โดยให้ศูนย์ความเชี่ยวชาญมีหน้าที่ ดังนี้
- จัดทำแผนบริการวิชาการ โดยส่งเสริมให้คณาจารย์ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในสาขาที่เชี่ยวชาญให้เกิดประโยชน์แก่สังคม
- ให้บริการวิชาการแก่สังคมตามคำร้องขอจากหน่วยงานภายนอก
- เผยแพร่ผลงานคณาจารย์ในแต่ละสาขาความเชี่ยวชาญแก่สาธารณชน
- ร่วมมือกับสาขาวิชา เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของนักศึกษา ให้เกิดความเชี่ยวชาญในวิชาชีพตามสาขาที่สนใจ
(Study and Applied Research Group on Microcontroller, Electronic and Telecommunication: SARGMET)
หัวหน้าศูนย์ความเชี่ยวชาญ ผศ.ดร.ปรีชา กอเจริญ สมาชิก
- อ.ดร.ปรีชา กอเจริญ
- อ.ดร.สัญญา คูณขาว
- อ.เติมพงษ์ ศรีเทศ
- อ.พศวีร์ ศรีโหมด
- อ.เพชร นันทิวัฒนา
หลักการและเหตุผล การประยุกต์ใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์และสื่อสารโทรคมนาคม เป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งในปัจจุบัน ทั้งในการศึกษา และวิจัยในมหาวิทยาลัย และในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสารโทรคมนาคม สามารถทำการ ประมวลผลเพื่อคิด และตัดสินใจ ในกระบวนการต่างๆ รวมถึงการสื่อสารข้อมูลต่างๆได้ เช่นการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ การนำมาใช้ควบคุม การแสดงผล การนำมาใช้สำหรับ การวัดคุม การนำมาเป็นหัวใจของการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ การใช้งานในด้านสมองกล ฝังตัว และในด้านอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นการศึกษาและวิจัยเชิงประยุกต์ใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์และสื่อสารโทรคมนาคม จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง สำหรับอาจารย์ และนักศึกษา ทั้งนี้ไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสารโทรคมนาคม ได้มีการจัดการเรียนการสอนในภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าทั้งในรายวิชาทฤษฎี และรายวิชาปฏิบัติ อยู่แล้วสำหรับนักศึกษาทุกๆคน แต่ยังขาดในด้านการปฎิบัติการประยุกต์ใช้งาน และวิจัยสำหรับนักศึกษาที่สนใจในด้านนี้โดยเฉพาะ วัตถุประสงค์
- เพื่อรวมกลุ่มนักวิจัยที่สนใจในด้านการศึกษาและวิจัยเชิงประยุกต์ใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์และสื่อสารโทรคมนาคม
- เพื่อพัฒนาการประยุกต์ใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสารโทรคมนาคมในด้านต่างๆ เช่นการควบคุม การวัดคุม หุ่นยนต์ เป็นต้น
- เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญการประยุกต์ใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสารโทรคมนาคม
- เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ในชั้นปีที่ 2 – 4 ได้มีโอกาสแสดงออกในด้านความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ โดยเข้าร่วมเป็นผู้ช่วยนักวิจัย หรือเข้าร่วมปฎิบัติการทดลองในการประยุกต์ใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสารโทรคมนาคม
- เพื่อเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เผยแพร่ความรู้ และจัดอบรมการประยุกต์ใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสารโทรคมนาคม
- เพื่อออกใบรับรองให้กับนักศึกษาที่เข้าร่วมปฎิบัติการทดลองฯ และผ่านการทดสอบความรู้ ในระดับต่างๆ เช่น ระดับเบื้องต้น ระดับกลาง หรือระดับสูง เป็นต้น
- เพื่อเป็นที่ปรึกษาสำหรับนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ที่ทำโครงงานวิศวกรรมไฟฟ้าเกี่ยวข้องกับไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสารโทรคมนาคม
เป้าหมาย
เป็นกลุ่มนักวิจัยที่มีอาจารย์ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ และนักศึกษาเป็นส่วนร่วม เพื่อทำการศึกษาและวิจัยเชิง ประยุกต์ไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสารโทรคมนาคม ทำการสร้างผู้เชี่ยวชาญในการใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสารโทรคมนาคม ทำการเผยแพร่ความรู้ ทำการจัดอบรม เป็นที่ปรึกษาสำหรับนักศึกษาที่ทำโครงงานวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นกลุ่ม ที่มีสถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ ต่างๆเพื่อทำการศึกษา และวิจัย ทำการทดสอบความรู้เพื่อออกใบรับรองความสามารถ การใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสารโทรคมนาคม ในระดับต่างๆ (หัวข้อนี้อาจถูกนำไปใช้ในกรณีที่กรรมการสอบโครง งานเห็นว่าโครงงานที่นักศึกษาเสนอมีเรื่องเกี่ยวข้องกับ ไมโครคอนโทรลเลอร์และอิเล็กทรอนิกส์อยู่มากจึงให้นักศึกษาที่ จะทำโครงงานนี้ ต้องผ่านการทดสอบความรู้ในด้านการประยุกต์การใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสารโทรคมนาคม ในระดับที่เหมาะสมกับที่ต้องใช้ในโครงงานฯ) ผู้เข้าร่วมโครงการ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 – 4
เครื่องมือ และอุปกรณ์
เครื่องมือและอุปกรณ์ในเบื้องต้นส่วนหนึ่ง ได้รับสนับสนุนจากทางภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าให้ใช้เครื่องมือที่มีอยู่ใน ห้องปฎิบัติการต่างๆ และต่อไปเมื่อจัดอบรมเผยแพร่ความรู้ หรือมีรายได้อื่นๆเข้ามาก็จะนำมาใช้สนับสนุนเครื่องมือและ อุปกรณ์เพิ่มเติม ผลงาน – ดำเนินการจัดกิจกรรม ศรีปทุมแรลลี่รถอัจฉริยะขนาดเล็ก (SPU Smart Tiny-Car Rally) ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม 2552 (ไม่มีหัวข้อนี้) - “เครื่องบีบอัดและคัดแยกที่เปิดกระป๋องอลูมิเนียมอัตโนมัติ” สามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 จากสาขา“รางวัลนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ ประจำปี 2551” ระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ประเภทที่ 1 อุปกรณ์รักษาสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในงานวันนักประดิษฐ์แห่งชาติ ณ ฮอลล์ 9 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 2-5 กุมภาพันธ์ 2552
(Industrial Standard System Management Center: ISSMC)
ผู้รับผิดชอบ
หัวหน้าศูนย์ สุพัฒตรา เกษราพงศ์
ISO9001 อัศวิน วงศ์วิวัฒน์ / สุพัฒตรา เกษราพงศ์ / ธนิน ศรีวะรมย์ /พัฒนพงศ์ อริยสิทธิ์
ISO14001 ธรินี มณีศรี / ชวลิต มณีศรี / ธนิน ศรีวะรมย์ / สุพัฒตรา เกษราพงศ์ /พัฒนพงศ์ อริยสิทธิ์
OHSAS18001 ชวลิต มณีศรี / สุพัฒตรา เกษราพงศ์
ISO/IEC17025 ธรินี มณีศรี / ชวลิต มณีศรี / จักรพันธ์ กัณหา
TIS/มอก. ธรินี มณีศรี / ชวลิต มณีศรี / อัศวิน วงศ์วิวัฒน์ / ธนิน ศรีวะรมย์ /จักรพันธ์ กัณหา
Secretary ปทิตตา ชื่นรุ่ง
ที่ตั้ง ห้องสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
ขอบเขตงาน
การสอน สอนนักศึกษาให้มีความรู้ซึ่งจะเป็นจุดเด่นในการสมัครงาน
อบรม ISO9001/ ISO14001/ OHSAS18001/ ISO/IEC17025 / TIS/มอก. – Introduction, Document, Requirement, Internal Audit, Integration
ให้คำปรึกษา Cert. ISO9001/ ISO14001/ OHSAS18001/ ISO/IEC17025 / TIS/มอก.
วิจัย ผลงานวิจัยหรือวิชาการ
รายรับ
การฝึกอบรม ขั้นต่ำ 1,000 บาท/คน.วัน
การให้คำปรึกษา ISO/TIS ขั้นต่ำ 80,000 บาท/โครงการ
งบลงทุน
สถานที่ ปรับปรุงห้องเพื่อติดต่อรับงาน 40,000 บาท
เอกสาร เอกสารระบบงาน และมาตรฐานอ้างอิง 60,000 บาท
อบรมบุคลากร *Lead Auditor (3 ระบบ* 3 คน* 20,000 บาท) 180,000 บาท
** ความรู้ทั่วไป (4 ระบบ* 3 คน* 5,000 บาท) 60,000 บาท
อุปกรณ์ติดต่อ โทรศัพท์/โทรสาร 5,000 บาท
(*เป็น Option เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือในการให้คำปรึกษา/ฝึกอบรม) (** ต้องอบรมทบทวน)
ค่าดำเนินการ
ค่าติดต่อลูกค้า โทรศัพท์/โทรสาร 2,000 บาท
ส่วนอื่นๆ ไม่มีเนื่องจากใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว
การจัดสรรรายได้
ค่าใช้จ่าย เช่น ค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงาน ค่าเอกสาร ค่าเช่าที่กรณีฝึกอบรม ค่าเดินทาง
กำไรหลังจากหักค่าใช้จ่าย จัดสรรดังนี้
SPU 20%
คณะวิศวกรรมศาสตร์ 20%
สาขาวิชา 60%
แผนการดำเนินงาน
ระยะที่ 1 (มีนาคม – พฤษภาคม 2553) ขออนุมัติ/ปรับปรุงสถานที่/จัดเตรียมเอกสาร/อบรมความรู้
ระยะที่ 2 (มิถุนายน – ธันวาคม 2553) อบรม Lead Auditor / บริการฝึกอบรมและให้คำปรึกษา
ระยะที่ 3 (มกราคม – ธันวาคม 2554) พิจารณาเสริมในมาตรฐานที่ยังไม่มี (อบรมเพิ่ม/เตรียมเอกสาร
ผลที่ได้รับ
- ตอบสนองต่อตัวบ่งชี้ด้านประกันคุณภาพของ สกอ. และ สมศ. เช่น แหล่งบริการวิชาการ จำนวนโครงการบริการวิชาการ และผู้มีส่วนร่วมในการบริการวิชาการ
- นักศึกษาที่ผ่านงานได้รับใบเกียรติบัตร เพื่อใช้ในการสมัครงาน และเป็นการสร้างจุดเด่นให้บัณฑิตศรีปทุม
- เป็นแหล่งบริการทางวิชาการที่สถานประกอบการหรือหน่วยงานตระหนักถึง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อศรีปทุมในหลายๆ ด้าน
- เป็นแหล่งสร้างความชำนาญให้แก่คณาจารย์ ซึ่งทำให้สร้างผลงานวิชาการหรืองานวิจัยได้ ส่งผลต่อตัวบ่งชี้ด้านประกันคุณภาพด้วยเช่นกัน
- สร้างรายได้ให้มหาวิทยาลัย
(Construction Innovation and Business Assistance Center: CIBAC)
หัวหน้าศูนย์ความเชี่ยวชาญ อ.ไพจิตร ผาวัน
โดยให้ศูนย์ความเชี่ยวชาญมีหน้าที่ ดังนี้
- จัดทำแผนบริการวิชาการ โดยส่งเสริมให้คณาจารย์ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในสาขาที่เชี่ยวชาญให้เกิดประโยชน์แก่สังคม
- ให้บริการวิชาการแก่สังคมตามคำร้องขอจากหน่วยงานภายนอก
- เผยแพร่ผลงานคณาจารย์ในแต่ละสาขาความเชี่ยวชาญแก่สาธารณชน
- ร่วมมือกับสาขาวิชา เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของนักศึกษา ให้เกิดความเชี่ยวชาญในวิชาชีพตามสาขาที่สนใจ
(Power and Energy Research Center; PERC)
หัวหน้าศูนย์ความเชี่ยวชาญ ผศ.ดร.กีรติ ชยะกุลคีรี
โดยให้ศูนย์ความเชี่ยวชาญมีหน้าที่ ดังนี้
- จัดทำแผนบริการวิชาการ โดยส่งเสริมให้คณาจารย์ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในสาขาที่เชี่ยวชาญให้เกิดประโยชน์แก่สังคม
- ให้บริการวิชาการแก่สังคมตามคำร้องขอจากหน่วยงานภายนอก
- เผยแพร่ผลงานคณาจารย์ในแต่ละสาขาความเชี่ยวชาญแก่สาธารณชน
- ร่วมมือกับสาขาวิชา เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของนักศึกษา ให้เกิดความเชี่ยวชาญในวิชาชีพตามสาขาที่สนใจ
(Energy Research and Consulting Excellence; EnRaCE)
หัวหน้าศูนย์ความเชี่ยวชาญ ดร.เทพฤทธิ์ ทองชุบ
โดยให้ศูนย์ความเชี่ยวชาญมีหน้าที่ ดังนี้
- จัดทำแผนบริการวิชาการ โดยส่งเสริมให้คณาจารย์ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในสาขาที่เชี่ยวชาญให้เกิดประโยชน์แก่สังคม
- ให้บริการวิชาการแก่สังคมตามคำร้องขอจากหน่วยงานภายนอก
- เผยแพร่ผลงานคณาจารย์ในแต่ละสาขาความเชี่ยวชาญแก่สาธารณชน
- ร่วมมือกับสาขาวิชา เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของนักศึกษา ให้เกิดความเชี่ยวชาญในวิชาชีพตามสาขาที่สนใจ
(Building Performance Investigation Center; BPIC)
หัวหน้าศูนย์ความเชี่ยวชาญ ผศ.ดร.คมวุธ วิศวไพศาล
โดยให้ศูนย์ความเชี่ยวชาญมีหน้าที่ ดังนี้
- จัดทำแผนบริการวิชาการ โดยส่งเสริมให้คณาจารย์ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในสาขาที่เชี่ยวชาญให้เกิดประโยชน์แก่สังคม
- ให้บริการวิชาการแก่สังคมตามคำร้องขอจากหน่วยงานภายนอก
- เผยแพร่ผลงานคณาจารย์ในแต่ละสาขาความเชี่ยวชาญแก่สาธารณชน
- ร่วมมือกับสาขาวิชา เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของนักศึกษา ให้เกิดความเชี่ยวชาญในวิชาชีพตามสาขาที่สนใจ
(Computer Aided Mechanical Design Training Center; CAMeD Training Center)
หัวหน้าศูนย์ความเชี่ยวชาญ อ.เอกพล เตี้ยซั้ว
โดยให้ศูนย์ความเชี่ยวชาญมีหน้าที่ ดังนี้
- จัดทำแผนบริการวิชาการ โดยส่งเสริมให้คณาจารย์ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในสาขาที่เชี่ยวชาญให้เกิดประโยชน์แก่สังคม
- ให้บริการวิชาการแก่สังคมตามคำร้องขอจากหน่วยงานภายนอก
- เผยแพร่ผลงานคณาจารย์ในแต่ละสาขาความเชี่ยวชาญแก่สาธารณชน
- ร่วมมือกับสาขาวิชา เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของนักศึกษา ให้เกิดความเชี่ยวชาญในวิชาชีพตามสาขาที่สนใจ
(System Integration Center; SIC)
หัวหน้าศูนย์ความเชี่ยวชาญ ผศ.ดร.เริงวุฒิ ชูเมือง
โดยให้ศูนย์ความเชี่ยวชาญมีหน้าที่ ดังนี้
- จัดทำแผนบริการวิชาการ โดยส่งเสริมให้คณาจารย์ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในสาขาที่เชี่ยวชาญให้เกิดประโยชน์แก่สังคม
- ให้บริการวิชาการแก่สังคมตามคำร้องขอจากหน่วยงานภายนอก
- เผยแพร่ผลงานคณาจารย์ในแต่ละสาขาความเชี่ยวชาญแก่สาธารณชน
- ร่วมมือกับสาขาวิชา เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของนักศึกษา ให้เกิดความเชี่ยวชาญในวิชาชีพตามสาขาที่สนใจ
(Earthquake Engineering Research Unit; EquakER Unit)
หัวหน้าศูนย์ความเชี่ยวชาญ รศ.ดร.ไพบูลย์ ปัญญาคะโป
โดยให้ศูนย์ความเชี่ยวชาญมีหน้าที่ ดังนี้
- จัดทำแผนบริการวิชาการ โดยส่งเสริมให้คณาจารย์ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในสาขาที่เชี่ยวชาญให้เกิดประโยชน์แก่สังคม
- ให้บริการวิชาการแก่สังคมตามคำร้องขอจากหน่วยงานภายนอก
- เผยแพร่ผลงานคณาจารย์ในแต่ละสาขาความเชี่ยวชาญแก่สาธารณชน
- ร่วมมือกับสาขาวิชา เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของนักศึกษา ให้เกิดความเชี่ยวชาญในวิชาชีพตามสาขาที่สนใจ