ถ้าไทยเราเข้าร่วม CPTPP เราจะได้หรือเราจะเสีย?

ไทยเข้าร่วม CPTPP ได้หรือเสีย?
ทำไมประชาชนออกมาคัดค้าน?
กระทรวงพาณิชย์ต้องถอนการเสนอเรื่องเข้า ครม.!

CPTPP (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership) หรือ “ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก”

มีสมาชิก 11 ประเทศ ประกอบด้วย ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และ เวียดนาม
(เดิม คือ TPP (Trans-Pacific Partnership) “ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก” มีสหรัฐอเมริกาเป็นสมาชิกด้วย รวมเป็น 12 ประเทศ แต่ในปี 2560 สหรัฐอเมริกา ได้ถอนตัวออกไป จึงเปลี่ยนชื่อเป็น CPTPP)

CPTPP ครอบคลุมเรื่องการค้า การบริการและการลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน และกฎหมายสิ่งแวดล้อม

มุมมองด้านบวก (+)
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มองในประเด็น ดังต่อไปนี้

  • ขนาดของตลาด และ GDP

– สมาชิก CPTPP มีประชากรกว่า 500 ล้านคน (ร้อยละ 6.7 ของประชากรโลก)
– มี GDP กว่า 11 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 13 ของ GDP โลก)
– ปี 2562 ไทยมีการค้ากับสมาชิก CPTPP รวมมูลค่า 140 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 31.5 ของการค้ารวมไทย)
– หากไทยเข้าร่วม CPTPP คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 0.12 (คิดเป็นมูลค่า 13,323 ล้านบาท) และ การลงทุนจะขยายตัวร้อยละ 5.14 (คิดเป็นมูลค่า 148,240 ล้านบาท)

  • การขยายตัวของการส่งออก

– คาดว่าการส่งออกของไทยจะขยายตัว ทั้งจากการเปิดตลาดเพิ่มเติมกับสมาชิก CPTPP ที่ไทยมี FTA ด้วยอยู่แล้ว 9 ประเทศ (เช่น เนื้อไก่สด/แช่แข็ง อาหารทะเลปรุงแต่ง ข้าว ข้าวสาลี ยางรถยนต์ รถยนต์ น้ำมันปิโตรเลียม ผลไม้สด/แห้ง)
– และการส่งออกขยายตัวกับประเทศที่ไทยยังไม่เคยมี FTA ด้วยอีก 2 ประเทศ คือ แคนาดา และเม็กซิโก (เช่น สินค้าประเภทอาหารทะเลแปรรูป ข้าว ผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์และส่วนประกอบ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์)
(***ประเด็นนี้ที่กล่าวว่า “การส่งออกจะขยายตัว” มีผู้เห็นแย้งว่า ตลาดที่ไทยจะได้เพิ่มจากการเข้าร่วม CPTPP คือ เม็กซิโกและแคนาดาเท่านั้น ขณะที่อีก 9 ประเทศสมาชิก ไทยมี FTA แล้วทั้งหมด จึงไม่คุ้มกับผลเสียที่จะเกิดขึ้น)

  • ช่วยรักษาสถานะของไทยในห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาค

– การเข้าร่วม CPTPP จะช่วยรักษาสถานะของไทยในห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาค ทำให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องในระยะยาว

มุมมองด้านลบ (-)
ภาคประชาชน คัดค้านการเข้าร่วม CPTPP ในประเด็นสำคัญ ต่อไปนี้

  • ต้นทุนการเกษตรจะสูงขึ้น จากการผูกขาดเมล็ดพันธุ์พืช

– การเข้าร่วม CPTPP ไทยต้องเข้าร่วมในอนุสัญญาการคุ้มครองพันธ์พืชใหม่ หรือ UPOV (International Union for the Protection of New Varieties of Plants) ซึ่งชาวต่างชาติสามารถนำพันธุ์พืชพื้นเมืองของไทยไปทำการวิจัย เพื่อสร้างพันธุ์พืชใหม่ แล้วสามารถจดสิทธิบัตรได้ ซึ่งเกษตรกรจะไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองไปปลูกต่อในฤดูกาลถัดไป ทำให้ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ทุกครั้ง ต้นทุนก็จะสูงขึ้น
(***แต่ประเด็นนี้ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ได้หารือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยืนยันว่าความตกลง CPTPP และ UPOV ก็ให้สิทธิเกษตรกรในการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกต่อได้ ถ้าเป็นการปลูกต่อเพื่อใช้ประโยชน์เอง

  • กระทบต่อระบบการผลิตยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์

ยกตัวอย่างเช่น
– ยกเลิกการให้สิทธิประโยชน์แก่องค์การเภสัชกรรมในการจัดซื้อยาของภาครัฐ และต้องให้รัฐวิสาหกิจด้านการซื้อหรือขายสินค้าและบริการโดยไม่เลือกปฏิบัติและเป็นไปตามกลไกตลาด
– การเข้าถึงยา ไทยจะไม่สามารถใช้มาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร CL (Compulsory License) คือ มาตรการยืดหยุ่นโดยชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมายที่จะช่วยแก้ปัญหาการเข้าถึงทรัพย์สินทางปัญญาและการเข้าถึงยา ดังนั้น ไทยจะไม่สามารถใช้สิทธิ นำเข้ายาต้านไวรัสเอชไอวี และยารักษามะเร็งได้
– ยกเลิกการอุดหนุนรัฐวิสาหกิจที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อรัฐวิสาหกิจ ธุรกิจ และอุตสาหกรรมของต่างประเทศ โดยไม่มีข้อยกเว้นสำหรับรัฐวิสาหกิจ เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า ยารักษาโรค ดังนั้น จะทำให้ประชาชนมีค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคและยารักษาโรคสูงขึ้น

***จากผลประโยชน์และผลเสียที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเข้าเป็นสมาชิก CPTPP นั้น ภาครัฐควรเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้แสดงความคิดเห็น และหาข้อสรุปร่วมกันต่อไป

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

Most Popular

Categories

On Key

Related Posts

SBS CAMPUS VISIT คณะบริหารธุรกิจ SPU Dek68!

#DEK68  SBS CAMPUS VISIT คณะบริหารธุรกิจ SPU ยินดีต้อนรับคณะครูและนักเรียน จากโรงเรียนนครนายกวิทยาคม  เปิดประสบการณ์การเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย  วันนี้พบกับอาจารย์

ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

คณาจารย์ และนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ ม.ศรีปทุม ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี วันศุกร์ที่

ค่าเทอม สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ

ปีการศึกษาเทอม 1เทอม 2เทอม 3
สาขา ธุรกิจระหว่างประเทศ
ปีการศึกษาที่ 140,200 35,20037,30014,700
ปีการศึกษาที่ 236,50040,70015,000
ปีการศึกษาที่ 340,60038,80014,700
ปีการศึกษาที่ 418,900
  ลักษณะการกู้ยืมฯ2
  ค่าเทอม (4 ปี)297,400

ค่าเทอมสาขา การจัดการธุรกิจด้านการบิน

ปีการศึกษาเทอม 1เทอม 2เทอม 3
สาขา การจัดการธุรกิจด้านการบิน
ชั้นปีที่ 140,200 35,20037,30014,700
ชั้นปีที่ 236,50040,70014,700
ชั้นปีที่ 340,60038,80014,700
ชั้นปีที่ 418,900 
  รวมตลอด 4 ปี297,100

ค่าเทอมสาขา

คณะ/สาขาวิชา ลักษณะการกู้ยืมฯ เทอม 1 ตลอด หลักสูตร
คณะบริหารธุรกิจ
การบริหารและการจัดการสมัยใหม่ 1 40,200 35,200 297,100
การตลาดดิจิทัล 1 40,200 35,200 297,100
การตลาดดิจิทัล – lnfluencer 1 40,200 35,200 297,100
ธุรกิจระหว่างประเทศ (เดินทางไปประเทศจีน มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม) 2 40,200 35,200 297,400
ธุรกิจระหว่างประเทศ – ธุรกิจ จีน-อาเซียน 2 40,200 35,200 297,400
การจัดการธุรกิจด้านการบิน 2 40,200 35,200 297,100
บริหารธุรกิจ 1 40,200 35,200 297,100

ค่าเทอมสาขา การบริหารและการจัดการสมัยใหม่

ปีการศึกษาเทอม 1เทอม 2เทอม 3
สาขา การบริหารและการจัดการสมัยใหม่
ปีการศึกษาที่ 140,200 35,20037,30014,700
ปีการศึกษาที่ 236,50040,70014,700
ปีการศึกษาที่ 340,60038,80014,700
ปีการศึกษาที่ 418,900
  ลักษณะการกู้ยืมฯ1
  ค่าเทอม (4 ปี)297,100

ค่าเทอม การตลาดดิจิทัล

ปีการศึกษาเทอม 1เทอม 2เทอม 3
สาขา การตลาดดิจิทัล
ปีการศึกษาที่ 140,200 35,20037,30014,700
ปีการศึกษาที่ 236,50040,70014,700
ปีการศึกษาที่ 340,60038,80014,700
ปีการศึกษาที่ 418,900
  ลักษณะการกู้ยืมฯ1
  ค่าเทอม (4 ปี)297,100

ค่าเทอม ธุรกิจระหว่างประเทศ – บริหารธุรกิจ

ปีการศึกษาเทอม 1เทอม 2เทอม 3
สาขา ธุรกิจระหว่างประเทศ – บริหารธุรกิจ
ปีการศึกษาที่ 143,200 38,20040,30017,700
ปีการศึกษาที่ 244,60043,70017,700
ปีการศึกษาที่ 340,40040,10017,700
ปีการศึกษาที่ 438,70031,800
  ลักษณะการกู้ยืมฯ2
  ค่าเทอม (4 ปี)375,900

หลักสูตร 2 ปริญญา Dek66

คณะ/สาขาวิชา ลักษณะการกู้ยืมฯ เทอม 1 ตลอด หลักสูตร
ตลอดหลักสูตร
การจัดการธุรกิจด้านการบินและการตลาดดิจิทัล 2 43,900 347,400
ธุรกิจระหว่างประเทศและการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ 2 43,900 345,400
ธุรกิจระหว่างประเทศและบริหารธุรกิจ 2 43,900 346,600
การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานและธุรกิจระหว่างประเทศ 2 43,900 345,400
การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานและการตลาดดิจิทัล 2 43,900 345,400

ค่าเทอมสาขา บริหารธุรกิจ

ปีการศึกษาเทอม 1เทอม 2เทอม 3
สาขา บริหารธุรกิจ
ปีการศึกษาที่ 140,200 35,20037,30014,700
ปีการศึกษาที่ 236,50040,70014,700
ปีการศึกษาที่ 340,60038,80014,700
ปีการศึกษาที่ 418,900
  ลักษณะการกู้ยืมฯ1
  ค่าเทอม (4 ปี)297,100

ธุรกิจระหว่างประเทศและการบริหารและการจัดการสมัยใหม่

ปีการศึกษาเทอม 1เทอม 2เทอม 3
สาขา ธุรกิจระหว่างประเทศและการบริหารและการจัดการสมัยใหม่
ปีการศึกษาที่ 143,200 38,20040,30017,700
ปีการศึกษาที่ 244,60043,70017,700
ปีการศึกษาที่ 340,40040,10017,700
ปีการศึกษาที่ 438,70031,800
  ลักษณะการกู้ยืมฯ2
  ค่าเทอม (4 ปี)375,900