รู้จักคณะ
โลโก้ ตัวอักษรที่สื่อถึงความเป็นนักสร้างสรรค์ในแบบของคนรุ่นใหม่ และเป็นโลโก้ที่เกิดจากความคิดริเริ่มของนักศึกษา |
ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัลมาผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และก่อให้เกิดมูลค่าในเชิงพาณิชย์ เห็นได้ชัดจากอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้านดิจิทัลคอนเทนท์ เช่น ภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา ภาพยนตร์การ์ตูน เกมออนไลน์ วิดีโอเกม เกมมือถือ และสื่อผสม (Multimedia) ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการผลงานดิจิทัลในรูปแบบเหล่านี้เป็นจำนวนมากจากการบริโภคสื่อด้านดิจิทัลทั้งในและต่างประเทศ
เมื่อความต้องการผลงานมีจำนวนเพิ่มขึ้น ความต้องการด้านบุคลากรที่มีความสามารถในการผลิตผลงานก็มีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาเยาวชนไทยซึ่งมีพื้นฐานด้านความคิดสร้างสรรค์อยู่แล้ว ให้เป็นบุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้านดิจิทัลคอนเทนท์ของประเทศ จึงก่อตั้งคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุมขึ้น โดยเปิดดำเนินการสอนหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดิจิทัลอาร์ตส์ เมื่อปีการศึกษา 2547 โดยได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้านดิจิทัลคอนเทนท์ที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง และด้วยความพร้อมของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ทั้งในด้านบุคลากร ผู้สอน และเครื่องมืออันทันสมัย ในปีการศึกษา 2551 ทางคณะฯ ได้เปิดดำเนินการสอนสาขาเกมส์และแอนิเมชั่นเพิ่มอีกหนึ่งสาขา เพื่อผลิตบัณฑิตที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาผลงานแอนิเมชันและเกมของไทยต่อไป
รู้จักคณบดี
ดร. กมล จิราพงษ์
คณบดี
ดร. กมล จิราพงษ์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลคอนเทนท์ โดยมีประสบการณ์การออกแบบสถาปัตยกรรม และสร้างสรรค์งาน 3 มิติตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นสถาปนิกอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
ผลงานของ ดร. กมล ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัล และจัดแสดงในระดับนานาชาติอยู่หลายครั้ง เช่น การแสดงผลงาน Perfect Shell ใน Best 3d graphics magazine ของประเทศสหรัฐอเมริกา และการได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวด Science and Technology in Digital Art Competition ปี 2001
เมื่อกลับมายังประเทศไทย ดร. กมล ได้มีโอกาสทำงานเป็นที่ปรึกษาและคณะกรรมการให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา รวมถึงได้มีส่วนร่วมในการวิจัยและจัดทำรายงานอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ไทย ด้านแอนิเมชั่นและเกม ปี 2550-2552
ปัจจุบัน ดร. กมล ดำรงตำแหน่งคณะทำงานโครงการ Thailand Planet ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งตามนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นกรรมการสถาบันเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติสาขาซอฟต์แวร์
วุฒิการศึกษา :
ปริญญาเอก: Ph.D. (Architecture and Digital Design)
Illinois Institute of Technology, Chicago, IL, USA
ปริญญาโท: Master of Architecture
Illinois Institute of Technology, Chicago, IL, USA
ปริญญาตรี: สถ.บ. (สถาปัตยกรรมศาสตร์)
มหาวิทยาลัยศิลปากร
ประสบการณ์การทำงาน :
บริษัท อาร์คินเดส จำกัด, กรุงเทพฯ(2546 – ปัจจุบัน)
ตำแหน่ง: กรรมการผู้จัดการ / หัวหน้าทีมออกแบบ
Skidmore, Owings & Merrill LLP, Chicago, Illinois, USA (2542-2545)
ตำแหน่ง: สถาปนิก
B+A Engineers Ltd, Chicago, Illinois, USA (2541-2542)
ตำแหน่ง: ที่ปรึกษาทางสถาปัตยกรรม
รางวัลที่ได้รับ :
Best Presentation Award, CAADRIA2003 จาก CAADRIA 2003
Second Place Award จาก TAACLL ( The Arts Alliance Center at Clear Lake), Science and Technology Digital Arts Competition 2001, USA
The Certificate of Merit, Excellence in the Study of Architecture; จาก Henry Adams Certificate 1997, Chicago, IL, USA
การดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน :
กรรมการสถาบันเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติสาขาซอฟต์แวร์ สำนักนายกรัฐมนตรี/คณะทำงานโครงการ Thailand Planet หน่วยงานบริหารนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำนักนายกรัฐมนตรี/ที่ปรึกษาด้านวิชาการ (การออกแบบและจัดแสดง – Exhibition & Interactive Media Design) หน่วยงาน พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์/กรรมการ หน่วยงาน สมาคมผู้สนใจด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก กรุงเทพฯ BANGKOK ACM SIGGRAPH/ที่ปรึกษา สมาคมนักพัฒนาเกมนานาชาติ กรุงเทพฯ (International Game Developer Association (IGDA), Bangkok Chapter)
การบริหารคณะ
คณะดิจิทัลมีเดียได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรที่มีคุณภาพของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ไทย (Thailand Digital Content Industry) ที่กาลังพัฒนาและขยายตัวสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างต่อเนื่อง
ดิจิทัลคอนเทนท์ คือ เนื้อหาหรือข้อมูลที่ถูกจัดทำและสื่อสารผ่านกระบวนการด้านดิจิทัลเทคโนโลยี
ความต้องการดิจิทัลคอนเทนท์มีอยู่มากมายในปัจจุบัน ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ได้ถูกผลิตขึ้น และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และเครื่องเล่นวิดีโอเกม เป็นต้น
การได้รับความนิยมของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่งผลให้เกิดความต้องการของเนื้อหาที่น่าสนใจซึ่งจะเป็นประโยชน์ให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้เป็นจำนวนมาก ในทางธุรกิจ ความสาคัญของเนื้อหาที่น่าสนใจที่ผลิตในรูปแบบดิจิทัลคอนเทนท์นี้มีมูลค่ามหาศาล เมื่อชิ้นงานใดได้รับความนิยมก็จะสามารถเข้าสู่กลุ่มผู้บริโภคได้ทั่วโลก ไม่เฉพาะในประเทศของตนเองเท่านั้น
ด้วยความเข้าใจการผลิตชิ้นงานด้านดิจิทัลคอนเทนท์ของผู้บริหาร อาจารย์ และผู้ให้การสนับสนุนต่างๆ ของคณะดิจิทัลมีเดีย รวมถึงความพร้อมในด้านเทคโนโลยี และห้องปฏิบัติการต่างๆ สร้างสรรค์ให้คณะฯ สามารถผลิตบัณฑิตที่มีความเข้าใจในกระบวนการสร้างสรรค์งานด้านดิจิทัลคอนเทนท์ ทั้งด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ได้อย่างลงตัว
ความภูมิใจของเราคือ การได้เห็นบัณฑิตของคณะฯ ประสบความสาเร็จไปพร้อมกันกับอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ไทยที่กาลังเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
ดร.กมล จิราพงษ์
คณบดีคณะดิจิทัลมีเดีย
ผังองค์กร
ปรัชญา
สร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลคอนเทนท์ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ของประเทศปณิธาน
รอบรู้ สร้างสรรค์ ทันเทคโนโลยีการจัดการความรู้
——————————————————————————————————————–
- ด้านการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ>>ไฟล์แนบ
- สรุปการดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้ >>ไฟล์แนบ
วิสัยทัศน์
พัฒนา School of Digital Media มหาวิทยาลัยศรีปทุม ให้เป็นที่รู้จักในฐานะสถาบันด้านดิจิทัลคอนเทนท์ชั้นนำของประชาคมอาเซียน
พันธกิจ
สร้างชื่อเสียงความนิยมในการเป็นศูนย์กลางพัฒนาวิชาชีพด้านดิจิทัลมีเดียพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นสูงและการศึกษาภาคภาษาอังกฤษ
ผลิตบัณฑิต และพัฒนาความสามารถของคณาจารย์ โดยเน้นคุณภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และสามารถวัดผลได้ในด้านของสมรรถนะ (Performance) ของการนาไปสู่เป้าหมาย และสนองตอบกลยุทธ์ให้มีความสำเร็จ
มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการเชิงบูรณาการ และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อยกระดับมาตรฐานความเป็นมืออาชีพ และสนับสนุนให้ร่วมงานกับองค์กรของรัฐและเอกชน
สร้างองค์กร ทีมงาน ให้มีความเข้มแข็ง บุคลากรทุกคนเข้าใจจุดมุ่งหมายของคณะฯ อย่างชัดเจน และปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล
สร้างพันธมิตรในวงการวิชาชีพทางด้านดิจิทัลมีเดีย ซึ่งจะเป็นเครือข่ายผลักดันให้วิชาการในคณะมีความทันสมัย
แผนดำเนินงานคณะดิจิทัลมีเดีย ประจำปีการศึกษา 2554
แผนดำเนินงานคณะดิจิทัลมีเดีย ปีการศึกษา 2554 >> ไฟล์แนบ
การประเมินคุณภาพของคณะดิจิทัลมีเดีย
คู่มือการประกันคุณภาพ
ระบบและกลไกประกันคุณภาพ คณะดิจิทัลมีเดีย >> ไฟล์แนบ
จรรยาบรรณวิชาชีพคณาจารย์
ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพคณาจารย์
จรรยาบรรณวิชาชีพคณาจารย์
แผนการจัดการความรู้ของคณะดิจิทัลมีเดีย ปีการศึกษา 2554 >> ไฟล์แนบ
การจัดพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอนที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ >> ไฟล์แนบ