ประวัติความเป็นมา
คณะบริหารธุรกิจ มีประวัติและวิวัฒนาการควบคู่กับมหาวิทยาลัยมาโดยตลอด โดยได้จัดตั้งพร้อมกับการสถาปนา “วิทยาลัยไทยสุริยะ” เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2513 ต่อมาเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2515 วิทยาลัยไทยสุริยะ ได้รับพระราชทานนามใหม่จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็น “วิทยาลัยศรีปทุม” พร้อมทั้งทรงพระกรุณาให้ความหมายชื่อวิทยาลัยว่า “วิทยาลัยศรีปทุม” มาจากคำว่า “ศรี” กับ “ปทุม” มีความหมายว่า “เป็นบ่อเกิดแห่งวิชาที่เบิกบานเช่นดอกบัว” และกระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นชื่อวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2515 ด้วยผลงานของการพัฒนาด้านต่างๆ และปณิธานที่แน่วแน่มั่นคง ทบวงมหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปลี่ยนประเภทเป็น “มหาวิทยาลัยศรีปทุม” เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2530
คณะบริหารธุรกิจเดิมใช้ชื่อว่า คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการสอนเป็นครั้งแรกในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) สาขาวิชาการบัญชี และสาขาวิชาการตลาด เมื่อปี พ.ศ. 2513 ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะบริหารธุรกิจ หลังจากที่ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนเป็นประเภทมหาวิทยาลัยแล้ว คณะบริหารธุรกิจได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดดำเนินการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร และสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร ในปี พ.ศ. 2530 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการตลาด และสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม ในปีการศึกษา 2531 สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศในปีการศึกษา 2532 และสาขาวิชาการบริหารงานบุคคล ในปีการศึกษา 2534 และได้รับอนุญาติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้แก้ไขชื่อหลักสูตรบริหารธุรกิจ และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการบริหาร เป็นสาขาวิชาการจัดการในปี พ.ศ. 2534 และจากสาขาวิชาการบริหารงานบุคคล เป็นสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในปีการศึกษา 2541 นอกจากนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการขยายโอกาสการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น มหาวิทยาลัยได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดดำเนินการสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตในปี การศึกษา 2530 และได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2532 รวมทั้งขยายการศึกษาของคณะบริหารธุรกิจไปยังวิทยาเขตชลบุรีในปีการศึกษา 2530 โดยได้รับการรับรองวิทยฐานะเช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน
คณะบริหารธุรกิจเดิมใช้ชื่อว่า คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการสอนเป็นครั้งแรกในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) สาขาวิชาการบัญชี และสาขาวิชาการตลาด เมื่อปี พ.ศ. 2513 ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะบริหารธุรกิจ หลังจากที่ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนเป็นประเภทมหาวิทยาลัยแล้ว คณะบริหารธุรกิจได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดดำเนินการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร และสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร ในปี พ.ศ. 2530 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการตลาด และสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม ในปีการศึกษา 2531 สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศในปีการศึกษา 2532 และสาขาวิชาการบริหารงานบุคคล ในปีการศึกษา 2534 และได้รับอนุญาติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้แก้ไขชื่อหลักสูตรบริหารธุรกิจ และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการบริหาร เป็นสาขาวิชาการจัดการในปี พ.ศ. 2534 และจากสาขาวิชาการบริหารงานบุคคล เป็นสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในปีการศึกษา 2541 นอกจากนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการขยายโอกาสการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น มหาวิทยาลัยได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดดำเนินการสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตในปี การศึกษา 2530 และได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2532 รวมทั้งขยายการศึกษาของคณะบริหารธุรกิจไปยังวิทยาเขตชลบุรีในปีการศึกษา 2530 โดยได้รับการรับรองวิทยฐานะเช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน
รู้จักคณะ
โลโก้ เรือสำเภา สื่อความหมายถึง การค้า การติดต่อเจรจาธุรกิจ และการแสวงหาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งสะท้อนแนวทางวิชาชีพและทัศนคติของผู้ศึกษาในคณะบริหารธุรกิจ ที่นอกจากมีความเชี่ยวชาญทางธุรกิจแล้วต้องรู้จักแสวงหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ |
รู้จักคณบดี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รวิภา อัครจินดานนท์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รวิภา ลาภศิริ มีประสบการณ์ทำงานด้านการวิเคราะห์ในสถาบันการเงินเกือบ 10 ปี เริ่มงานที่ฝ่ายบุคคล ธนาคาร สหธนาคาร จำกัด โดยได้รับคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่นของฝ่ายบุคคล ในปีที่ 2 ที่ได้ร่วมงานกับธนาคาร สหธนาคาร จำกัด จากนั้นได้เพิ่มประสบการณ์การวิเคราะห์ทางการเงินและการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ได้เข้าร่วมงานที่ฝ่ายสินเชื่อ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ก่อนจะศึกษาต่อ M.B.A. (Marketing – English Program) ที่ NIDA และได้รับทุนศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ A.I.T. จากการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมา ผศ.ดร. รวิภา ลาภศิริ เล็งเห็นว่าเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนโลกธุรกิจอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน Service Industry ผลงานดุษฎีนิพนธ์หัวข้อ “Customer Response to Sales Force Automation in the Insurance Industry” จึงได้รับรางวัล “TheRunner-up Award for Dissertation Research” ซึ่งเป็นการประกวดดุษฎีนิพนธ์ระดับโลก จัดโดย American Marketing Association: AMA ณ เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ถือเป็นรางวัลที่การันตีได้ถึงความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้ดังกล่าว และยังเป็นคนไทยคนแรกและคนเดียวที่ได้รับรางวัลจากเวทีนี้ จนถึงปัจจุบัน… นอกจากนี้ยังได้รับการรับรองความเป็นนักการตลาดมืออาชีพในระดับนานาชาติ (ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค) จากการได้รับ Certificate of Certified Professional Marketer (Asia Pacific), Asia Pacific Marketing Federation (APMF) อีกด้วย วุฒิการศึกษา : ปริญญาเอก: Ph.D. (International Business) Asian Institute of Technology ปริญญาโท: M. B. A. (Marketing English Program) National Institute of Development Administration (NIDA) ปริญญาตรี: วิทยาศาสตร์บัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประสบการณ์การทำงาน : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตำแหน่ง: คณบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการกลุ่มงานมาตรฐานและบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน ตำแหน่ง: อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ รางวัลที่ได้รับ : The Runner-up Award for Dissertation Research, “Customer Response to Sales Force Automation in the Insurance Industry”, in the American Marketing Association (AMA) National Dissertation Competition for the Sales Management Track; AMA Summer Marketing Educators’ Conference, Boston, MA, USA, 2004. Certificate of Certified Professional Marketer (Asia Pacific), Asia Pacific Marketing Federation (APMF), Singapore; 2004 |
งานบริการวิชาการ
- กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
- กรรมการ คณะอนุกรรมการสาขาวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
- คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงานเชิงประเด็นด้านการพัฒนานิสิตนักศึกษาของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน
- การสำรวจภาคสนาม เรื่อง ความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการใช้ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- คณะทำงานพัฒนาหลักสูตร โครงการฝึกอบรม “กลยุทธ์การบริหารทัศนคติและพฤติกรรมกับการบริการที่เป็นเลิศ” ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ประธานคณะอนุกรรมการวิจัยและพัฒนาบุคลากร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- คณะทำงานโครงการศรีปทุม e-Poll มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- หัวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง ศึกษาผลการใช้เทคโนโลยีเชิงบูรณาการต่อคุณภาพการให้บริการในอุตสาหกรรมโรงแรม / ทุนอุดหนุนงานวิจัยสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยศรีปทุม
- วิทยากรบรรยาย โครงการพัฒนายุวชนนักธุรกิจแฟรนไชส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
- วิทยากรบรรยาย โครงการสร้างบุคลากรเข้าสู่ตลาดจ้างงานค้าส่ง – ค้าปลีก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
- วิทยากรบรรยาย การบริหารโรงเรียนเชิงการตลาด (School Marketing) การประชุมสัมมนาทางวิชาการแก่ข้าราชการครู 14 จังหวัดภาคใต้ (สมาชิกส.บ.ม.ท. เขตพื้นที่ภาคใต้)
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ การสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- กรรมการการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน
- อาจารย์ที่ปรึกษา การศึกษาค้นคว้าอิสระ นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางเขนและวิทยาเขตชลบุรี
- ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณากลั่นกรองผลงานตีพิมพ์วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.)
- ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคุณภาพบทความวิจัย วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณากลั่นกรองผลงานตีพิมพ์ วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- กรรมการตัดสินกิจกรรมประกวดแผนการประชาสัมพันธ์ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน โครงการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ผลงานวิชาการ
1. Larpsiri, R. (2005), “The Sales Rep as Technology Interface: Using Sales Force Automation Systems”, Fourth SERVSIG Research Conference, Singapore, 2-4 June, 2005.2. Larpsiri, R. and M. Speece (2004), “Determinants of Customer Satisfaction: A Model of Technology Integration in Thailand’s Insurance Industry”, Asia Academy of Management Fourth Conference; “Moving Forward: Leading Asia in a New Era”, Shanghai, China.
3. Larpsiri, R. and M. Speece (2004), “Technology Integration: Perceptions of Sales Force Automation in Thailand’s Insurance Industry”, Marketing Intelligence & Planning, Vol. 22 No. 4, pp. 392-406.
4. Larpsiri, R. (2004), “The Important Role of Salespeople as a Mediator of Technology-based Sales Service Interaction”, Journal of Global Business Review, Vol. 6(December), pp. 17-24.
5. Srijumpa, R., Larpsiri, R. and Speece, M., (2004), “Qualitative Exploratory Research on Customer Acceptance of Technology in Financial Service”, Book Chapter on Research Methodology in Commerce and Management, Anmol Publications, New Delhi – 110 002 (India),
6. Larpsiri, R., and Speece, W. Mark (2002) “Consumer Response to Sales Force Automation in the Insurance Industry”, In Proceedings of the 2002 Asian Forum on Business Education Conference: Business Education and the Knowledge-based Economy, Beijing, China, June 2002. (Published on CD by School of Business, Renmin University of China, Beijing).
7. Larpsiri, R., Rotchanakitumnuai, S., Chaisrakeo, S., and M. Speece. “The Impact of Internet Banking on Thai Consumer Perception”. Conference on Marketing Communication Strategies in a Changing Global Environment, Hong Kong, China,
8. Larpsiri, R., and Speece, W. Mark (2003) “A Qualitative Study: Consumer Perceptions of Sales Force Automation in the Insurance Industry”, In Proceedings of the World Marketing Congress (WMC), Academy of Marketing Science, Perth, Australia, June 2003.
9. Larpsiri, R. “Sales Force Automation and Customer Relations”. Panel discussant on Modernization for Sales in Asian Connections-Based Cultures. 8th International Conference on Marketing and Development, Bangkok, January
10. Rotchanakitumnuai, S., S. Chaisrakeo, R. Larpsiri, and Speece, W. Mark. “Perceptions and Usage of Internet Banking by Thai Consumers”. In: Proceedings of the Eighth International Conference on Marketing and Development, Bangkok, Thailand, January 2003.
งานวิจัย
- โครงการวิจัยได้รับทุนอุดหนุนโครงการวิจัยด้านพลังงาน-ระบบเศรษฐกิจ-สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 ฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเรื่อง การจัดทำแผนการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำในประเทศไทยที่ก่อให้เกิดมูลค่าน้ำสูงสุดด้วยวิธีดีคอนโวลูชั่น – Optimal Scheduling of Hydro Power Plants in Thailand Using Deconvolution Technique
- รวิภา ลาภศิริ. (2548). การศึกษาผลการใช้เทคโนโลยีเชิงบูรณาการต่อการรับรู้คุณภาพการบริการในอุตสาหกรรมโรงแรม. มหาวิทยาลัยศรีปทุม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2550. จำนวน 115 หน้า. ได้รับเงินทุนสนับสนุนการวิจัย จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 1 ปี
การบริหารคณะ
ปรัชญา
“เสริมปัญญา พัฒนาคน เปี่ยมล้นคุณธรรม นำชาติเจริญ”