกลุ่มนวัตกรรม 1 ชั้น 3 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

Email: info@thaibispa.or.th

Tel.: 02-564-7000 #5300 , 02-564-7701

Fax.: 02-564-7701

www.facebook.com/THbispa

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

501

35 หมู่ 3 เทคโนธานี ถ.เลียบคลองห้า ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 ประเทศไทย

โทรศัพท์ 0 2577 9000 โทรสาร 0 2577 9009 Call Center 0 2577 9300

tistr@tistr.or.th

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

logo_tcg120x120

Thai Credit Guarantee Corporation (TCG)

อาคารชาญอิสสระทาวเวอร์ 2 ชั้น 16-18 เลขที่ 2922/243 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ 10310 ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ : 0-2890-9999

โทรศัพท์ : 0-2890-9988

โทรสาร : 0-2890-9900, 0-2890-9800

E-mail : info@tcg.or.th

เครือข่ายหน่วยบ่มเพาะวิสากิจ เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน 14 แห่ง

Untitled-1

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (แม่ข่าย)
2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
4. มหาวิทยาลัยศรีปทุม
5. มหาวิทยาลัยรามคำแหง
6. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
7. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
8. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
9. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
10. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
11. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
12. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
13. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
14. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

เอกสารความรู้ด้านธุรกิจ

 โครงการ ระยะเวลาการจัดกิจกรรม หน่วยงานสนับสนุน
————————————————— ————- —————————————-
1 โครงการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ปี 2558  24-25 พ.ย. 58 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
   ————————————————–  ————  —————————————-
2 โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (New Entrepreneurs Creation: NEC) ปีงบประมาณ 2559 7 ก.พ. ถึง 9 เม.ย. 59  สำนักพัฒนาผู้ประกอบการ (สพก.) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
   ————————————————–  ————  —————————————-
3 โครงการพัฒนาและสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประจำปี 2559   กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
  3.1 กิจกรรมเตรียมความพร้อม “DITP AEC CLUB Business Matching and Networking” 1 ก.ค. 59
 

การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา (IP)

ip

ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจมหาวิทยาลัยศรีปทุม ส่งเสริมและผลักดันให้นำผลงานวิจัยหรือองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยในด้านต่าง ๆ พัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนเป็นหน่วยงานในการยื่นคำขอรับความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ทุกประเภท พร้อมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการตลาดให้กับผลงานวิจัยที่มีศักยภาพแก่คณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ อ้างถึงระเบียบมหาวิทยาลัยศรีปทุม เรื่อง การจัดตั้งและดำเนินงานศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2554 (99/2554) ประกาศ ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554 มีรายละเอียดที่ระบุในข้อ 10 การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและสิทธิประโยชน์ ดังนี้

Click ะเบียบมหาวิทยาลัยศรีปทุมเรื่องการจัดตั้งและดำเนินงานศูนย์บ่มเพาะธุรกิจมหาวิทยาลัยศรีปทุม

(1) ให้ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ดำเนินการยื่นคำขอรับความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภททั้งในประเทศและต่างประเทศ

(2) ให้ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ เป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการขอรับความคุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

(3) ให้ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ รับผิดชอบดำเนินการในการชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการักษาสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดอายุความคุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ ได้แก่ อายุสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตรหรือายุความคุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญาด้านอื่นๆ รวมทั้งกรณีที่มีพันธะร่วมกับภาคเอกชนที่ร่วมทุนตามบันทึกข้อตกลง

(4) ให้ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มีหน้าที่ดำเนินการปกป้องรักษาสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
 

บริการออนไลน์ (Online Service)

เครื่องหมายการค้า (Trademark)

เครื่องหมายการค้า

หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น
2. เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น
3. เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น
4. เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ ตามพิธีสารกรุงมาดริด (Madrid Protocol) 

ปัจจุบันผู้ประกอบการค้า ได้ใช้เครื่องหมายการค้าเป็นเครื่องมือนำทางการค้า ทั้งภายในประเทศและการส่งออกสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เจ้าของเครื่องหมายการค้าจึงมีความจำเป็นต้องจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองสิทธิในประเทศต่าง ๆ ก่อนส่งสินค้าไปจำหน่าย เพื่อป้องกันปัญหาการละเมิดเครื่องหมายการค้า และมิให้ผู้ใดนำเครื่องหมายการค้าของตนไปจดทะเบียนในต่างประเทศโดยมิได้เป็นเจ้าของ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้มีนโยบายในการส่งเสริมการให้บริการขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศด้วยความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย ด้วยการศึกษาแนวทางการเข้าเป็นภาคีพิธีสารกรุงมาดริด (Madrid Protocol)

หากประเทศไทย เข้าเป็นภาคีพิธีสารกรุงมาดริด ผู้ประกอบการหรือผู้ส่งออกของไทยก็จะได้รับประโยชน์ที่จะสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพื่อขอรับความคุ้มครองในประเทศต่าง ๆ ได้ หลายประเทศในคราวเดียวกัน โดยยื่นคำขอจดทะเบียนเพียงคำขอเดียว ใช้เพียงภาษาเดียว(อังกฤษ ฝรั่งเศส หรือสเปน) และเสียค่าธรรมเนียมเพียงครั้งเดียว ซึ่งก็จะทำให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วในการยื่นคำขอจดทะเบียน และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางอีกด้วย

 ขั้นตอนการจดทะเบียน
1. การยื่นคำขอ

ให้ยื่นต่อสำนักงานระหว่างประเทศ (International Bureau) ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) โดยยื่นผ่านสำนักงานทะเบียนต้นกำเนิดของประเทศผู้ขอ ซึ่งจะดำเนินการตรวจสอบและรับรองว่าเครื่องหมายที่ยื่น สินค้าและ/หรือบริการที่ระบุ เหมือนกับคำขอรากฐาน (Basic Application) หรือทะเบียนรากฐาน (Basic Registration)
คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จะนำไปยื่นขอจดทะเบียนระหว่างประเทศตามพิธีสารกรุงมาดริดได้นั้น ต้องเป็นคำขอที่มีการยื่นขอจดทะเบียน หรือได้รับการจดทะเบียนไว้แล้วในประเทศต้นกำเนิด

2. การจดทะเบียน

การจดทะเบียนแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นตอนระหว่างประเทศ เมื่อสำนักงานระหว่างประเทศได้รับคำขอจดทะเบียน จะดำเนินการตรวจสอบเบื้องต้น (Formal Examination) ในเรื่องความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของพิธีสารกรุงมาดริดและกฎข้อบังคับพิธีสารกรุงมาดริด (Common Regulations) การระบุจำพวกและรายการสินค้าและ/หรือบริการ ว่าเป็นไปตาม Nice Classification หรือไม่ รวมทั้งการชำระค่าธรรมเนียม หากมีข้อบกพร่อง สำนักงานระหว่างประเทศจะแจ้งไปยังประเทศที่มีการยื่นคำขอและผู้ยื่นคำขอ ทั้งนี้ ผู้ยื่นคำขอจะต้องแก้ไขภายใน 3 เดือน มิฉะนั้นจะถือว่าละทิ้งคำขอ

2. ขั้นตอนในประเทศ เมื่อประเทศภาคีที่ผู้ยื่นคำขอประสงค์จะได้รับความคุ้มครองได้รับคำขอแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบคำขอดังกล่าวตามขั้นตอนปกติที่ใช้สำหรับการตรวจสอบคำขอที่ยื่นในประเทศ โดยจะตรวจสอบเนื้อหาสาระ (Substantive Examination) โดยตรวจสอบตามกฎหมายภายในของตน เช่น ตรวจสอบความเหมือนคล้าย ลักษณะบ่งเฉพาะหรือลักษณะต้องห้าม เป็นต้น หากมีข้อบกพร่องต้องดำเนินการแก้ไขตามกฎหมายภายในของประเทศนั้น ๆ
หากมีเหตุที่ต้องปฏิเสธการรับจดทะเบียน จะต้องแจ้งให้สำนักงานระหว่างประเทศทราบภายในกำหนด 12 เดือน หรือ 18 เดือน หรือหลังจากนั้น (กรณีมีคำร้องคัดค้าน)มิฉะนั้นจะถือว่าเครื่องหมายดังกล่าวได้รับการจดทะเบียนในประเทศที่ขอจดทะเบียนนั้นแล้ว

วันจดทะเบียน มี 2 กรณี ดังนี้

1) คือวันยื่นคำขอจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนต้นกำเนิด หากคำขอดังกล่าวถึงสำนักงานระหว่างประเทศภายใน 2 เดือน

2) หากเกิน 2 เดือน ให้ถือวันที่สำนักงานระหว่างประเทศได้รับคำขอเป็นวันจดทะเบียน
อายุความคุ้มครอง 10 ปี นับตั้งแต่วันรับจดทะเบียน และต่ออายุได้อีกคราวละ 10 ปี การต่ออายุสามารถต่ออายุได้ก่อนวันสิ้นอายุ 6 เดือน หรือหลังสิ้นอายุแล้วภายใน 6 เดือนก็ได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มร้อยละ 50 ของค่าธรรมเนียมเบื้องต้น (Basic fee) ทั้งนี้ สามารถต่ออายุเฉพาะบางประเทศ หรือทุกประเทศที่ได้รับความคุ้มครองก็ได้

ค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศมี 4 ประเภท 

1) Basic fee เป็นค่าธรรมเนียมเบื้องต้นสำหรับการยื่นคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศหนึ่งคำขอ

- เครื่องหมายขาว-ดำ 653 สวิสฟรังค์
- เครื่องหมายที่เป็นสี 903 สวิสฟรังค์

2) Supplementary fee เป็นค่าธรรมเนียมสำหรับจำพวกสินค้าและ/หรือบริการ ที่ยื่นขอจดทะเบียนเกิน 3 จำพวก โดยเสียค่าธรรมเนียมตั้งแต่จำพวกที่ 4 ขึ้นไป จำพวกละ 73 สวิสฟรังค์
3) Complementary fee เป็นค่าธรรมเนียมสำหรับประเทศที่ระบุเพื่อขอจดทะเบียน ประเทศละ 73 สวิสฟรังค์
4) Individual fee เป็นค่าธรรมเนียมเฉพาะประเทศ
 

แบบฟอร์มเครื่องหมายการค้า

 file_1382642519

กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

Department of Intellectual Property

สายด่วน 1368
 
แบบฟอร์มและค่าธรรมเนียม
 

ลำดับ

แบบพิมพ์

ชื่อ

ค่าธรรมเนียม

.DOC

.PDF

ตัวอย่าง

1.

ก.01

คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ

เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วมสินค้าหรือบริการอย่างละ

500 บาท

2.

ก.02

- คำคัดค้านการขอจดทะเบียนตาม (1) ฉบับละ

1,000 บาท

- คำโต้แย้ง

ไม่มี

3.

ก.03

อุทธรณ์

ก) อุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 27
หรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนตามมาตรา 27 ฉบับละ

2,000 บาท

 
ข) อุทธรณ์ตามมาตราอื่น ฉบับละ

1,000 บาท

 

4.

ก.04

คำขอโอนหรือรับมรดกสิทธิในคำขอที่ยื่นจดทะเบียน และคำขอโอนหรือรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายที่จดทะเบียนแล้ว คำขอละ

1,000 บาท

5.

ก.05

คำขอจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ คำขอละ

500 บาท

 

6.

ก.06

- คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำขอจดทะเบียนตาม (1) (4) หรือ (5) คำขอละ

100 บาท

- คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม และสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ คำขอละ

200 บาท

- คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรอง

ก) ก่อนการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง คำขอละ

ข) หลังการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง คำขอละ

100 บาท

200 บาท

- คำขออื่นๆ คำขอละ

100 บาท

7.

ก.07

คำขอต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ
เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม สินค้าหรือบริการอย่างละ

1,000 บาท

 

8.

ก.08

- คำร้องขอต่อคณะกรรมการให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม ฉบับละ

500 บาท

 
- คำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ คำขอละ

200 บาท

9.

ก.09

- การขอตรวจดูทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ
เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม หรือสารบบเครื่องหมายดังกล่าว ชั่วโมงละ (เศษของชั่วโมงให้คิดเป็นหนึ่งชั่วโมง)

100 บาท

 
- การขอสำเนาทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม เป็นชุดพร้อมคำรับรอง ฉบับละ

200 บาท

 
- การขอคัดสำเนาเอกสาร หน้าละ

10 บาท

 

- การขอให้รับรองสำเนาเอกสารเรื่องเดียวกัน

ก) เอกสารไม่เกิน 10 หน้า ฉบับละ

ข) เอกสารเกิน 10 หน้า ฉบับละ

10 บาท

100 บาท

 
- การขอคำรับรองจากนายทะเบียนเกี่ยวกับรายการการจดทะเบียน ฉบับละ

50 บาท

 
- ใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ

100 บาท

 

10.

ก.10

คำขอถือสิทธิวันที่ยื่นคำขอนอกราชอาณาจักรครั้งแรกหรือวันที่นำสินค้าที่ใช้เครื่องหมายออกแสดงในงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศเป็นวันยื่นคำขอในราชอาณาจักรตามมาตรา 28 , 28 ทวิ

ไม่มี

11.

ก.11

ใบต่อแนบท้ายคำขอ

ไม่มี

 

12.

ก.12

หนังสือแสดงการปฏิเสธ

ไม่มี

13.

ก.13

หนังสือจดทะเบียนเครื่องหมายชุด

ไม่มี

14.

ก.14

หนังสือแจ้งฟ้องคดีต่อศาล คำพิพากษาและผลคดี

ไม่มี

 

15.

ก.15

หนังสือชี้แจงการถูกร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียน

ไม่มี

 

16.

ก.16

บัตรหมาย

ยกเลิก

 

17.

ก.17

หนังสือสัญญาโอน

ไม่มี

18.

ก.18

หนังสือมอบอำนาจ

ไม่มี

19.

ก.19

หนังสือขอผ่อนผันการส่งหลักฐาน

ไม่มี

20.

ก.20

หนังสือนำส่งเอกสารหลักฐานและคำชี้แจง

ไม่มี

21.

-

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม

สินค้าหรือบริการอย่างละ

300 บาท

 

 

 

22.

-

การจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ สัญญาละ

1,000 บาท

 

 

 

23.

-

แม่พิมพ์รูปเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วมที่มีด้านกว้างหรือด้านยาวเกิน 5 เซนติเมตร ให้คิดเฉพาะส่วนที่เกิน เศษของเซนติเมตรให้คิดเป็นหนึ่งเซนติเมตร เซนติเมตรละ

100 บาท

 

 

 

หมายเหตุ 

กรณีไม่สามารถพิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยได้ กรุณาดาวน์โหลด acrobat reader คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

ที่มา: 

1. กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534

2. ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง กำหนดแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง เครื่องหมายร่วมและคำขออื่น ฉบับลงวันที่19 กรกฎาคม พ.ศ. 2548

3. ระเบียบกรมทรัพย์สินทางปัญญาเรื่อง ให้ใช้แบบพิมพ์หนังสือและเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง เครื่องหมายร่วม และคำขออื่น พ.ศ. 2548 ฉบับลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2548

สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร (Patent/Petty Patent)
file_1382642519
กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
Department of Intellectual Property
สายด่วน 1368
 
 
  • สิทธิบัตร (Patent) 
หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด เป็นสิทธิพิเศษ ที่ให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้นหรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ มีสิทธิที่จะผลิตสินค้า จำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การประดิษฐ์ (Invention) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ ลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการรักษา หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น กลไกของเครื่องยนต์ ,ยารักษาโรค, ,วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป เป็นต้น
 
  • อนุสิทธิบัตร (Petty Patent)
คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น การขอรับความคุ้มครอง
 
  • สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร หรือ PCT
PCT ย่อมาจาก Patent Cooperation Treaty เป็นความตกลงระหว่างประเทศสำหรับการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศที่เป็นสมาชิก เพื่ออำนวยความสะดวก และลดภาระของผู้ขอรับสิทธิบัตร แทนที่จะต้องไปยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศต่าง ๆ แต่ละประเทศที่ผู้ขอประสงค์จะขอรับความคุ้มครอง โดยสามารถที่จะยื่นคำขอที่สำนักงานสิทธิบัตรภายในประเทศ ของตน สำนักงานสิทธิบัตรก็จะส่งคำขอไปดำเนินการตามขั้นตอนของระบบ PCTที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO)
ระบบ PCT นี้ไม่ได้เป็นระบบการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรที่จะส่งผลให้ประเทศที่เป็นสมาชิกต้องรับจดทะเบียนตามไปด้วย เนื่องจาก ระบบ PCT จะมีการดำเนินการในขั้นตอนต้น ๆ ของการขอรับสิทธิบัตรเท่านั้น ไม่มีการรับจดทะเบียนแต่อย่างใด การรับจดทะเบียนสิทธิบัตร PCT เป็นอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศที่ผู้ขอประสงค์จะขอความคุ้มครอง ซึ่งจะมีการตรวจสอบตามขั้นตอนและเงื่อนไขของกฎหมายภายในประเทศนั้น ๆ ก่อนรับจดทะเบียนสิทธิบัตรต่อไป ซึ่งประเทศไทยสมัครเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2552 ถือเป็นสมาชิกลำดับที่ 142
 
ตัวแทนสิทธิบัตร (Patent Agent)  
 ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน บาท
- ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 500
- ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 250
- ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 250
- คำขอแก้ไขเพิ่มเติม 50
- การประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร 250
- รับจดทะเบียนและประกาศโฆษณาอนุสิทธิบัตร 500
- คำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์(กรณีการประดิษฐ์) 250
- รับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตร 500
- คำคัดค้าน 250
- คำอุทธรณ์ 500
- คำขอเปลี่ยนแปลงประเภทของสิทธิ 100
   
   
อัตราค่าธรรมเนียมรายปี
การประดิษฐ์ บาท
ปีที่5 1,000
ปีที่6 1,200
ปีที่7 1,600
ปีที่8 2,200
ปีที่9 3,000
ปีที่10 4,000
ปีที่11 5,200
ปีที่12 6,600
ปีที่13 8,200
ปีที่14 10,000
ปีที่15 12,000
ปีที่16 14,200
ปีที่17 16,600
ปีที่18 19,200
ปีที่19 22,000
ปีที่20 25,000
หรือชำระทั้งหมดในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีครั้งแรก 140,000
   
การออกแบบผลิตภัณฑ์  
ปีที่5 500
ปีที่6 650
ปีที่7 950
ปีที่8 1,400
ปีที่9 2,000
ปีที่10 2,750
หรือชำระทั้งหมดในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีครั้งแรก 7,500
   
อนุสิทธิบัตร  
ปีที5 750
ปีที่6 1,500
หรือชำระทั้งหมดในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีครั้งแรก 2,000
   
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุอนุสิทธิบัตร
ครั้งที่ 1 6,000
ครั้งที่ 2 9,000
 
 

แบบฟอร์มสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

file_1382642519

กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

Department of Intellectual Property

สายด่วน 1368

 

Template  การยื่นคำขอสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร  ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์Template การยื่นคำขอสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

Filesize: 106.5 kB
Downloads: 8292
Filesize: Empty
Downloads: 4228

01.แบบ สป/สผ/อสป/001-ก คำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร 01.แบบ สป/สผ/อสป/001-ก คำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

Filesize: 589.61 kB
Downloads: 58810

สาขาการเงินธุรกิจ/การบริหารความเสี่ยง/การวางแผนการเงินส่วนบุคคล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณคุณ ธรณีนิติญาณ

ณคุณ2

ผู้เชี่ยวชาญสาขา             การเงินธุรกิจ การบริหารความเสี่ยง การวางแผนการลงทุน
ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ 15 ปี
 
  • ชื่อ – นามสกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณคุณ ธรณีนิติญาณ
     
 
  • ตำแหน่งปัจจุบัน

- ผู้อำนวยการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

- อาจารย์พิเศษ โครงการปริญญาโทสำหรับผู้บริหารการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

- กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ บริษัท ริชเอเชียสตีล จำกัด (มหาชน)

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการบริหารรายได้และทรัพย์สิน สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน

     
 
  • คุณวุฒิ

- PhD (Banking and Finance), The University of Queensland, Australia

- บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การเงินและการธนาคาร) มหาวิทยาลัยศรีปทุม

- บริหารธุรกิจบัณฑิต (การเงิน) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

- เศรษฐศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

- นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

- บัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

- รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (การบริหารทรัพยากรมนุษย์) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

- รัฐศาสตรบัณฑิต (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 

ตำแหน่ง/ประสบการณ์

หน้าที่รับผิดชอบและ/หรือความเชี่ยวชาญ

ระยะเวลา (ปี)

1. ผู้อำนวยการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บริหารการดำเนินงานของศูนย์ฯ จัดทำแผนกลยุทธ์ แผนการดำเนินงาน บริหาร และเป็นที่ปรึกษาโครงการของศูนย์ฯ

1 กุมภาพันธ์ 2558 – ปัจจุบัน

     
2. กรรมการอิสระ และ กรรมการตรวจสอบ บริษัท ริชเอเชียสตีล จำกัด (มหาชน) กำกับดูแล และตรวจสอบการควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงของฝ่ายบริหาร

เมษายน 2553 – ปัจจุบัน

(4 ปี 9 เดือน)

     
3. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการบริหารรายได้และทรัพย์สิน สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน กำกับดูแลการบริหารรายได้ และทรัพย์สินของสถาบันฯ พิจารณาแผนกลยุทธ์ทางการเงิน และงบประมาณของสถาบันฯ

ตุลาคม 2556 – ปัจจุบัน

(1 ปี 3 เดือน)

     

4. ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

งานบริหารวิชาการของคณะ การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การประกันคุณภาพการศึกษา การพัฒนาทางวิชาการของบุคคลากร

 มิถุนายน 2556 – ธันวาคม 2557

(1 ปี 7 เดือน)

     
5. หัวหน้าสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ  มหาวิทยาลัยศรีปทุม การบริหารสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียน งานวิจัย และการบริการวิชาการแก่สังคม

พฤษภาคม 2552 – มิถุนายน 2556

(4 ปี)

     
6. อาจารย์ประจำภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ  มหาวิทยาลัยศรีปทุม สอนในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษาในวิชา การเงินธุรกิจ การจัดการสินเชื่อ การลงทุน วาณิชธนกิจ การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ผลิตงานวิจัยบริการวิชาการ

มิถุนายน 2543 – พฤษภาคม 2552

(9 ปี)

     
7. Business Analyst, P.S. Consulting Group Co., Ltd. วิเคราะห์บริษํท ในการควบรวมกิจการ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการลงทุน จัดเตรียมข้อมูลในการเจรจา

มกราคม 2542 – พฤษภาคม 2543

(1 ปี 5 เดือน)

     
8. เจ้าหน้าที่การตลาดหลักทรัพย์ สายงานค้าหลักทรัพย์, บริษัทหลักทรัพย์ J.F. ธนาคม จำกัด รับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ ให้คำแนะนำการลงทุนกับลูกค้า ดำเนินการด้านอกสารที่กี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรพย์

กุมภาพันธ์ 2540 – ธันวาคม 2541

(1 ปี 8 เดือน)

 

ดร.รัญชนา รัชตะนาวิน

Untitled-2

ผู้เชี่ยวชาญสาขา             การเงินธุรกิจ การบริหารความเสี่ยง การวางแผนการเงินส่วนบุคคล
ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ 11 ปี
 
  • ชื่อ – นามสกุล
ดร.รัญชนา รัชตะนาวิน
 
  • ตำแหน่งปัจจุบัน
ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ
 
  • คุณวุฒิ

- Doctor of Philosophy (International Business), Concentration: Finance and Marketing, Asian Institute of Technology, 2004 (2547)

- M.B.A. (Business Administration), Salem State College, Massachusetts, U.S.A., 1996 (2539)

- บธ.บ. (การเงินและการธนาคาร) มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1992 (2535)

- ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (การบัญชี)  กรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย, 1988 (2531)
     

 

ตำแหน่ง/ประสบการณ์ หน้าที่รับผิดชอบและ/หรือความเชี่ยวชาญ

ระยะเวลา (ปี)

1. ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ ช่วยดูแลบริหารงานของกลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการในภาพรวม โครงการบริการวิชาการเพื่อสังคม

1 กุมภาพันธ์ 2558 – ปัจจุบัน

2. ผู้อำนวยการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

 

วางแผนบริหารกิจการ, จัดทำแผนพัฒนา จัดทำงบประมาณประจำปี, จัดทำรายงานประจำปี, ดำเนินการตามแผน รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินงานต่างๆ ของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย และ ภาระงานสอน คือ สอนการจัดการการเงิน และการบริหารความเสี่ยงระดับปริญญาโท มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับนโยบายและงบประมาณทางการเงินธุรกิจ

มิถุนายน 2552 – มกราคม 2558

(6 ปี)

3. ประธานกรรมการตรวจสอบ/กรรมการตรวจสอบ บริษัท ไซแมท เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ตรวจสอบผลการดำเนินงาน, รายงานงบการเงิน ของบริษัท ไซแมท เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ทุกไตรมาส

มกราคม 2550 – ปัจจุบัน

(7 ปี)

4. ที่ปรึกษาธุรกิจ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ให้คำปรึกษาทางด้านการเงินและการดำเนินธุรกิจ, การออกแบบและแนวความคิดนวัตกรรมและเศรษฐกิจรูปแบบใหม่

พ.ศ. 2549 – ปัจจุบัน

(8 ปี)

5. อาจารย์พิเศษ สอนวิชา Financial Management บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สอนการจัดการการเงิน (Financial Management) หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโทรคมนาคม, การจัดการโลจิสติกส์ และการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ

พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน

(8 ปี)

6. อาจารย์พิเศษ สอนวิชา Financial System in Industrial Enterprise ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สอนการเงินธุรกิจ (Corporate Finance) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (โครงการผู้บริหาร) รุ่นที่ 5 – รุ่นปัจจุบัน

 

พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน

(9 ปี)

7. กรรมการพิจารณาแผนธุรกิจ ด้านการเงิน เป็นกรรมการพิจารณาแผนธุรกิจด้านการเงิน หลักสูตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ และโครงการต่างๆ ของรัฐ เช่น วว.

พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน

(10 ปี)

8. ที่ปรึกษาทางด้านการเงิน เป็นที่ปรึกษาให้แก่บริษัทเอกชนต่างๆ และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ฯลฯ

พ.ศ. 2546 – 2556

(10 ปี)

9. หัวหน้าภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม การบริหารภาควิชาการเงินและการธนาคาร การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียน, สอนวิชาการจัดการการเงิน, การจัดการความเสี่ยง และการเงินส่วนบุคคล มีความเชี่ยวชาญในงานวิจัยเกี่ยวกับนโยบายและงบประมาณทางการเงินธุรกิจ

เมษายน 2548 – พฤษภาคม 2552

(4 ปี)

10. อาจารย์ประจำภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม สอนวิชาการจัดการความเสี่ยง

สิงหาคม 2547 – เมษายน 2548

(9 เดือน)

11. ผู้ช่วยสอน วิชา Financial Management, Accounting Management, Financial  Strategy of Firms and Business Communication หลักสูตร M.B.A, School of Management, Asian Institute of Technology เป็นผู้ช่วยสอนในการสอนเพิ่มเติมแก่นักศึกษา M.B.A., วิชา Financial Management, Accounting Management, Financial Strategy of Firms และ Business Communication รวมถึงเก็บคะแนน และตรวจข้อสอบของนักศึกษา

พ.ศ. 2546 – 2548

(2 ปี)

 


สาขาการจัดการเชิงกลยุทธ์และการจัดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

 Untitled-1
ดร.อนุพงศ์ อวิรุทธา

ผู้เชี่ยวชาญสาขา             การจัดการเชิงกลยุทธ์ และการจัดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ 10 ปี
  • ชื่อ – นามสกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุพงษ์ อวิรุทธา
  • ตำแหน่งปัจจุบัน
หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • สถานที่ทำงาน
อาคาร 30 ปี ศรีปทุม ชั้น 9 มหาวิทยาลัยศรีปทุม (บางเขน)
  • คุณวุฒิ

   

- D.B.A. (Strategic Management) 1st class honors, Argosy University, U.S.A.
- M.B.A. (Marketing) 1st class honors, Oklahoma City University, U.S.A.
- M.B.A. (Information technology) 1st class honors, Oklahoma City University, U.S.A.
- บธ.บ. (การจัดการ) เกียรตินิยม อันดับสอง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     

ตำแหน่ง/ประสบการณ์

หน้าที่รับผิดชอบและ/หรือความเชี่ยวชาญ

ระยะเวลา (ปี)

1. หัวหน้าภาควิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

การบริหารภาควิชาการจัดการ, กิจกรรมส่งเสริมการเรียน, งานวิจัย และการบริการวิชาการแก่สังคม, บริหารงานภาควิชา ภาระงานสอนวิชาการจัดการ, พฤติกรรมองค์การและการพัฒนาองค์การ, การจัดการเชิงกลยุทธ์, การจัดการธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, การเขียนแผนธุรกิจ, การเป็นผู้ประกอบการ,  มีความเชี่ยวชาญในงานวิจัยเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ พฤติกรรมองค์กร และพฤติกรรมผู้บริโภค

 พฤษภาคม 52 – ปัจจุบัน

(4 ปี)

 

2. อาจารย์ประจำภาควิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม งานวิจัย และการบริการวิชาการแก่สังคมสอนวิชาการจัดการการจัดการเชิงกลยุทธ์ การจัดการธุรกิจพาณิชย์

 พฤษภาคม 2550 – 2552

(2 ปี)

3. ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย วิเคราะห์และวางแผนทางด้านนโยบายการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค

พฤษภาคม 2550 – ปัจจุบัน

(6 ปี)

4. ทีปรึกษาบริษัท Furnimart International ให้คำปรึกษาทางด้านการพัฒนาองค์กร และการตลาด

พ.ศ. 2551 – ปัจจุบัน

(5 ปี)

5. ที่ปรึกษาทางตลาดอีคอมเมิสต์, บริษัท Tenant Plus จำกัด (ประเทศสหรัฐอเมริกา) วิเคราะห์ข้อมูลเว็บไซต์, สถิติการเข้าชม พฤติกรรมการใช้เว็บไซต์ของผู้เข้าชม และวางแผนทางด้านการตลาดออนไลน์ และพัฒนาธุรกิจใหม่

กรกฎาคม 2549 – ปัจจุบัน

(7 ปี)

6. หัวหน้าฝ่ายธุรกิจและการตลาดอีคอมเมิสต์, บริษัท Tenant Plus จำกัด (ประเทศสหรัฐอเมริกา) วิเคราะห์ข้อมูลเว็บไซต์, สถิติการเข้าชม พฤติกรรมการใช้เว็บไซต์ของผู้เข้าชม ติดต่อประสานงานบริษัทคู่ค้าเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน

 พ.ศ. 2548 – 2549

(1 ปี)

7. เจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนและพัฒนาองค์กร, บริษัท Aura Asset จำกัด (ประเทศสหรัฐอเมริกา) หาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ

 พ.ศ. 2548

(1 ปี)

8. เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี, บริษัท Syphora จำกัด (ประเทศสหรัฐอเมริกา) บันทึกและจัดทำบัญชีรายเดือนทางด้านการขาย

พ.ศ. 2546

(1 ปี)

 

สาขาการตลาด/การตลาดระหว่างประเทศ/การตลาดเชิงกลยุทธ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชิต อู่อ้น

ผู้เชี่ยวชาญสาขา             การตลาด
ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ 16 ปี
  • ชื่อ – นามสกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชิต อู่อ้น
  • ตำแหน่งปัจจุบัน
คณบดี วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • สถานที่ทำงาน
อาคาร 40 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม (อาคาร 11) ชั้น 11 มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • คุณวุฒิ

 

 

- D.I.B.A Nova Southeastern University, Florida, USA. (2546)
- วทม. (เศรษฐศาสตร์เกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2535)
- วทบ. (เศรษฐศาสตร์เกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2531)

 

ตำแหน่ง/ประสบการณ์

หน้าที่รับผิดชอบและ/หรือความเชี่ยวชาญ

ระยะเวลา (ปี)

1. คณบดี วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บริหารและกำกับดูแลบัณฑิตศึกษา

พ.ศ. 2553 – ปัจจุบัน

(4 ปี)

2. ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ดำเนินงานสำรวจวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคของหน่วยงานของรัฐและเอกชน

พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2553

(4 ปี)

3. หัวหน้าภาควิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีปทุม บริหารจัดการภาควิชาการตลาด

พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2550

(3 ปี)

4. อาจารย์พิเศษ MBA หลักสูตร Executive MBA,  Young Executive MBA มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน บรรยายในหัวข้อ ด้านการตลาด การตลาดเชิงกลยุทธ์

พ.ศ. 2541 – ปัจจุบัน

(16 ปี)

5. กรรมการวิทยานิพนธ์ โครงการปริญญาเอก มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ดูแลผลงานวิทยานิพนธ์ โครงการปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน

พ.ศ. 2541 – ปัจจุบัน

(16 ปี)

6. ที่ปรึกษาฝ่ายการตลาด บริษัทเอกชนต่างๆ ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะด้านการตลาด แก่บริษัทเอกชนต่างๆ

พ.ศ. 2541 – ปัจจุบัน

(16 ปี)

7. วิทยากรบรรยายและที่ปรึกษาทางด้านการตลาด เชิงกลยุทธ์ การจัดทำแผนธุรกิจของ SMEs ของหน่วยงานของรัฐและเอกชน บรรยายในหัวข้อ การตลาด การตลาดเชิง  กลยุทธ์ และการจัดทำผนธุรกิจด้านการตลาด

พ.ศ. 2541 – ปัจจุบัน

(16 ปี)

สาขาการตลาด/การตลาดระหว่างประเทศ/การตลาดเชิงกลยุทธ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชิต อู่อ้น

Untitled-2

ผู้เชี่ยวชาญสาขา             การตลาด
ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ 16 ปี
  • ชื่อ – นามสกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชิต อู่อ้น
  • ตำแหน่งปัจจุบัน
คณบดี วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • สถานที่ทำงาน
อาคาร 40 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม (อาคาร 11) ชั้น 11 มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • คุณวุฒิ

 

 

- D.I.B.A Nova Southeastern University, Florida, USA. (2546)
- วทม. (เศรษฐศาสตร์เกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2535)
- วทบ. (เศรษฐศาสตร์เกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2531)

 

ตำแหน่ง/ประสบการณ์

หน้าที่รับผิดชอบและ/หรือความเชี่ยวชาญ

ระยะเวลา (ปี)

1. คณบดี วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บริหารและกำกับดูแลบัณฑิตศึกษา

พ.ศ. 2553 – ปัจจุบัน

(4 ปี)

2. ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ดำเนินงานสำรวจวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคของหน่วยงานของรัฐและเอกชน

พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2553

(4 ปี)

3. หัวหน้าภาควิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีปทุม บริหารจัดการภาควิชาการตลาด

พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2550

(3 ปี)

4. อาจารย์พิเศษ MBA หลักสูตร Executive MBA,  Young Executive MBA มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน บรรยายในหัวข้อ ด้านการตลาด การตลาดเชิงกลยุทธ์

พ.ศ. 2541 – ปัจจุบัน

(16 ปี)

5. กรรมการวิทยานิพนธ์ โครงการปริญญาเอก มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ดูแลผลงานวิทยานิพนธ์ โครงการปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน

พ.ศ. 2541 – ปัจจุบัน

(16 ปี)

6. ที่ปรึกษาฝ่ายการตลาด บริษัทเอกชนต่างๆ ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะด้านการตลาด แก่บริษัทเอกชนต่างๆ

พ.ศ. 2541 – ปัจจุบัน

(16 ปี)

7. วิทยากรบรรยายและที่ปรึกษาทางด้านการตลาด เชิงกลยุทธ์ การจัดทำแผนธุรกิจของ SMEs ของหน่วยงานของรัฐและเอกชน บรรยายในหัวข้อ การตลาด การตลาดเชิง  กลยุทธ์ และการจัดทำผนธุรกิจด้านการตลาด

พ.ศ. 2541 – ปัจจุบัน

(16 ปี)

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระพีพร ศรีจำปา

 download

ผู้เชี่ยวชาญสาขา             การตลาด/การตลาดระหว่างประเทศ
ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ 23 ปี
  • ชื่อ – นามสกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระพีพร ศรีจำปา
  • ตำแหน่งปัจจุบัน

 

 

- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการการบิน)  วิทยาลัยการบินนานาชาติ มหาวิทยาลัยนครพนม
- ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท อนัตตา ไม่จำกัด (ตุลาคม 2555 – ปัจจุบัน)
- กรรมการมูลนิธิยุวพันธุ์ เพื่อการศึกษาโรงเรียนอนุบาลกาฬสินธุ์ (2545 – ปัจจุบัน)
  • สถานที่ทำงาน
มหาวิทยาลัยนครพนม (ศูนย์กรุงเทพ)
  • คุณวุฒิ

 

 

 

- Ph.D. (International Business) Asian Institute of Technology (AIT), 2002 (2545)
- Ph.D. (International Business) Asian Institute of Technology (AIT), 2002 (2545)
- M.B.A. (Business Administration) Cleveland State University, USA, 1995 (2538)
- วท.บ. (เศรษฐศาสตร์เกษตร) เกียรตินิยมอันดับ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1988 (2531)

 

ตำแหน่ง/ประสบการณ์

หน้าที่รับผิดชอบและ/หรือความเชี่ยวชาญ

ระยะเวลา (ปี)

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการการบิน) วิทยาลัยการบินนานาชาติ มหาวิทยาลัยนครพนม อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการบิน

มีนาคม 56 – ปัจจุบัน

2. รองคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ศรีราชา รับผิดชอบการบริหารคณะตามที่ได้รับมอบหมาย, กรรมการโครงการบัณฑิตศึกษา, กรรมการโครงการต่างๆ  ในคณะ และสอนเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการตลาดระหว่างประเทศ

พ.ศ. 2554 – กันยายน 55

 (1 ปี)

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ ศรีราชา อาจารย์ประจำหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและเศรษฐศาสตร์เกษตร สอนวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการตลาดระหว่างประเทศ

พ.ศ. 2553 – 2554

(1 ปี)

4. อาจารย์พิเศษ สอนวิชาการตลาดระหว่างประเทศ, วิชาแผนธุรกิจ, วิชาสัมมนาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีปทุม สอนวิชาการตลาดระหว่างประเทศ; วิชาแผนธุรกิจและวิชาสัมมนาการตลาด หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

พ.ศ. 2553 – ปัจจุบัน

(3 ปี)

5. อาจารย์พิเศษสอนปริญญาเอก วิชาแนวคิดทางด้านการตลาดขั้นประยุกต์เพื่อความได้เปรียบเชิงแข่งขันโครงการบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง สอนแนวคิดทางด้านการตลาดขั้นประยุกต์เพื่อความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (โครงการบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตรุ่น 1 ถึงปัจจุบัน)

พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน

(4 ปี)

6. อาจารย์พิเศษสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการตลาดระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สอนวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการตลาดระหว่างประเทศ หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (รุ่นที่ 1 – 8 )

พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2555

(8 ปี)

7. นักเขียนบทความวิชาการอิสระ บทความนวัตกรรมกลยุทธ์การตลาดเพื่อความยั่งยืน: กลยุทธ์การตลาด 4S นิตยสาร M.B.A. ฉบับเดือนมิถุนายน 2553 “การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ” หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 16 มีนาคม 2548

พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน

(9 ปี)

8. วิทยากรรับเชิญของสถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ สอนแผนธุรกิจและแผนการตลาดเพื่อการส่งออก การเขียนแผนธุรกิจเชิงกลยุทธ์ และกลยุทธ์และเทคนิคการจัดทำแผนการตลาดเพื่อการส่งออกที่ยั่งยืน

พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน

(10 ปี)

9. ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

รับผิดชอบบริหารหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตและ  การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนและ สอนวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ วิชาการตลาดระหว่างประเทศ วิชาแผนธุรกิจ

พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2553

(7 ปี)

10. วิทยากรรับเชิญสำหรับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นวิทยากรให้กรมส่งเสริมการส่งออกเรื่อง กลยุทธ์สร้างความเข้มแข็งร้านค้าปลีกไทย เรื่อง “การวางแผนธุรกิจเพื่อการส่งออก” และ “การตลาดแบบ ชิค ชิค: หนทางสู่ธุรกิจสมัยใหม่” เป็นวิทยากรให้สถาบันป้องกันประเทศเรื่องการจัดทำแผนการตลาด

พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน

(10 ปี)

11. ที่ปรึกษาทางการตลาดสำหรับธุรกิจส่งออก ให้คำปรึกษาทางด้านการตลาด การวางแผนการตลาดและการส่งออก

พ.ศ. 2545 – ปัจจุบัน

(11 ปี)

12. ที่ปรึกษาบริษัท Exact Intertrade Co., Ltd. ให้คำปรึกษาทางด้านการตลาด การวางแผนการตลาดและการส่งออก

พ.ศ. 2545 – ปัจจุบัน

(11 ปี)

13. ที่ปรึกษาทางการตลาดสำหรับธุรกิจ SMEs ให้คำปรึกษาทางด้านการตลาด,กลยุทธ์การตลาด

พ.ศ. 2545 – ปัจจุบัน

(11 ปี)

14. ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ ม.ศรีปทุม ช่วยบริหารงานในคณะและจัดการเรียนการสอน

พ.ศ. 2540 – พ.ศ. 2542

(2 ปี)

15. หัวหน้าภาควิชาธุรกิจระหว่างประเทศ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

การบริหารภาควิชาธุรกิจระหว่างประเทศ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน และสอนวิชาตลาดระหว่างประเทศ

พ.ศ. 2536 – พ.ศ. 2537

(1 ปี)

16. ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขาย โรงแรมในเครือรอยัลการ์เด้นรีสอร์ท บริหารงานทางด้านการขาย

พ.ศ. 2533 – พ.ศ. 2535

(2 ปี)


 

สาขาการออกแบบสื่อสาร/กราฟิก/สื่อมัลติมีเดีย และสื่อปฏิสัมพันธ์ (Interactive Media)

ดร.อติเทพ แจ้ดนาลาว

Untitled-3

ผู้เชี่ยวชาญสาขา             การออกแบบสื่อสาร ออกแบบกราฟิก ดิจิทัลมีเดีย การออกแบบสื่อมัลติมีเดีย และสื่อปฏิสัมพันธ์ (Interactive Media)
ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ 20 ปี
  • ชื่อ – นามสกุล
ดร.อติเทพ แจ้ดนาลาว
  • ตำแหน่งปัจจุบัน
อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • สถานที่ทำงาน
อาคาร 40 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม (อาคาร 11) ชั้น 11 มหาวิทยาลัยศรีปทุม (บางเขน)
  • คุณวุฒิ

 

 

 

- Ph.D. Candidate: Doctor of Philosophy Design Arts Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University, 2008 – Present, (2551 – ปัจจุบัน)
- Master of Arts, (Visual Communication Design), School of Visual Communication Design, Kent State University, USA, 1997-2004 (2540 – 2547)
- Post-Undergraduate School of Art, (Communication Design), University of North Texas, USA, 1995-1997 (2538-2540)
- ศิลปศึกษา (เกียรนิยมอันดับ 2), คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 1993 (2536)

 

ตำแหน่ง/ประสบการณ์

หน้าที่รับผิดชอบและ/หรือความเชี่ยวชาญ

ระยะเวลา (ปี)

1. อาจารย์ประจำ สาขาอินเทอร์แอคทีฟและเกมส์ และสาขาการออกแบบกราฟฟิก คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม หลักสูตร Interactive Design: สอนวิชา Interface Design, Interactive Design 1, Web Design, Interactive Media Experimental and Interactive Design Thesis และ หลักสูตร Graphic Design: สอนวิชา Creative Design Strategy, Branding Strategy, Corporate Identity, Graphic Design, Digital Publication Design and Graphic Design Thesis

สิงหาคม 2550 – ปัจจุบัน

(6 ปี)

2. ที่ปรึกษาและวิทยากร ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

 

สอนวิชา Corporate identity design and use of digital media in public relations purposes, NEC Digital Media, Department Of Industrial Promotion and Business Corporate Identity

พฤษภาคม 2554 – ปัจจุบัน

(3 ปี)

3. ที่ปรึกษาและวิทยากร Personnel Excellency Development Institute (PEDI), Thailand สอนวิชา Digital Media Strategies to Promote and Enhance the Corporate Image and Election Campaign Strategy and Media Advertising Campaign Strategy

สิงหาคม 2553 – ปัจจุบัน

(2.5 ปี)

4. อาจารย์พิเศษ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาทัศนศิลป์และการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา สอนวิชา Visual Arts and Design Management and Visual Art and Design Seminar

มิถุนายน 2553 – ปัจจุบัน

(4 ปี)

5. Executive Creative Director and Director InMarketing Co., Ltd., Thailand Coordination of Design Division, Responsible for Creative and Art Direction all of Visual Communication Design: Graphic Design, Web Design, Interactive Design, Flash Animation and VDO Presentation

มีนาคม 2547 – ปัจจุบัน

(10 ปี)

6. อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สอนวิชา Multimedia Technology, Computer Graphic Design, Multimedia Design and Graphic Design

มิถุนายน 2552 – พฤษภาคม 2554

(2 ปี)

7. อาจารย์พิเศษ สาขาออกแบบศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม สอนวิชา Fundamental Design, Design Thinking, Design Awareness, Digital Art Design and Interactive Design

สิงหาคม 2549 – สิงหาคม 2550

(1 ปี)

8. อาจารย์พิเศษ  สาขานิเทศศิลป คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา Courses: Visual Communication Design, Computer Graphic Design and Adviser of Art Thesis

มิถุนายน 2548 – มีนาคม 2549

(1 ปี)

9. Art Director (Interactive and Web Designer) Studio East Inc., USA Responsible for Creative and Art Direction all of Web Design, Interactive Design and Multimedia Presentation

กรกฎาคม 2545- กุมภาพันธ์ 2548

(2.8 ปี)

10. Senior Graphic Designer KSU Alumni Association, Kent State University, U.S.A.

Creative and Art Direction all of Print Design, Kent Alumni Magazine, Brochure, Newsletter and Leaflets

 

พฤษภาคม 2541-พฤษภาคม 2542

(1 ปี)

11. Graphic Designer
Better Way (Thailand) Co., Ltd.
Creative and Art Direction all of Print Design, Art Work, Direct Mail, Brochure, Newsletter, Leaflets and Posters

พฤศจิกายน 2536- เมษายน 2538

(1.6 ปี)

12. Production Coordinator Master Ad Co., Ltd., Thailand Coordination of the production staff, account staff and clients, Responsible for dealing and presentation clients, supplier and production house

พฤษภาคม 2536-ตุลาคม 2536

(6 เดือน)


 

สาขากฎหมายธุรกิจการค้าระหว่างประเทศและกฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

อาจารย์ทัชภร มหาแถลง

 Untitled-4

ผู้เชี่ยวชาญสาขา             กฎหมายธุรกิจ การค้าระหว่างประเทศ
ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ 8 ปี
  • ชื่อ – นามสกุล
อาจารย์ทัชภร มหาแถลง
  • ตำแหน่งปัจจุบัน
อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • สถานที่ทำงาน
อาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์ ชั้น 7 มหาวิทยาลัยศรีปทุม (บางเขน)
  • คุณวุฒิ

 

 

- นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- เนติบัณฑิตไทย
- นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ตำแหน่ง/ประสบการณ์

หน้าที่รับผิดชอบและ/หรือความเชี่ยวชาญ

ระยะเวลา (ปี)

1. อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม รับผิดชอบสอนวิชากฎหมายเอกชน กฎหมายธุรกิจ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

พ.ศ. 2549 – ปัจจุบัน

(7 ปี)

2. ผู้ช่วยสมาชิกวุฒิสภา ด้านกฎหมาย ดูเอกสารด้านกฎหมาย และร่างพระราชบัญญัติ และทำสรุปกฎหมายที่จะพิจารณาเข้าสู่วาระของที่ประชุมกรรมธิการ และที่ประชุมวุฒิสภา

พ.ศ 2543 – พ.ศ. 2544

(1 ปี)


 

การตลาดออนไลน์ (Digital Technology & Marketing, E-Commerce)

คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ

 นายภาวุธ-พงษ์วิทยภานุ-1

  • ชื่อ – นามสกุล
นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ
  • ตำแหน่งปัจจุบัน
ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ตลาดดอทคอม
  • สถานที่ทำงาน
บริษัท ตลาด ดอท คอม จำกัด
  • คุณวุฒิ

 

 

 

- กำลังศึกษาปริญญาเอก วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต: สาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาโท สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาโท Internet & E-Commerce  มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- ปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยรังสิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีความถนัดในด้าน

 

รายละเอียดศักยภาพความเชี่ยวชาญของบุคคล

พ.ศ. 2557

- เขียนหนังสือร่วมกับทางอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ท่าน ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศิลปศาสตร์ วิชาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการสารสนเทศ (Technology for Information Managment)

- ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 12 กรรมการคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จากผู้ทรงคุณวุฒิ จากภาครัฐและเอกชน โดยทำหน้าที่วางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ติดตามดูแลการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการเรื่องธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทย

- อาจารย์สอนระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยหอการค้าและมหาวิทยาลัยศรีปทุม (ต่อเนื่องมาปีที่ 4)

- ได้รับเลือกไปลงโฆษณาของ ธนาคาร TMB ในโครงการ MaketheDifference.org

- ได้รับเลือกเข้าเป็นคณะกรรมการบริหารสร้างสรรค์แผนและนวัตกรรมสุขภาพของ สสส.

พ.ศ. 2556

- พัฒนาระบบ ZocialEye Monitoring ใช้จับและวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรายการ The Voice Thailand รวมถึง The Star

- จัดงาน Thailand Zocial Award 2013 ขึ้นมาเพื่อเป็นงานมอบรางวัลให้กับคน ทีม และธุรกิจที่ทำงานใน Social Media ที่โดดเด่น รวมถึงเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกของพฤติกรรมของคนไทยกับการใช้ Social Media ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

- คณะกรรมการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่กำกับดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

- วิทยากรบรรยายนในงาน E-Tail Asia งานประชุม E-Commerce ภายในอาเซียนที่ประเทศสิงค์โปร์ และงาน  E-Commerce Asia Expo & Conference ที่ฮ่องกง และเป็น Speaker พูดในงาน Startup Asia Singapore 2013 อีกทั้งยังเป็นตัวแทนนักธุรกิจไทยไปพูดในงาน APEC – Committee on Trade and Investment 2013 (Indonesia, Medan) และงานระดับโลกอย่าง Global Entrepreneurship Summit 2013 ที่ประเทศมาเลย์เซีย

- ได้รับรางวัล Software Park Thailand’s Hall of Inspiration 2013 จากทาง Software Park

- Singapore Post ได้เชิญไปร่วมเป็นคณะที่ปรึกษาในกลุ่ม advisory council on eCommerce and eFulfilment

- ที่ปรึกษา (Mentor) โครงการ Startup หลายๆ แห่ง True Incube (Thailand), JDFI (Singapore)

- คณะกรรมการ ICT ของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

- กรรมการคัดเลือกโฆษณาของงาน Ad That Works ส่วนหนึ่งของาน Adman Awards & Symposium 2013

- ออกหนังสือเล่มที่ 4 ของตัวเองชื่อ ”อัพ.! กบาล เทคนิคการกระขากประสิทธิภาพชีวิตและการทำงานเพิ่มขึ้นอีก 200%”

- TARAD.com เริ่มใช้การตลาดผ่าน LINE  โดยได้ออกสติกเกอร์แพนด้าออกมา ที่ฮิตไปทั่วเมืองทันทีที่ออกมา กลายเป็นช่องทางที่ขายของๆ TARAD.com ได้ดีมากๆ อีกช่องทางนึง

พ.ศ. 2555

- ผลิตรายการทีวีชื่อ “อัพกบาล” เป็นรายการแชร์เทคนิคการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันที่ 16 มกราคม 2012 ช่องทีวี Nation Channel

- คณะอนุกรรมการ การบริหารโปรแกรมวิทยาการสารสนเทศบริการ (SI) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เพื่อคัดเลือกเทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนาประเทศไทย

- เปิดบริษัท Zocial Inc  (Zocial M Co.,Ltd) จากบริการของ ZocialRank.com และ ZocialEye.com เพื่อให้บริการ วิเคราะห์ข้อมุลบริษัทและแบรนด์ต่างๆ ทางออนไลน์

- เข้าร่วมกลุ่ม Google Business Group (GBG) และเป็นผู้ก่อตั้งและผู้จัดการ (Manager) ของ GBG Thailand และ Bangkok Chapter ในการนำเทคโนโลยีเข้าสู่กลุ่มนักธุรกิจชาวไทย

- ให้สัมภาษณ์ในรายการ “อายุน้อยร้อยล้าน” ออกอากาศทางช่อง 9 สัมภาษณ์ถึงที่มาที่ไปของการเริ่มต้นทำงาน เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆ รุ่นใหม่

- Lenovo ThinkPad ได้เลือกให้มาแนะนำ Notebook ThinkPad X230

- เปิดตัว TARAD.com บนมือถือ Version 3.0 เพื่อรับกับการเติบโตของการใช้มือถือและ 3G มากขึ้น โดยมองว่า “ต่อไปมือถือจะเป็นช่องทางที่คนไทย ใช้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตและซื้อสินค้ามากกว่าคอมพิวเตอร์ปกติ”

- ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายในงาน 3rd Annual Summit Mobile Payments and Banking Greater Mekong ที่ประเทศเวียตนาม

- ได้รับเลือกเป็นตัวแทน Key Note ฝั่นคนไทยในงาน Khun Seuk vs Samurai Startup Pitching

- ได้ถูกคัดเลือกจากค่ายรถเชฟโรเล็ตเป็น 1 ใน 20 คนที่สร้างแรงบันดาลใจ ลงในนิตยสาร GM เดือนตุลาคม

- ร่วมงาน THUNDERBIRD SOUTHEAST ASIA PRIVATE EQUITY CONFERENCE เป็นงานประชุมของนักลงทุนที่เวียดนาม และชนะการประกวดแผนธุรกิจ (Pitching) โดยเป็นตัวแทนจากประเทศไทยทีมเดียว

- ได้รับเลือกเป็นตัวแทนนักธุรกิจจากไทยเพียงคนเดียวไปร่วม โครงการ International Visitor Leadership Program : A New Beginning :Entrepreneurship and Business Innovation ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยได้ไปร่วมกับ 29 นักธุรกิจทั่วโลก ไปดูงานของธุรกิจที่อเมริกาและการทำงานของรัฐบาลสหรัฐฯ ตลอด 3 สัปดาห์

- วิทยากรบรรยายในงาน Asia E-Commerce Conference 2012 ที่ประเทศมาเลเซีย เป็นปีที่ 2 และงาน Echelon Ignite Bangkok

- ร่วมกับนักธุรกิจ 8 คน ก่อตั้งกลุ่ม M8|VC กลุ่มที่จะให้การสนับสนุน Startup ของไทยในการลงทุน

- นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย

พ.ศ. 2554

- ได้รับเชิญจากทาง Nation Broadcast (NBC) ให้จัดรายการวิทยุของตัวเองที่ FM 102 ชื่อรายการ  “คลิก พลิก ธุรกิจ” ทุกสัปดาห์  ในการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับการทำธุรกิจในช่องทางออนไลน์

- เปิดบริษัท ภาวุธดอทคอม จำกัด เพื่อเน้นการลงทุนในบริษัทเว็บไซต์ไทยและพัฒนาให้เติบโต

-  ร่วมกับตั้ง (@thangman22) พัฒนาเว็บไซต์เก็บข้อมูลการใช้งาน โซเชี่ยลเน็ตเวิรก์ของคนไทยทั้งประเทศ ZocialRank.com และ ZocialEye.com ระบบติดตามและตรวจสอบ (Monitoring) ในโลกออนไลน์ขึ้นมา เพื่อเป็นบริการใหม่สำหรับนักการตลาดของไทย

- จัดทำสรุปข้อมูลการใช้งานโซเซี่ยลเน็ตเวิรก์ของไทยทั้งประเทศผ่านรูปแบบของ Infographic และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) องค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้น เพื่อเน้นการสนับสนุน E-Commerce ของไทย

- เป็นที่ปรึกษาขององค์กรในการพัฒนา E-Commerce ประเทศไทย

- ย้ายเว็บ http://premium.tarad.com ช๊อปปิ้งมอลล์ออนไลน์ โมเดลจาก Rakuten เข้าเป็นเว็บ www.TARAD.com ส่วน TARAD.com ตัวเดิมเปลี่ยนไปเป็น www.TARADplaza.com เพื่อหันมาเน้นการให้บริการช้อปปิ้งมอลล์ออนไลน์เต็มรูปแบบ และกระตุ้นให้คนไทยซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น

- เปิดเว็บไซต์ www.ifund.in.th เพื่อเป็นศูนย์ในกลางในการรับบริจาคเงินทางออนไลน์ เป้าหมายเปิดขึ้นมาเป็นช่องทางสำหรับองค์กรและหน่วยงานที่ต้องการรับบริจาคเงินทางออนไลน์ โดยได้รับบริจาคเงินช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม และร่วมกับธนาคารกสิกรไทยรับเงินบริจาคสำหรับครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เพื่อน้อมถวามสักการะสมเด็จพระสังฆราช

- เป็นตัวแทนประเทศไทย ไปพูดเรื่อง E-Commerce ในงาน Asia E-Commerce Conference 2011 ที่ประเทศมาเลย์เซีย

พ.ศ. 2553

- TARAD.com ประกาศเปิดตัว Premium Mall (http://premium.tarad.com) เว็บช๊อปปิ้งมอลล์ตัวใหม่ ภายใน TARAD.com ที่จะมาปฏิวัติวงการ E-Commerce ของไทย

- ทำรายการของตัวเองในช่วง Innosolution ในช่องเถ้าแก่ (ทีวีดาวเทียม+เคเบิ้ล) ถ่ายทอดไปทั่วประเทศ โดยเป็นรายการที่แนะนำให้ความรู้แก่ SMEs ในการทำการค้าขายในช่องทางออนไลน์

- เข้าร่วมอบรมโครงการ K-SME Care ของธนาคารกสิกรไทยโดยเรียนรุ่นที่ 13

- ร่วมเป็นอาจารย์สอนให้กับ ผู้ประกอบท่องเที่ยว ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หลายจังหวัดทั่วประเทศไทย

- ได้รับเลือกลง GM Biz นิตยสารด้านธุรกิจ เป็น “ผู้มีอิทธิพลพันธุ์ใหม่ Twitter Influencer”

- ได้รับคัดเลือก เป็น 1 ใน 10 ของหนังสือ “แรงบันดาลใจ 10 นักธุรกิจรุ่นใหม่” จากช่องทีวีไทย

- เปิดให้บริการระบบพรีเมี่ยมมอลล์ (Premium Mall) ช๊อปปิ้งมอลล์รูปแบบใหม่ ที่นำแนวความคิดของทาง Rakuten ของญี่ปุ่นมาใช้ประยุกต์กับคนไทย ซึ่งผลจากการทำมา 1 ปี ยอดเติบโตเกือบ 1,000% ร้านค้ามากมายสามารถเพิ่มยอดขายได้หลายร้อยเปอร์เซนต์ เป็นก้าวแรกของการ “ปฏิวัติวงการ E-Commerce ของไทย” ที่เห็นแนวโน้มเติบโตอย่างชัดเจน

พ.ศ. 2552

- เป็นที่ปรึกษาโครงการ Feedback Score ของกรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์

- เขียนหนังสือ E-Marketing เจาะเทคนิคการตลาดออนไลน์

- นำบริษัท TARAD Dot Com ร่วมทุนกับ บริษัท Rakuten (www.Rakuten.co.jp) เว็บไซต์ E-Commerce อันดับ 1 ของญี่ปุ่น และเว็บไซต์ใหญ่อันดับ 8 ของโลก เพื่อเพิ่มศักยภาพ E-Commerce ของไทยให้เติบโตมากขึ้น พร้อมกับประกาศว่า “จะขอปฏิวัติวงการ E-Commerce ของไทย” และบริษัท ชื่อ TARAD Solution ออกมาทำงานด้าน Digital Media and Strategy และการพัฒนาโปรเจ๊กเว็บไซต์

- ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรด้าน E-Marketing หรือการตลาดออนไลน์ให้กับสถาบันและองค์กรต่างๆ

- เข้าร่วมทำงานในคณะทำงานจัดทำข้อเสนอแนะอันเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในคณะอนุกรรมาธิการเทคโนโลยีสารสนเทศ ของวุฒิสภา

- อาจารย์หลักสูตรด้าน Digital Marketing ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม (บางเขน)

พ.ศ. 2551

- เขียนหนังสือรวยทางลัด กับ TARAD.com

- เขียนบทความให้กับนิตยสารหลายเล่ม เช่น Marketeer, SME Today, SME ชี้ช่องรวย เป็นต้น

พ.ศ. 2550

- ที่ปรึกษาของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

- ที่ปรึกษาให้กับบริษัทต่างๆ ในด้าน e-Commerce และ e-Business

- ขยายเปิดบริษัทใหม่ ชื่อ TARADnet โดยเป็นบริษัทที่เกี่ยวกับระบบ Internet Infrastructure (Hosting, Domain) ขึ้นมาเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ e-Commerce

- อาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะ ICT เพื่อดูงานจุลนิพนธ์ของนิสิต

- คณะอนุกรรมการ กลุ่ม e-Commerce ของ SIPA

- คณะอนุกรรมการของสถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น

พ.ศ. 2549

- ที่ปรึกษาส่วนตัวของผู้ว่าราชการจังหวัด กาญจนบุรี ในด้านการร่วมวางแผนยุทธศาสตร์จังหวัด

- สอบผ่านการอบรมโครงการพัฒนาที่ปรึกษาธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หรือ APEC – IBIZ รุ่น 4 จัดโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เพื่อเป็นที่ปรึกษาธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในเมืองไทย โดยโครงการนี้เป็นความร่วมมือของประเทศในกลุ่ม APEC หรือกลุ่มความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเซียแปซิฟิก 17 ประเทศ

- ที่ปรึกษาให้แก่บริษัทต่างๆ เช่น ธนาคารกสิกรไทย, บริษัท ริชมอนเด้ (บางกอก) เป็นต้น

พ.ศ. 2548

- ประธานชมรม E-Commerce ไทย ซึ่งเป็นศูนย์กลางของ E-Commerce ในเมืองไทย

- ร่วมก่อตั้งสมาคมผู้ประกอบการ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และได้รับเลือกให้เป็นอุปนายกสมาคมฯ

- เปิดเว็บไซต์ www.SEO.in.th เป็นเว็บไซต์ที่รวมแหล่งความรู้ของการทำการตลาด โดยใช้ Search Engine Marketing แห่งแรกของเมืองไทย

พ.ศ. 2547

- ที่ปรึกษาให้กับทาง กรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ เกี่ยวกับงานด้าน E-Commerce

- เขียนบทความด้าน E-Commerce และ E-Marketing ให้กับหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ Biz Week และ นิตยสาร E-Commerce

- เปิดเว็บไซต์ www.pawoot.com เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมบทความงานเขียนของตัวเอง และความรู้ด้าน E-marketing ไว้ภายในเว็บไซต์

พ.ศ. 2546

- เขียนบทความเกี่ยวกับการค้าบนโทรศัพท์มือถือ (M-Commerce) ให้กับหนังสือ Micro Computer และหนังสือพิมพ์ Telecom Journal ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของวงการโทรคมนาคมของไทย

พ.ศ. 2545

- เลขาธิการ สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย (Thai Webmaster Association)

- อาจารย์สอนด้าน E-Marketing ให้กับสถาบัน Net Design

พ.ศ. 2544

- Assistant Manager : M-Commerce & Portal ดูแลงานด้าน Product & Service สำหรับกลุ่มธุรกิจ (Corporate) ของบริษัท Hutchison CAT Wireless Multimedia หรือ Hutch

พ.ศ. 2543

- เปิดเว็บไซต์ www.TARAD.com ในนามบริษัท ตลาด ดอท คอม จำกัด

พ.ศ. 2542

- เปิดเว็บไซต์ www.ThaiSecondhand.com ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์

- Web Creative ของบริษัท Pantheon รับออกแบบเว็บไซต์

- Webmaster และ Business Development ของ บริษัท AD Venture (www.Shinee.com)