แนะนำหน่วยงาน


โครงสร้าง GSIT

SIT ระดับบัณฑิตศึกษา หรือ GSIT เป็นหน่วยงานในสังกัดคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่มีความโดดเด่น เนื่องจากเป็นศูนย์รวมของผู้เชี่ยวชาญ และอาจารย์ในการดำเนินการวิจัยพัฒนาในโครงการที่น่าสนใจ และ มีความสำคัญต่อธุรกิจ และอุตสาหกรรม ISIS ดำเนินการภายใต้บรรยากาศของความรับผิดชอบ และทำงานร่วมกัน เกื้อหนุนซึ่งกันและกันที่มุ่งมั่นสร้างผลงานที่สามารถ ประยุกต์ได้จริงในการสร้างธุรกิจใหม่ๆ และมีส่วนในการสร้างความภูมิใจแก่ประเทศไทย

โครงสร้างของ GSIT  ประกอบด้วย

1) หลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา  4 หลักสูตร ได้แก่
  • Master of Science in Information Technology (M.S.IT.)
  • Master of Science in Computer Information System (M.S.CIS.)
  • Master of Science in Software Engineering (M.S.SE.)
  • Doctor of Philosophy Program in Information Technology (Ph.D.IT.)
      นักศึกษาปริญญาเอกทุกคนจะมีอาจารย์ที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ ร่วมศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมใหม่ ที่สามารถตีพิมพ์ได้ในสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการชั้นนำของโลก

2) GSIT Research and Development  
กลุ่มวิจัยและพัฒนา ดำเนินการวิจัยแบบพื้นฐานและแบบประยุกต์ในด้านระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ การสื่อสารและโทรคมนาคม การวิจัยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทคในด้านต่างๆ เช่นด้านธนาคารและการเงิน สาธารณสุข และวิทยาศาสตร์ชีวะภาพ ด้านสังคมศาสตร์และแรงงาน ศิลปและวัฒนธรรม การท่องเที่ยว ฝ่ายวิจัยและพัฒนาจะมุ่งเน้นในการค้นคว้า และพัฒนานวัตกรรมในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

กลุ่มระบบที่สามารถเรียนรู้ (Learning Technology Group)
ระบบที่สามารถเรียนรู้ตามพฤติกรรมของมนุษย์ จะต้องเป็นระบบที่มีปัญญา (Intelligent System) งานวิจัยในด้านนี้ จะศึกษาแบบปฎิสัมพันธ์ ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนทั้งแบบ Asynchronous synchronous และ Collaborative และระบบที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น โดยใช้ Intelligent Software Agent ทำงานเป็นติวเตอร์ นอกจากนี้ยังศึกษาวิจัยถึงการนำมาตรฐาน SCORM มาประยุกต์ใช้ในการสร้างเส้นทางเรียนที่ปรับเส้นทางได้ สิ่งที่ท้าทายการวิจัยระบบที่สามารถเรียนรู้ได้ คือการศึกษาถึงกรรมวิธีที่ประชาชนสามารถใช้ระบบบริการภาครัฐได้อย่างมั่นใจ โดยที่ระบบบริการภาครัฐสามารถตอบสนองต่อผู้มีทักษะการใช้ในระดับต่างๆได้อย่างอัตโนมัติ ห้องปฏิบัติการ Learning Innovation Technology Lab ภายใต้การนำของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์  มังสิงห์

การคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์ (Cloud Computing Group)
คลาวด์เป็นทั้งเทคโนโลยีและโมเดลธุรกิจที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบันทั้งในภาคธุรกิจและภาควิจัยและศูนย์วิจัยระดับโลกหลายแห่งเช่น Gartner พยากรณ์ว่าโลกอนาคตจะปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคของคลาวด์เต็มรูปแบบอย่างแน่นอน พื้นที่การทำวิจัยด้านคลาวด์จึงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องเป็นอย่างมาก ทั้งการทำวิจัยในระดับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure-as-a-Service research) การทำวิจัยในระดับแพลตฟอร์ม (Platform-as-a-Service research) การทำวิจัยระดับซอฟต์แวร์ (Software-as-a-Service research) และการทำวิจัยระดับนโยบายและมาตรฐาน (cloud policy&standard research) การบริหารจัดการและจัดดำเนินการ (cloud management & operation research) เศรษฐศาสตร์คลาวด์ (cloud economics) การประยุกต์ใช้คลาวด์กับเทคโนโลยีทืี่สำคัญได้แก่ 1) Big Data on Clouds เช่น Hadoop-as-a-Service บน public & private clouds ทั้ง Amazon, Microsoft, Google  และ 2) Mobile cloud computing เช่น Cloud/client architecture ซึ่งพยากรณ์ไว้โดย Gartner นอกจากนี้ยังมีพื้นที่การวิจัยแห่งอนาคต (future research) ได้แก่ Pervasive cloud computing ที่น่าจับตามอง อนึ่ง Research ecosystem ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การนำของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เทพฤทธิ์ บัณฑิตวัฒนาวงศ์

Business Intelligence
 ดร.นิเวศ จิระวิชิตชัย

กลุ่มความมั่งคงปลอดภัย (ICT Security Group)
ความมั่งคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศมีความสำคัญมากในสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากการใช้ ICT ในเกือบทุกกิจกรรมของสังคมมนุษย์ งานวิจัยจะมุ่งเน้นในการศึกษาถึงธรรมชาติและพฤติกรรมการบ่อนทำลายระบบ ตลอดจนศึกษาถึงกิจกรรม วิธีและเทคนิคในการทดสอบการเจาะระบบ (Penetration Testing) การพัฒนาเทคนิค Hardening การประยุกต์ใช้มาตรฐานความมั่งคงปลอดภัย เช่น COBIT, IS017799, ฯลฯ การศึกษาด้านเทคนิคและการประยุกต์ Common Criteria การวิจัย Security ของ ระบบ Mobile ระบบ e-Commerce และอุปกรณ์ LTE  กลุ่มความมั่งคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ นำทีมโดย ดร.ประสงค์ ปราณีตพลกรัง ซึ่งเป็นผู้จัดการ ห้องปฏิบัติการ GSIT Cyber Security Lab

กลุ่มเว็บเทคโนโลยี (Web Technology Group)
งานวิจัยในด้านนี้จะศึกษารูปแบบเว็บที่ใช้เทคโนโลยีแบบบูรณาการ โดยจะเน้นที่การศึกษา Semantic Technology และ Ontology ตลอดจนการจัดการเนื้อหาในรูปแบบกระจาย เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ นอกจากนั้นยังดำเนินการวิจัยในด้าน Next Generation Internet Applications, Personalization Technology, Zero-Switching Time Multi-Video Streaming in Mobile Environment, Web Analytic Intelligence, Web Accessibility. นอกจากนี้ กลุ่มเว็บเทคโนโลยี มุ่งพัฒนาทักษะให้นักศึกษาให้สามารถสร้างซอฟต์แวร์และเนื้อหาบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และ Google App. ภายใต้ห้องปฏิบัติการ ISIS Web Innovation Research Lab

กลุ่มวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering Group)
งานวิจัยและพัฒนาในด้านนี้จะศึกษาถึงกรรมวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์ในระดับบุคคล ระดับทีม และระดับโครงการ เทคโนโลยีการสร้างซอฟต์แวร์ตามกรรมวิธี Product Line Architecture การบริหารการ พัฒนาซอฟต์แวร์ตามแนวทาง CMMi และการวิจัยการทดสอบซอฟต์แวร์แบบบูรณาการ  การวิจัยเพื่อค้นหาซอฟต์แวร์ที่สามารถประกอบตัวเองได้ ซึ่งชิ้นส่วนซอฟต์แวร์จะต้องมีความฉลาดและมีกลไกที่จะปรับตนเองให้หล่อหลอมกับชิ้นส่วนอื่นๆ ภายในกรอบการออกแบบเดียวกัน นอกจากนั้นยังมุ่งเน้นในการค้นหากรรมวิธีที่มีประสิทธิภาพในการออกแบบ 4th Generation User Interface ในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์  ISIS ให้ความสำคัญงานวิจัยแบบ Demand Computing บนระบบ Cloud และ การทดสอบ นอกจากงานวิจัยและพัฒนาแล้ว    ห้องปฏิบัติการISIS Software Engineering  Lab สนุบสนุน หลักสูตรวิศกรรมซอฟต์แวร์ MS.SE. ที่แยกเป็น 4 Tracks ประกอบด้วย Google Track, Apple Track, Microsoft Track, และ IBM Track ซึ่งนักศึกษาสามารถเลือกความชำนาญเฉพาะทางตั้งแต่วันแรกที่เข้าศึกษาในหลักสูตรระดับ ปริญญาโท MS.SE.

กลุ่มเทคโนโลยีซอฟต์แวร์และมีเดีย (Software and Media Group)
ธุรกิจบันเทิงที่ใช้ Digital Media คือ ภาพยนตร์ เกม ดนตรีซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์จิตนการและพลังสร้างสรรค์ของมนุษย์ งานวิจัยในด้านนี้จะมุ่งเน้นการศึกษารูปแบบการนำเสนออันหลากหลาย ที่เป็นที่พึงพอใจของมนุษย์ ซึ่งจะเป็นฐานในการวิจัยถึง เรื่อง Visualization ที่มีผลกระทบสูงในการสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับประสบการณ์ดังกล่าว การพัฒนาระบบปฎิสัมพันธ์ระหว่าง Virtual Objects และ Real Objects การสร้างซอฟต์แวร์ Agent ที่ใช้ควบคุมตัวละคร การวิจัยถึงการผลิตชิ้นงานดิจิทัลมีเดียที่สามารถใช้ข้ามระบบได้ เช่นใช้กับระบบแอนดรอยด์ และระบบ iPhone/iPad ได้

Big Data Analytics Group
Big Data เป็นหัวข้อหนึ่งที่มีการกล่าวถึง และได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ส่วนหนึ่งก็อาจเป็นเพราะว่าข้อมูลในโลกของอินเตอร์เน็ตเรื่มมีมากขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลจาก Social Network ที่มีผู้คนเข้ามาอัพเดทข้อมูลตลอดเวลา การจัดการ Big Data จึงจำเป็นต้องใช้ระบบการเก็บข้อมูลหรือการประมวลในรูปแบบอื่นๆที่อาจไม่ใช้เพียงแค่ฐานข้อมูล RDBMS แบบเดิมๆ  ซอฟต์แวร์ที่สำคัญตัวหนึ่งที่มีการนำมาใช้กันมากในระบบ Big Data คือ Hadoop ซึ่ง เป็น Open Source Technology ที่จะทำหน้าที่เป็น Distributed Storage ที่สามารถเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ที่เป็น Unstructure และนำมาประมวลผลได้ การพัฒนา Big Data ที่สำคัญประการหนึ่งก็คือการปรับปรุงโครงสร้างระบบไอทีขององค์กรด้านข้อมูล (Information Infrastructure) รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้เข้าใจถึงเทคโนโลยีด้าน Big Data ใหม่ๆ รวมถึงการวางแผนในการนำข้อมูลทั้ง Structure และ Unstructure จากภายในและภายนอกองค์กรมาใช้งาน