แนะนำหน่วยงาน


รู้จักคณะ

 
UploadImage “Simply Significant”  พลังสำคัญ ผลักดันสู่ความสำเร็จ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เชื่อว่าทุกๆคนมีความสำคัญเสมือนทุกๆฟันเฟืองในการผลักดันให้เกิดผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ร่วมกัน มีปรัชญาในการเรียนการสอนที่คัดสรรมุ่งเน้นในสิ่งสำคัญ สามารถใช้เป็นประโยชน์ กลั่นกรองเรื่องยากซับซ้อนทางวิศวกรรมให้เข้าใจง่าย ใช้งานได้จริง ผ่านการฝึกปฏิบัติอย่างตรงจุด ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ลึกและ สนุกกับประสบการณ์จริง เป็นบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญในสังคม
ประวัติความเป็นมา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ถือกำเนิดจาก คณะโปลีเทคนิค ซึ่งได้รับอนุญาตจัดตั้งขึ้นเป็นคณะเริ่มต้นพร้อมกับการก่อตั้งวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ปีพุทธศักราช 2513 ในระยะแรกเปิดดำเนินการสอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปว.ส.) รวม  4  สาขาวิชา ได้แก่ ช่างไฟฟ้ากำลัง ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างยนต์ และช่างก่อสร้าง ซึ่งใช้ระยะเวลาศึกษา 2 ปี
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2530 ทบวงมหาวิทยาลัยอนุญาตให้เปิดดำเนินการสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า โดยมีระยะเวลาศึกษา 4 ปี ซึ่งเป็นระดับปริญญาตรี และยกฐานะจากวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยศรีปทุม ดังนั้น คณะโปลีเทคนิค จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานภาพการจัดการศึกษา เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์  ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2530 เป็นต้นมา ถึงปัจจุบัน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีการพัฒนาด้านวิชาการอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยได้เปิดสอนตามหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย (ม.6) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เข้าศึกษาทั้งภาคปกติและภาคค่ำ  ดังนี้
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา  สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และสาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์
หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมก่อสร้าง
ปัจจุบัน ทุกหลักสูตรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษา จากสำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ได้ให้การรับรองปริญญา ทำให้บัณฑิตมีศักดิ์และสิทธิ์เท่าเทียมกับบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยของรัฐทุก ประการ นอกจากนี้แล้ว สภาวิศวกรให้การรับรองหลักสูตรและสถาบัน บัณฑิตวิศวกรสามารถยื่นขอรับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมได้ตามที่ต้องการ
จากจุดเริ่มต้น ซึ่งมีนักศึกษาไม่มากนัก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ระดับแนวหน้าของประเทศไทยและเป็นที่ยอมรับกัน โดยทั่วไปในระดับสากล  มีอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษที่ทรงคุณวุฒิ จำนวนมาก ในปีหนึ่งๆ คณะวิศวกรรมศาสตร์สามารถผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาต่างๆ ที่มีคุณภาพเข้าสู่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประมาณ   900  คน
พุทธศักราช  2532
เปิดดำเนินการสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์  และหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า  ซึ่งเป็นหลักสูตร 4 ปี และต่อเนื่อง 2 ปี ตามลำดับ
พุทธศักราช 2533
ได้เปิดสอนใน หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต เพิ่มเติมอีก 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์  สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมก่อสร้าง และเปิดสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล อีก  1  สาขาวิชา
พุทธศักราช 2536
มีการปรับปรุงหลัก-สูตรทุกสาขาวิชา เพื่อให้ทันสมัย สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่และเปิด ดำเนินการสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา พร้อมกันนั้นได้ยกเลิกการจัดการศึกษาในระดับ ป.ว.ส. ทั้งหมด
พุทธศักราช 2539 และ 2542
มีการปรับปรุงหลักสูตรทุกสาขาวิชา เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (ก.ว.)
พุทธศักราช 2543
เปิดดำเนินการสอนในหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
พุทธศักราช  2546
เปิดดำเนินการสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ และปรับปรุงหลักสูตรทุกสาขาวิชาเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของสภาวิศวกร
ปัจจุบัน ทุกหลักสูตรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษา จากทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) ได้ให้การรับรองปริญญา ทำให้บัณฑิต สามารถสอบบรรจุเข้ารับราชการได้ นอกจากนี้แล้วสภาวิศวกรให้การรับรองหลักสูตรและสถาบันบัณฑิตวิศวกรสามารถยื่นขอรับใบ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมได้จากจุดเริ่มต้น ซึ่งมีนักศึกษาไม่มากนัก  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ระดับแนวหน้าของประเทศไทยและเป็นที่ยอมรับกัน โดยทั่วไปในระดับสากล  ปัจจุบันนับเป็นปีที่ 36 ของการสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทุกหลักสูตรมี นักศึกษาทั้งภาคปกติ และภาคค่ำ มีอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษที่ทรงคุณวุฒิจำนวนมาก ในปีหนึ่งๆ คณะวิศวกรรมศาสตร์สามารถผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาต่างๆ ที่มีคุณภาพเข้าสู่หน่วยงานราชการและเอกชน ประมาณ 900 คน
พุทธศักราช 2546
คณะวิศวกรรมศาสตร์จัดการเรียนการสอนและการวิจัย ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่สำคัญประกอบด้วย 5 ภาควิชา และศูนย์วิจัย 1 ศูนย์ ได้แก่
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ภาควิชาเมคาทรอนิกส์ ศูนย์วิจัยและปฏิบัติการทดลองทางวิศวกรรม พุทธศักราช  2549 คณะวิศวกรรมศาสตร์เปิดสาขาวิชาเพิ่มอีก  2  สาขาวิชา  ได้แก่
สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต ตลอด เวลาแห่งการพัฒนา แม้ว่าจะมีปัจจัยต่างๆ ที่เป็นอุปสรรค และมีความยากลำบากในการจัดการศึกษา อันเนื่องจากความผันผวนทางด้านเศรษฐกิจและอื่นๆ แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจของบุคลากร และของศิษย์เก่าทุกรุ่น ทำให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ ยังคงสามารถก้าวต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง และมั่นคง
ผลจากความมุ่งมั่น และอุตสาหะในการศึกษาเล่าเรียน โดยไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก  และความเพียรพยายามในการประกอบอาชีพของศิษย์รุ่นพี่ จนประสบความสำเร็จ ล้วนเป็นแบบอย่างที่ดีที่นักศึกษารุ่นปัจจุบันควรจะได้ตระหนัก และดำเนินรอยตาม เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้ชาววิศวะ-ศรีปทุม ทุกคนเรียนรู้คุณค่าแห่งความอดทน ความเสียสละ และความรับผิดชอบต่อหน้าที่  ทำให้เป็นบัณฑิตวิศวกรที่มีคุณค่าต่อสังคม เป็นเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยศรีปทุมตลอดไป และตลอดกาล




 

​รู้จักคณบดี

 
Chonlathis03
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์

 
วุฒิการศึกษา :
Post Doctoral Research Associate: Renewable & Alternative Energy
Duke University, USA
ปริญญาเอก: Doctor of Philosophy (Mechanical Engineering)
North Carolina State University, USA
ปริญญาโท: Master of Science (Mechanical Engineering)
Southern Illinois University at Carbondale, USA
ปริญญาตรี: วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 
ประสบการณ์การทำงาน :
Faculty of Engineering
ตำแหน่ง: Head of Mechanical Engineering Department
Fantasia Villa Co., Ltd.
ตำแหน่ง: Project Director
Fabrinet Co., Ltd.
ตำแหน่ง: Engineering Manager
Triangle Research Corporation, Raleigh NC, USA
ตำแหน่ง: Research Associate
Jardine Matheson (Thailand)
ตำแหน่ง: Site Engineer

 
การดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน :
- คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล และนักวิจัย ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สายความเชี่ยวชาญด้านระบบพลังงาน
- นักวิชาการ ที่ปรึกษา และวิทยากร ด้านอนุรักษ์พลังงานในโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานของ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

 
ความสามารถพิเศษ :
มีความเชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมพลังงาน ผลงานวิชาการรวมถึงการวิจัยและงานวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมพลังงาน โดยมีผลงานวิจัยตีพิมพ์แบบ peer-reviewed อย่างต่อเนื่องมากกว่า 14 บทความ เป็นที่ปรึกษาด้านระบบการใช้พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมและอาคาร รวมมากกว่า 27แห่ง การเป็นวิทยากรบรรยายแก่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งในแง่เทคนิคการอนุรักษ์และระบบการจัดการพลังงาน ประสบการณ์ในภาคอุตสาหกรรมในฐานะผู้จัดการวิศวกรรม บริหารการผลิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกและโทรคมนาคมขนาดใหญ่ การบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ในฐานะผู้อำนวยการพัฒนาโครงการหมู่บ้านได้รางวัลอาคารอนุรักษ์พลังงานจากกระทรวงพลังงาน บริหารงานวิศวกรรมควบคุมติดตั้งระบบทำความเย็นขนาดใหญ่ในอาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า อาคารสนามบิน
 

การบริหารคณะ



ผศ.ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล
“วิศวกรรมศาสตร์ เป็นวิชาที่ต้องทำได้จริง เราจึงสร้างนักศึกษาให้เป็นผู้ปฏิบัติ ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญซึ่งสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมได้เป็นอย่างดีคือ ห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยที่เราพัฒนาอยู่ตลอดเวลา”

 

 
ปรัชญา

“ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะในสาขาที่ศึกษาอย่างแท้จริง เพื่อนำไปประกอบวิชาชีพวิศวกรรมได้ และมีจิตสำนึกในจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกรรม มีจริยธรรม และคุณธรรมเพื่อเป็นทรัพยากรที่มีค่าของประเทศชาติ”
 

พันธกิจ

มุ่งสร้างวิศวกรนักปฏิบัติผู้เป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรม มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ มีทักษะการสื่อสารและสามารถใช้ภาษาที่สองได้ดี รวมถึงมีจรรยาบรรณและมีคุณธรรมจริยธรรม ให้บริการวิชาการด้านวิศวกรรมแก่สังคมโดยเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานชาติ ผลิตนวัตกรรมและงานวิจัย เพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรม และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ส่งเสริมประชาธิปไตย ห่างไกลยาเสพติด อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีของชาติสืบต่อไป พัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานของคณะให้มีความทันสมัยและมาตรฐานทัดเทียมนานาอารยประเทศ
 

ปณิธาน 

“รู้คิด รู้ทำ ผู้นำเทคโนโลยี มีจรรยาบรรณ  สร้างสรรค์  สามัคคี  ชีวีเบิกบานเชี่ยวชาญปฏิบัติ”

 

วิสัยทัศน์

“คณะวิศวกรรมกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นสถาบันผลิตวิศวกรมืออาชีพ ผู้เป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรมเป็น อันดับหนึ่ง”