บทความ SPU : ธุรกิจติดเทอร์โบ โดย ผศ.สุพล พรหมมาพันธุ์ อาจารย์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
25
Oct
เมื่อวันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ร่วมกันจัดเสวนาพิเศษ Teck Talk ในรายวิชา BUS200, CSC200 และ CSE200 บัณฑิตในอุดมคติ ให้ความรู้กับนักศึกษา เรื่อง "ธุรกิจติดเทอร์โบ" โดยได้รับเกียรติ์จากวิทยากรพิเศษ คุณโอฬาร วีระนนท์ (บอม) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บจ.ดูเรียน คอร์ปอเรชั่น (DURIAN CORP) และผู้อำนวยการบริหารหลักสูตร DSTARTUPbySPU เจ้าของผลงาน Best Seller "คอนเนคชั่นพันล้าน สานเองได้" ณ ห้อง Auditorium 1
อาคาร 40 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม พอสรุปประมวลความได้ดังนี้
เริ่มต้นด้วยคุณบอม ได้ให้นักศึกษาทำความรู้จักกัน ทั้งคนที่นั่งอยู่ด้านข้าง ด้านหน้า และด้านหลัง และให้นักศึกษาได้ทำความรู้จักกันโดยการบอกให้แนะนำชื่อตนเอง ถามชื่อผู้อื่น และเอามือแตะที่บ่าและทำการนวดให้กัน เพื่อเพิ่มกระชับความสัมพันธ์ให้แนบแน่นมากยิ่งขึ้น คุณบอมเล่าต่อไปว่า การได้รู้จักคนเพิ่มมากขึ้นในแต่ละวันที่เรียกว่า คอนเนคชั่น (Connection) นั้น ช่วยให้เป็นประโยชน์อย่างมากในการทำธุรกิจ คุณบอมเล่าว่า เคยสอบเอ็นทรานซ์เข้าคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ แต่ด้วยประพฤติตัวไม่เหมาะสมจึงถูกสั่งพักการเรียน 2 ปี ต่อมากลับเนื้อกลับตัวใหม่ สามารถสอบอ็นทรานซ์เข้าคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ เคยเป็นกรรมการบัณฑิตจุฬาฯ ได้ทุนเรียนดีแต่ยากจน เนื่องจากเมื่อก่อนคุณพ่อเคยร่ำรวยมาก พ่อเรียนจบปริญญาโททางด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากประเทศเยอรมนี แต่พอพ่อเสียชีวิตลง ครอบครัวก็ยากจนลง เนื่องจากมีพ่อคนเดียวที่เป็นเสาหลักในการหาเลี้ยงครอบครัวในขณะนั้น ทำให้พี่น้อง 4 คนต้องลาออกจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เขามีพี่น้องทั้งหมดรวม 5 คน เขาเคยได้รับทุนมาเกือบทุกธนาคาร ตอนเรียนอยู่ปี 4 ทางมหาวิทยาลัยได้เชิญวิทยากรมาพูดให้ฟัง จึงเกิดแรงบันดาลใจอยากรวยเหมือนพ่อ เขาไม่ได้เรียนดีมากนัก ตอนจบได้เกรดเฉลี่ย 2.60 ได้เกียรตินิยมเหรียญทอง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้ทุนไปเรียนต่อที่ประเทศนอร์เวย์ อาจารย์ที่ประเทศนอร์เวย์บอกว่า “ประเทศไทยของคุณมี King ที่ดีที่สุด เพราะฉะนั้นเวลาจบกลับไปอยู่เมืองไทยแล้ว ให้ไปช่วยในหลวงทำประโยชน์ให้กับคนไทย” เขาเคยทำงานที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ 10 ปี แล้วลาออก เขาอยากแบ่งปันความรู้สู่สังคม ตอนนี้เขาได้ค่าตัววันละ 1 แสนบาท ตอนเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เคยเก็บเงินได้ถึง 1 ล้านบาท ส่วนเคล็ดแห่งความสำเร็จเขาเล่าต่อไปว่า ใช้สื่อออนไลน์ในการสร้างธุรกิจ อาจารย์เทียนฉาย กีระนันทน์ เคยพูดว่า “ครูที่ดีต้องเป็นครูที่กระตุ้นผลักดันให้นักศึกษาเกิดการอยากเรียนรู้”
เขาเคยได้รับเชิญจากท่าน ว.วชิรเมธี ให้ไปพูดเรื่อง Startup ให้กับชาวนาฟัง
ยุคประวัติศาสตร์แห่งโอกาส –เฟซบุ๊คสร้างขึ้นได้อย่างไร? แต่ละยุคผู้คนร่ำรวยขึ้นได้อย่างไร?
(Source Pic: https://blog.adioma.com)
ยุคแรก Hunter เป็นยุคของนักล่า หรือมนุษย์เร่ร่อน ในยุคนั้นคนตัวโต มีรูปร่างใหญ่จะได้เปรียบและได้รับการยกย่องให้เป็นหัวหน้าเผ่า เพราะมีร่างกายที่กำยำแข็งแรง ต้องมีการใช้พละกำลังและมีการล่าสัตว์มาเพื่อเป็นอาหาร ยุคต่อมาเป็นยุค Grower เป็นยุคของการเพาะปลูก หรือเกษตรกรรม เป็นยุคที่มีความมั่นคงกว่าการเป็นนักล่า มีการลงหลักปักฐาน สร้างสมความรู้ด้านการเพาะปลูกเพื่อยังชีพ มีที่ดินทำกินเพื่อเป็นฐานการผลิตพืชพันธุ์การเกษตรชนิดต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง ทำให้มีเวลาในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ มากมาย จึงเกิดเป็นอารยธรรมใหญ่ๆ ขึ้นมา เช่น อาณาจักรโรมัน จีน อินเดีย ตลอดถึงในแถบยุโรป ยุค Warrior ยุคนักรบ หรือทหาร สามารถปล้นสดมอาหารจากผู้เพาะปลูกมาเป็นของตนเองได้ ยุคต่อมา คือ Craftsman เป็นยุคของช่างฝีมือ สามารถประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ขึ้นมาได้ เช่น ช่างแกะสลัก, ช่างตีดาบ และได้เมืองมาจากการชนะสงคราม ยุค Explorer การสำรวจ เป็นการเดินทางสำรวจพื้นที่สำรวจทะเลเพื่อแสวงหาทรัพย์สมบัติในดินแดนที่ห่างไกล เช่น คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ที่ค้นพบทวีปอเมริกา ยุค Merchant พ่อค้า เป็นการนำสิ่งของจากดินแดนต่างๆ ออกมาขาย เช่น การเกิดของเส้นทางสายไหม ยุค Mechanizer เป็นการผลิตที่ใช้เครื่องจักรกลผลิตเพื่อทำงานให้รวดเร็วขึ้น ยุค Industrialist นักอุตสาหกรรม เป็นยุคที่เครื่องใช้ไฟฟ้าทำให้สิ่งต่างๆ รวดเร็วขึ้น ยุค Oil driller เครื่องเจาะน้ำมัน เช่น Exxon Mobil เป็นยุคที่นักอุตสาหกรรมต้องเติมน้ำมันรถยนต์ ยุค Corporate Executive ผู้บริหารองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ชิคเว่ ซีอีโอของ GE, คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือยุคการผลิตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น GM (General Motor) นับว่าเป็นยุคของบรรษัทครองโลก มีการควบรวมบริษัทเข้าด้วยกัน ยุค Financier นักการเงิน ยุคนี้เป็นยุคของการซื้อ และขายบริษัท มีการซื้อขายกันในตลาดเงินตลาดทุน มีการซื้อและขายกระดาษกันได้ เป็นยุคเติบโตของมนุษย์ทองคำ เช่น คุณบรรยง พงษ์พานิช (เตา) ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) ได้เคยมาพูดให้คุณบอมฟังว่า ทำงาน 1 ปี ได้โบนัส 120 เดือน คุณเตา ถามในที่ประชุมว่า มีใครอยากไปทำงานกับผมบ้าง ในจำนวนผู้ฟัง 133 คน มีคุณบอมเพียงคนเดียวที่ยกมือขึ้นและบอกว่า อยากไปทำงานกับคุณเตา คุณบอมถามคุณเตาว่า ผมเรียนเกรดเฉลี่ยต่ำ ทำไมพี่ถึงเลือกผม และปิดโอกาสคนอื่น คุณเตาบอกว่า ยกเว้นแก และบอกให้คุณบอมไปกรอกใบสมัคร เขาสัมภาษณ์คุณบอม 3 ชั่วโมง แต่ก็ไม่ได้งาน อันนี้เป็นบทเรียนของคุณบอมที่ตอนเรียนไม่ค่อยได้ตั้งใจเรียน และความรู้ที่เคยเรียนมานั้น สามารถเอามาใช้ได้ทุกอย่าง เพราะฉะนั้น คนที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นมีอยู่ 2 อย่าง คือ (1). โอกาสดี (2).การเตรียมพร้อม ในยุคนี้เป็นยุคการเคาะกระดานหุ้น ใครเคาะให้ราคาสูงสุดคนนั้นก็ได้ไป คุณนักรักษ์ จบจากโรงเรียนวชิราวุธ และจบเศรษฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย สามารถซื้อบริษัทเองได้ คุณเตาเคยให้ข้อคิดว่า “คุณอย่าไปแข่งในสนามที่คุณคิดว่าตัวเองแข่งไม่ได้” ยุคสุดท้าย Startup เป็นยุคของบริษัทเล็กๆ ที่สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ได้เร็วกว่าองค์กรขนาดใหญ่ โดยมีแนวคิดที่ดี มีแรงบันดาลใจที่ดี
(Source Pic: https://twitter.com/sandmanmedia/status/771047218421702658)
ยุค Startup ในยุคนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2001 ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบบริษัทยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา กับประเทศไทย ตั้งแต่ปี ค.ศ.2001-2016 เมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้ว บริษัทที่ทำกำไรต่อปีได้มากที่สุดเป็นแสนล้าน ถึงหนึ่งล้านล้านบาท จะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีทุนมหาศาล ก่อตั้งมามีอายุเป็น 100 ปี มีพนักงานตั้งแต่หลักพันถึงหลักหมื่นหรือหลักล้านคน และได้กำไรมากที่สุดติด 5 อันดับแรกของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ บริษัท GE, บริษัท Microsoft, บริษัท Exxon Mobil, บริษัท CITI Bank และบริษัท Walmart ส่วนบริษัทของประเทศไทยในปี ค.ศ.2001 บริษัทยักษ์ใหญ่ได้แก่ บริษัท AIS, ธนาคารกรุงไทย (KTB), บริษัท ปตท. (PPT), บริษัท ปตท.สผ. (PPTSP) และบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (SCG) แต่พอมาในปี ค.ศ.2016 ในจำนวน 5 บริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกาหายไปเกือบหมด มี 5 บริษัทยักษ์ใหม่เกิดมาแทนที่ได้แก่ บริษัท Apple, บริษัท Alphabet หรือ Google, บริษัท Amazon, บริษัท Facebook ส่วนบริษัทเก่าที่ยังคงเหลืออยู่เพียงบริษัทเดียวคือ บริษัท Microsoft บริษัทเหล่านี้เริ่มต้นจากคนเพียง 2-3 คน ตัวอย่างเหล่านี้คือ โมเดล (Model) ของ Startup เพราะฉะนั้นในสหรัฐอเมริกามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก ส่วนในประเทศไทยไม่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเท่าอเมริกา ในปี ค.ศ.2016 บริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศไทยยังคงเป็นบริษัทเดิมๆ ได้แก่ บริษัท ปตท.(PPT), บริษัท SCGSP, บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (AOT), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (SCB), และบริษัทซีพีออลล์ จำกัด (CPALL) ที่เป็นเช่นนี้ เพราะความไม่สมบูรณ์ของขัอมูล ในสมัยก่อนถ้าบริษัทไหน ประเทศไหนอยากเจริญ ต้องไปดูงานที่อเมริกา ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้ากว่าประเทศไทยประมาณ 20 ปี หรือยูโรป หรือมีการส่งลูกหลานไปเรียนหนังสือในประเทศเหล่านั้น เพื่อนำโมเดลทางธุรกิจ (Business Model) เหล่านั้น กลับเอามาพัฒนาบริษัทและประเทศของตนเอง แต่ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า บริษัทที่มีทุนขนาดใหญ่เหล่านั้นจะเริ่มหายไปเรื่อยๆ เพราะเทคโนโลยีและนวัตกรรมทำให้มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ในปัจจุบันนี้ เช่น การเปิดตัว iPhone ในสหรัฐอเมริกา สามารถรับรู้ได้ในเวลาเดียวกันในประเทศไทย.
อาคาร 40 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม พอสรุปประมวลความได้ดังนี้
เริ่มต้นด้วยคุณบอม ได้ให้นักศึกษาทำความรู้จักกัน ทั้งคนที่นั่งอยู่ด้านข้าง ด้านหน้า และด้านหลัง และให้นักศึกษาได้ทำความรู้จักกันโดยการบอกให้แนะนำชื่อตนเอง ถามชื่อผู้อื่น และเอามือแตะที่บ่าและทำการนวดให้กัน เพื่อเพิ่มกระชับความสัมพันธ์ให้แนบแน่นมากยิ่งขึ้น คุณบอมเล่าต่อไปว่า การได้รู้จักคนเพิ่มมากขึ้นในแต่ละวันที่เรียกว่า คอนเนคชั่น (Connection) นั้น ช่วยให้เป็นประโยชน์อย่างมากในการทำธุรกิจ คุณบอมเล่าว่า เคยสอบเอ็นทรานซ์เข้าคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ แต่ด้วยประพฤติตัวไม่เหมาะสมจึงถูกสั่งพักการเรียน 2 ปี ต่อมากลับเนื้อกลับตัวใหม่ สามารถสอบอ็นทรานซ์เข้าคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ เคยเป็นกรรมการบัณฑิตจุฬาฯ ได้ทุนเรียนดีแต่ยากจน เนื่องจากเมื่อก่อนคุณพ่อเคยร่ำรวยมาก พ่อเรียนจบปริญญาโททางด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากประเทศเยอรมนี แต่พอพ่อเสียชีวิตลง ครอบครัวก็ยากจนลง เนื่องจากมีพ่อคนเดียวที่เป็นเสาหลักในการหาเลี้ยงครอบครัวในขณะนั้น ทำให้พี่น้อง 4 คนต้องลาออกจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เขามีพี่น้องทั้งหมดรวม 5 คน เขาเคยได้รับทุนมาเกือบทุกธนาคาร ตอนเรียนอยู่ปี 4 ทางมหาวิทยาลัยได้เชิญวิทยากรมาพูดให้ฟัง จึงเกิดแรงบันดาลใจอยากรวยเหมือนพ่อ เขาไม่ได้เรียนดีมากนัก ตอนจบได้เกรดเฉลี่ย 2.60 ได้เกียรตินิยมเหรียญทอง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้ทุนไปเรียนต่อที่ประเทศนอร์เวย์ อาจารย์ที่ประเทศนอร์เวย์บอกว่า “ประเทศไทยของคุณมี King ที่ดีที่สุด เพราะฉะนั้นเวลาจบกลับไปอยู่เมืองไทยแล้ว ให้ไปช่วยในหลวงทำประโยชน์ให้กับคนไทย” เขาเคยทำงานที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ 10 ปี แล้วลาออก เขาอยากแบ่งปันความรู้สู่สังคม ตอนนี้เขาได้ค่าตัววันละ 1 แสนบาท ตอนเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เคยเก็บเงินได้ถึง 1 ล้านบาท ส่วนเคล็ดแห่งความสำเร็จเขาเล่าต่อไปว่า ใช้สื่อออนไลน์ในการสร้างธุรกิจ อาจารย์เทียนฉาย กีระนันทน์ เคยพูดว่า “ครูที่ดีต้องเป็นครูที่กระตุ้นผลักดันให้นักศึกษาเกิดการอยากเรียนรู้”
เขาเคยได้รับเชิญจากท่าน ว.วชิรเมธี ให้ไปพูดเรื่อง Startup ให้กับชาวนาฟัง
ยุคประวัติศาสตร์แห่งโอกาส –เฟซบุ๊คสร้างขึ้นได้อย่างไร? แต่ละยุคผู้คนร่ำรวยขึ้นได้อย่างไร?
(Source Pic: https://blog.adioma.com)
ยุคแรก Hunter เป็นยุคของนักล่า หรือมนุษย์เร่ร่อน ในยุคนั้นคนตัวโต มีรูปร่างใหญ่จะได้เปรียบและได้รับการยกย่องให้เป็นหัวหน้าเผ่า เพราะมีร่างกายที่กำยำแข็งแรง ต้องมีการใช้พละกำลังและมีการล่าสัตว์มาเพื่อเป็นอาหาร ยุคต่อมาเป็นยุค Grower เป็นยุคของการเพาะปลูก หรือเกษตรกรรม เป็นยุคที่มีความมั่นคงกว่าการเป็นนักล่า มีการลงหลักปักฐาน สร้างสมความรู้ด้านการเพาะปลูกเพื่อยังชีพ มีที่ดินทำกินเพื่อเป็นฐานการผลิตพืชพันธุ์การเกษตรชนิดต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง ทำให้มีเวลาในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ มากมาย จึงเกิดเป็นอารยธรรมใหญ่ๆ ขึ้นมา เช่น อาณาจักรโรมัน จีน อินเดีย ตลอดถึงในแถบยุโรป ยุค Warrior ยุคนักรบ หรือทหาร สามารถปล้นสดมอาหารจากผู้เพาะปลูกมาเป็นของตนเองได้ ยุคต่อมา คือ Craftsman เป็นยุคของช่างฝีมือ สามารถประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ขึ้นมาได้ เช่น ช่างแกะสลัก, ช่างตีดาบ และได้เมืองมาจากการชนะสงคราม ยุค Explorer การสำรวจ เป็นการเดินทางสำรวจพื้นที่สำรวจทะเลเพื่อแสวงหาทรัพย์สมบัติในดินแดนที่ห่างไกล เช่น คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ที่ค้นพบทวีปอเมริกา ยุค Merchant พ่อค้า เป็นการนำสิ่งของจากดินแดนต่างๆ ออกมาขาย เช่น การเกิดของเส้นทางสายไหม ยุค Mechanizer เป็นการผลิตที่ใช้เครื่องจักรกลผลิตเพื่อทำงานให้รวดเร็วขึ้น ยุค Industrialist นักอุตสาหกรรม เป็นยุคที่เครื่องใช้ไฟฟ้าทำให้สิ่งต่างๆ รวดเร็วขึ้น ยุค Oil driller เครื่องเจาะน้ำมัน เช่น Exxon Mobil เป็นยุคที่นักอุตสาหกรรมต้องเติมน้ำมันรถยนต์ ยุค Corporate Executive ผู้บริหารองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ชิคเว่ ซีอีโอของ GE, คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือยุคการผลิตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น GM (General Motor) นับว่าเป็นยุคของบรรษัทครองโลก มีการควบรวมบริษัทเข้าด้วยกัน ยุค Financier นักการเงิน ยุคนี้เป็นยุคของการซื้อ และขายบริษัท มีการซื้อขายกันในตลาดเงินตลาดทุน มีการซื้อและขายกระดาษกันได้ เป็นยุคเติบโตของมนุษย์ทองคำ เช่น คุณบรรยง พงษ์พานิช (เตา) ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) ได้เคยมาพูดให้คุณบอมฟังว่า ทำงาน 1 ปี ได้โบนัส 120 เดือน คุณเตา ถามในที่ประชุมว่า มีใครอยากไปทำงานกับผมบ้าง ในจำนวนผู้ฟัง 133 คน มีคุณบอมเพียงคนเดียวที่ยกมือขึ้นและบอกว่า อยากไปทำงานกับคุณเตา คุณบอมถามคุณเตาว่า ผมเรียนเกรดเฉลี่ยต่ำ ทำไมพี่ถึงเลือกผม และปิดโอกาสคนอื่น คุณเตาบอกว่า ยกเว้นแก และบอกให้คุณบอมไปกรอกใบสมัคร เขาสัมภาษณ์คุณบอม 3 ชั่วโมง แต่ก็ไม่ได้งาน อันนี้เป็นบทเรียนของคุณบอมที่ตอนเรียนไม่ค่อยได้ตั้งใจเรียน และความรู้ที่เคยเรียนมานั้น สามารถเอามาใช้ได้ทุกอย่าง เพราะฉะนั้น คนที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นมีอยู่ 2 อย่าง คือ (1). โอกาสดี (2).การเตรียมพร้อม ในยุคนี้เป็นยุคการเคาะกระดานหุ้น ใครเคาะให้ราคาสูงสุดคนนั้นก็ได้ไป คุณนักรักษ์ จบจากโรงเรียนวชิราวุธ และจบเศรษฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย สามารถซื้อบริษัทเองได้ คุณเตาเคยให้ข้อคิดว่า “คุณอย่าไปแข่งในสนามที่คุณคิดว่าตัวเองแข่งไม่ได้” ยุคสุดท้าย Startup เป็นยุคของบริษัทเล็กๆ ที่สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ได้เร็วกว่าองค์กรขนาดใหญ่ โดยมีแนวคิดที่ดี มีแรงบันดาลใจที่ดี
(Source Pic: https://twitter.com/sandmanmedia/status/771047218421702658)
ยุค Startup ในยุคนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2001 ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบบริษัทยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา กับประเทศไทย ตั้งแต่ปี ค.ศ.2001-2016 เมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้ว บริษัทที่ทำกำไรต่อปีได้มากที่สุดเป็นแสนล้าน ถึงหนึ่งล้านล้านบาท จะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีทุนมหาศาล ก่อตั้งมามีอายุเป็น 100 ปี มีพนักงานตั้งแต่หลักพันถึงหลักหมื่นหรือหลักล้านคน และได้กำไรมากที่สุดติด 5 อันดับแรกของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ บริษัท GE, บริษัท Microsoft, บริษัท Exxon Mobil, บริษัท CITI Bank และบริษัท Walmart ส่วนบริษัทของประเทศไทยในปี ค.ศ.2001 บริษัทยักษ์ใหญ่ได้แก่ บริษัท AIS, ธนาคารกรุงไทย (KTB), บริษัท ปตท. (PPT), บริษัท ปตท.สผ. (PPTSP) และบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (SCG) แต่พอมาในปี ค.ศ.2016 ในจำนวน 5 บริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกาหายไปเกือบหมด มี 5 บริษัทยักษ์ใหม่เกิดมาแทนที่ได้แก่ บริษัท Apple, บริษัท Alphabet หรือ Google, บริษัท Amazon, บริษัท Facebook ส่วนบริษัทเก่าที่ยังคงเหลืออยู่เพียงบริษัทเดียวคือ บริษัท Microsoft บริษัทเหล่านี้เริ่มต้นจากคนเพียง 2-3 คน ตัวอย่างเหล่านี้คือ โมเดล (Model) ของ Startup เพราะฉะนั้นในสหรัฐอเมริกามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก ส่วนในประเทศไทยไม่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเท่าอเมริกา ในปี ค.ศ.2016 บริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศไทยยังคงเป็นบริษัทเดิมๆ ได้แก่ บริษัท ปตท.(PPT), บริษัท SCGSP, บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (AOT), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (SCB), และบริษัทซีพีออลล์ จำกัด (CPALL) ที่เป็นเช่นนี้ เพราะความไม่สมบูรณ์ของขัอมูล ในสมัยก่อนถ้าบริษัทไหน ประเทศไหนอยากเจริญ ต้องไปดูงานที่อเมริกา ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้ากว่าประเทศไทยประมาณ 20 ปี หรือยูโรป หรือมีการส่งลูกหลานไปเรียนหนังสือในประเทศเหล่านั้น เพื่อนำโมเดลทางธุรกิจ (Business Model) เหล่านั้น กลับเอามาพัฒนาบริษัทและประเทศของตนเอง แต่ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า บริษัทที่มีทุนขนาดใหญ่เหล่านั้นจะเริ่มหายไปเรื่อยๆ เพราะเทคโนโลยีและนวัตกรรมทำให้มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ในปัจจุบันนี้ เช่น การเปิดตัว iPhone ในสหรัฐอเมริกา สามารถรับรู้ได้ในเวลาเดียวกันในประเทศไทย.