บทความSPU: นักศึกษาITสู่การเป็น Agri Tech StartUp เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนทางอาหาร โดย ผศ.สุพล พรหมมาพันธุ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ SPU
01
Nov
นักศึกษา IT สู่การเป็น Agri Tech StartUp เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคง และยั่งยืนทางอาหาร
โดย ผศ.สุพล พรหมมาพันธุ์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เมื่อวันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ร่วมกันจัดเสวนาพิเศษ Teck Talk #7 ในรายวิชา BUS200, CSC200 และ CSE200 บัณฑิตในอุดมคติ ให้ความรู้กับนักศึกษา หัวข้อ “นักศึกษา IT สู่การเป็น Agri Tech StartUp เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคง และยั่งยืนทางอาหาร” โดย คุณอานนท์ บุณยประเวศ CEO & Co Founder บริษัท เทคฟาร์ม จำกัด (ศิษย์เก่าคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม) เป็นวิทยากรพิเศษ ณ ห้อง Auditorium 1 ชั้น 14 อาคาร 40ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม พอสรุปประมวลความได้ดังนี้
อานนท์เล่าว่า ก่อนที่จะมาเป็นวันนี้ ตอนเรียนอยู่สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจารย์มาลิวรรณ บุญพลอย ได้บังคับให้ส่งผลงานเข้าประกวดในเวทีต่างๆ โดยเฉพาะเวที ImagineCup2016 เป็นเวทีที่เปิดกว้างมาก ได้ส่งผลงานเข้าประกวดในเวทีนั้น เพื่ออยากเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ ได้รับรางวัล World Citizenship 2nd Place Winner and USAID Special Award from Microsoft Imagine Cup Thailand 2016 และก็ได้เข้าประกวดในโครงการ DTAC Accelerate และก็ได้รับรางวัลชนะเลิศ (1st Place Winner from DTAC Accelerate Batch 3) ตอนเรียนหนังสืออยู่นั้น อยากเป็นโปรแกรมเมอร์ มีความสนใจเกี่ยวกับเกษตรกรไทย เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีเกษตรกรเป็นกระดูกสันหลังของชาติ เนื่องจากภาคเกษตรกรไทย ยังมีปัญหาอยู่หลายด้าน และยังขาดการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับในปัจจุบัน เกษตรกรไทยยังต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายมหาศาลสำหรับปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และยาปราบศัตรูพืช ซื่อจากการศึกษาพบว่าใน พ.ศ.2558 เกษตรกรไทยต้องใช้เงินจำนวน 1.8 เท่าตัว เมื่อเทียบกับเกษตรกรเวียดนาม เพื่อทำการเกษตรกรรมแบบเดียวกัน โดยมีค่าปุ๋ยที่สูงเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของต้นทุนเป็นปัญหาหลักในความเป็นจริงแล้ว อัตราการใช้ปุ๋ยในหมู่เกษตรกรไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ.2551 สวนทางกับผลผลิตที่ไม่ได้เติบโตขึ้นด้วยอัตราเดียวกันแต่อย่างใด สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหากมีการแก้ไขอย่างตรงจุด เกษตรกรไทยจะมีภาระค่าใช้จ่ายที่ต่ำลงพร้อมกับสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นในเวลาเดียวกัน เมื่อทราบปัญหาเหล่านี้แล้ว จึงตัดสินใจลงพื้นที่ไปหาข้อมูลจริง ซึ่งก็ได้พบปัญหา Pain Point ประการหนึ่งคือว่า รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้ทั้งหมด เพราะไม่ได้ลงพื้นที่ของเกษตรกรว่า มีปัญหาอะไรบ้าง และก็ไปเจอเทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ เพื่อนำมาช่วยลดต้นทุนของปุ๋ย,
ลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืช, ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพจะสูงขึ้น และเกษตรกรมีกำไรมากขึ้น นี่เป็นไอเดียแรกที่เกิดขึ้น จึงได้ทำการพัฒนา Application LenDin (เล่นดิน) ตอนเรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 เวลาไปหาข้อมูล ต้องแต่งชุดนักศึกษาไป เพราะถ้าคนเห็นแต่งชุดนักศึกษาก็อยากจะให้ความช่วยเหลือ การทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งที่ดี เพราะตอนที่อานนท์ทำนั้น มีเพื่อนร่วมทีมทำด้วยกัน 3 คน เป็น Project ที่ทำร่วมกับเพื่อน และผู้ใหญ่ให้การสนับสนุน ความจริงการทำงาน 3 คนเป็นเรื่องที่ดี เพราะมีความถนัดแตกต่างกัน แต่สำหรับทีมของอานนท์เองตอนทำในขณะนั้น อานนท์บอกว่าไม่ค่อยดี เพราะทุกคนมีความถนัดเหมือนกัน คือ เขียนโปรแกรมเป็นอย่างเดียวเหมือนกัน ทีมที่ทำงานประสบความสำเร็จ ต้องเป็นทีมที่มีเป้าหมายเดียวกัน
LenDin (เล่นดิน) เป็นอุปกรณ์ที่ไว้ตรวจคุณภาพดิน เพียงปักลงในดิน จะสามารถวัดคุณสมบัติต่างๆ ของดินในแต่ละพื้นที่ เพื่อช่วยในการปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืช หรือสามารถวิเคราะห์ได้ว่า พื้นที่ในแถบใด เหมาะกับการปลูกพืชอะไร ในลักษณะใด เล่นดินจะช่วยให้เกษตรกรเข้าใจดินมากขึ้น ใช้ปุ๋ยเท่าที่จำเป็น ลดค่าใช้จ่าย ดินอุดมสมบูรณ์ พืชแข็งแรง ผลผลิตดี ทนต่อโรค มีการแสดงผลผ่านแอพบนมือถือเช่นเดียวกับ เล่นน้ำ ซึ่งปัจจุบัน อยู่ระหว่างการพัฒนา ในอีก 4-5 เดือนจะเริ่มทำตลาดเช่นกัน (www.marketingoops.com) ต่อมาได้ลงพื้นที่อีก ได้พบว่า เกษตรกรมีเลี้ยงสัตว์ด้วยน้ำด้วย จึงนำเอา Application LenDin มาปัดฝุ่นใหม่และพัฒนา Application LenNam (เล่นน้ำ) ขึ้นมาอีก
LenNam (เล่นน้ำ) เป็นเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพน้ำสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ที่ต้องการลดความเสี่ยงของปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากน้ำที่ไม่เหมาะสม เพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของสัตว์น้ำ และเพิ่มคุณภาพของผลผลิต ซึ่งการทำงานของเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพน้ำนั้นต้องนำเครื่องมือลงไปแช่ในน้ำที่ต้องการจะตรวจสอบ จากนั้นก็เปิดแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือแบบเรียลไทม์ โดยเกษตรกรสามารถตั้งค่าวัดไว้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อทราบความผิดปกติของน้ำได้ตลอดเวลา เมื่อไหร่ที่ค่าน้ำมีความผิดปกติ ตัวเครื่องมือจะส่งสัญญาณแจ้งเตือนไปยังแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที
ในลำดับต่อมาขอพูดถึงเรื่อง Startup ซึ่งมีความแตกต่างจาก SME เมื่อพูดถึงเรื่อง Startup ก็จะมีอยู่ 2 อย่าง คือ (1). Scalable (การขยายตัวอย่างรวดเร็ว) (2). Repeatable (การทำซ้ำ) เช่น การขายผัดไทย ก็เพิ่มขึ้นเป็นขายผัดไทย ทะเล หรือคนที่สนใจเรื่องแท็กซี่ ก็ทำ App รถแท็กซี่ นอกจากนั้น Startup ยังต้องคำนึงถึงอีก 2 อย่างคือ (1). Scale up หมายถึงลูกค้ากลุ่มเดิม และ (2). Scale out การหาลูกค้าใหม่เพิ่ม ธุรกิจการทำหนังสือก็มีปัญหามากเหมือนกัน คนเขียนหนังสือรายได้หายไปมาก เมื่อพัฒนา App ขึ้นมา คนเขียนหนังสือก็มีรายได้เพิ่มขึ้นมากเพราะไม่ต้องผ่านคนกลาง เช่น OOKBEE ฟรีอีบุ๊ค มีหนังสือหลายประเภทให้เลือก ถามว่า เมื่อต้องการพัฒนา Application เราจะไปหาไอเดียจากที่ไหน ให้ดูตัวอย่าง โสเครติส เป็นบิดาของการตั้งคำถาม โสเครติส เป็นปรัชญาเมธีที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลก เป็นปรัชญาเมธีที่มุ่งเน้นในการแสวงหาและคุณค่าแห่งปัญญา เช่น โสเครติส ตั้งคำถามว่า ความสุขคืออะไร? ทำไมคนอยากมีความสุข? และให้ยึดหลักของ Why, How, What มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก เจ้าของเฟซบุ๊คก็ยึดหลักเหล่านี้ในการทำงาน และประเด็นทิ้งท้ายอยากจะฝากไว้ คือเรื่องของ Social Enterprise.
โดย ผศ.สุพล พรหมมาพันธุ์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เมื่อวันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ร่วมกันจัดเสวนาพิเศษ Teck Talk #7 ในรายวิชา BUS200, CSC200 และ CSE200 บัณฑิตในอุดมคติ ให้ความรู้กับนักศึกษา หัวข้อ “นักศึกษา IT สู่การเป็น Agri Tech StartUp เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคง และยั่งยืนทางอาหาร” โดย คุณอานนท์ บุณยประเวศ CEO & Co Founder บริษัท เทคฟาร์ม จำกัด (ศิษย์เก่าคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม) เป็นวิทยากรพิเศษ ณ ห้อง Auditorium 1 ชั้น 14 อาคาร 40ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม พอสรุปประมวลความได้ดังนี้
อานนท์เล่าว่า ก่อนที่จะมาเป็นวันนี้ ตอนเรียนอยู่สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจารย์มาลิวรรณ บุญพลอย ได้บังคับให้ส่งผลงานเข้าประกวดในเวทีต่างๆ โดยเฉพาะเวที ImagineCup2016 เป็นเวทีที่เปิดกว้างมาก ได้ส่งผลงานเข้าประกวดในเวทีนั้น เพื่ออยากเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ ได้รับรางวัล World Citizenship 2nd Place Winner and USAID Special Award from Microsoft Imagine Cup Thailand 2016 และก็ได้เข้าประกวดในโครงการ DTAC Accelerate และก็ได้รับรางวัลชนะเลิศ (1st Place Winner from DTAC Accelerate Batch 3) ตอนเรียนหนังสืออยู่นั้น อยากเป็นโปรแกรมเมอร์ มีความสนใจเกี่ยวกับเกษตรกรไทย เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีเกษตรกรเป็นกระดูกสันหลังของชาติ เนื่องจากภาคเกษตรกรไทย ยังมีปัญหาอยู่หลายด้าน และยังขาดการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับในปัจจุบัน เกษตรกรไทยยังต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายมหาศาลสำหรับปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และยาปราบศัตรูพืช ซื่อจากการศึกษาพบว่าใน พ.ศ.2558 เกษตรกรไทยต้องใช้เงินจำนวน 1.8 เท่าตัว เมื่อเทียบกับเกษตรกรเวียดนาม เพื่อทำการเกษตรกรรมแบบเดียวกัน โดยมีค่าปุ๋ยที่สูงเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของต้นทุนเป็นปัญหาหลักในความเป็นจริงแล้ว อัตราการใช้ปุ๋ยในหมู่เกษตรกรไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ.2551 สวนทางกับผลผลิตที่ไม่ได้เติบโตขึ้นด้วยอัตราเดียวกันแต่อย่างใด สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหากมีการแก้ไขอย่างตรงจุด เกษตรกรไทยจะมีภาระค่าใช้จ่ายที่ต่ำลงพร้อมกับสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นในเวลาเดียวกัน เมื่อทราบปัญหาเหล่านี้แล้ว จึงตัดสินใจลงพื้นที่ไปหาข้อมูลจริง ซึ่งก็ได้พบปัญหา Pain Point ประการหนึ่งคือว่า รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้ทั้งหมด เพราะไม่ได้ลงพื้นที่ของเกษตรกรว่า มีปัญหาอะไรบ้าง และก็ไปเจอเทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ เพื่อนำมาช่วยลดต้นทุนของปุ๋ย,
ลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืช, ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพจะสูงขึ้น และเกษตรกรมีกำไรมากขึ้น นี่เป็นไอเดียแรกที่เกิดขึ้น จึงได้ทำการพัฒนา Application LenDin (เล่นดิน) ตอนเรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 เวลาไปหาข้อมูล ต้องแต่งชุดนักศึกษาไป เพราะถ้าคนเห็นแต่งชุดนักศึกษาก็อยากจะให้ความช่วยเหลือ การทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งที่ดี เพราะตอนที่อานนท์ทำนั้น มีเพื่อนร่วมทีมทำด้วยกัน 3 คน เป็น Project ที่ทำร่วมกับเพื่อน และผู้ใหญ่ให้การสนับสนุน ความจริงการทำงาน 3 คนเป็นเรื่องที่ดี เพราะมีความถนัดแตกต่างกัน แต่สำหรับทีมของอานนท์เองตอนทำในขณะนั้น อานนท์บอกว่าไม่ค่อยดี เพราะทุกคนมีความถนัดเหมือนกัน คือ เขียนโปรแกรมเป็นอย่างเดียวเหมือนกัน ทีมที่ทำงานประสบความสำเร็จ ต้องเป็นทีมที่มีเป้าหมายเดียวกัน
LenDin (เล่นดิน) เป็นอุปกรณ์ที่ไว้ตรวจคุณภาพดิน เพียงปักลงในดิน จะสามารถวัดคุณสมบัติต่างๆ ของดินในแต่ละพื้นที่ เพื่อช่วยในการปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืช หรือสามารถวิเคราะห์ได้ว่า พื้นที่ในแถบใด เหมาะกับการปลูกพืชอะไร ในลักษณะใด เล่นดินจะช่วยให้เกษตรกรเข้าใจดินมากขึ้น ใช้ปุ๋ยเท่าที่จำเป็น ลดค่าใช้จ่าย ดินอุดมสมบูรณ์ พืชแข็งแรง ผลผลิตดี ทนต่อโรค มีการแสดงผลผ่านแอพบนมือถือเช่นเดียวกับ เล่นน้ำ ซึ่งปัจจุบัน อยู่ระหว่างการพัฒนา ในอีก 4-5 เดือนจะเริ่มทำตลาดเช่นกัน (www.marketingoops.com) ต่อมาได้ลงพื้นที่อีก ได้พบว่า เกษตรกรมีเลี้ยงสัตว์ด้วยน้ำด้วย จึงนำเอา Application LenDin มาปัดฝุ่นใหม่และพัฒนา Application LenNam (เล่นน้ำ) ขึ้นมาอีก
LenNam (เล่นน้ำ) เป็นเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพน้ำสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ที่ต้องการลดความเสี่ยงของปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากน้ำที่ไม่เหมาะสม เพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของสัตว์น้ำ และเพิ่มคุณภาพของผลผลิต ซึ่งการทำงานของเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพน้ำนั้นต้องนำเครื่องมือลงไปแช่ในน้ำที่ต้องการจะตรวจสอบ จากนั้นก็เปิดแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือแบบเรียลไทม์ โดยเกษตรกรสามารถตั้งค่าวัดไว้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อทราบความผิดปกติของน้ำได้ตลอดเวลา เมื่อไหร่ที่ค่าน้ำมีความผิดปกติ ตัวเครื่องมือจะส่งสัญญาณแจ้งเตือนไปยังแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที
ในลำดับต่อมาขอพูดถึงเรื่อง Startup ซึ่งมีความแตกต่างจาก SME เมื่อพูดถึงเรื่อง Startup ก็จะมีอยู่ 2 อย่าง คือ (1). Scalable (การขยายตัวอย่างรวดเร็ว) (2). Repeatable (การทำซ้ำ) เช่น การขายผัดไทย ก็เพิ่มขึ้นเป็นขายผัดไทย ทะเล หรือคนที่สนใจเรื่องแท็กซี่ ก็ทำ App รถแท็กซี่ นอกจากนั้น Startup ยังต้องคำนึงถึงอีก 2 อย่างคือ (1). Scale up หมายถึงลูกค้ากลุ่มเดิม และ (2). Scale out การหาลูกค้าใหม่เพิ่ม ธุรกิจการทำหนังสือก็มีปัญหามากเหมือนกัน คนเขียนหนังสือรายได้หายไปมาก เมื่อพัฒนา App ขึ้นมา คนเขียนหนังสือก็มีรายได้เพิ่มขึ้นมากเพราะไม่ต้องผ่านคนกลาง เช่น OOKBEE ฟรีอีบุ๊ค มีหนังสือหลายประเภทให้เลือก ถามว่า เมื่อต้องการพัฒนา Application เราจะไปหาไอเดียจากที่ไหน ให้ดูตัวอย่าง โสเครติส เป็นบิดาของการตั้งคำถาม โสเครติส เป็นปรัชญาเมธีที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลก เป็นปรัชญาเมธีที่มุ่งเน้นในการแสวงหาและคุณค่าแห่งปัญญา เช่น โสเครติส ตั้งคำถามว่า ความสุขคืออะไร? ทำไมคนอยากมีความสุข? และให้ยึดหลักของ Why, How, What มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก เจ้าของเฟซบุ๊คก็ยึดหลักเหล่านี้ในการทำงาน และประเด็นทิ้งท้ายอยากจะฝากไว้ คือเรื่องของ Social Enterprise.