ถามตอบ

ถาม : สำหรับนักศึกษารหัส 59-62 ที่ยังทำจิตอาสาไม่ครบ 36 ชม ซึ่งไม่สามารถออกไปทำจิตอาสาได้ในช่วงสถานการณ์โควิด ทำอย่างไรได้บ้าง?

การทำจิตอาสาอยู่ในคุณสมบัติของผู้กู้ยืมซึ่งกำหนดโดยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยจึงไม่สามารถลดจำนวนชั่วโมงได้ หากนักศึกษายังเก็บชั่วโมงจิตอาสาไม่ครบ 36 ชม. มหาวิทยาลัยอนุโลม ให้ส่งเอกสารกู้ยืมเพื่อต่อสัญญาปีการศึกษา 2563 ได้ก่อน  และเมื่อสถานการณ์ปกติค่อยนำชั่วโมง จิตอาสาที่ยังไม่ครบ มาส่งเพิ่มเติมอีกครั้ง
หมายเหตุ : มหาวิทยาลัยแนะนำให้ทำจิตอาสาโดยเรียนผ่านระบบ e-Learning ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา  ซึ่งได้ ชั่วโมงจิตอาสา หลักสูตรละ 3 ชม. ดูวิธีการเข้าเรียน  https://bit.ly/3efXcdx

ถาม : นักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2563 ต้องยื่นเอกสารกู้ยืมฯ เมื่อไหร่

สำหรับนักศึกษาใหม่ รหัส 63 ขณะนี้ยังไม่มีกำหนดการส่งเอกสาร เนื่องจากสภาวะการณ์ระบาดของโรค Covid-19  เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นจะแจ้งกำหนดการส่งเอกสารผ่าน SMS และเพจสำนักงานทุนการศึกษา

ถาม : กยศ. กับ กรอ.แตกต่างกันอย่างไร ตอบ

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 
กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) 
- รายได้ครอบครัว ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี
- ไม่จำกัดรายได้ครอบครัวผู้กู้
- ศึกษาในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย /ปวช./ปวส./ อนุปริญญา/ ปริญญาตรี
- ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักฯ
- อายุในขณะที่ขอกู้ยืมฯ เมื่อนับรวมกับระยะปลอดหนี้ และเวลาผ่อนชำระ อีก 15 ปี รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60 ปี
- อายุไม่เกิน 30 ปี ในปีที่ขอยื่นกู้ยืม
 - เมื่อเป็นนักศึกษากองทุนกู้ยืมฯ เรียบร้อยแล้วต้องเก็บชั่วโมงจิตอาสา ปีการศึกษาละ 36 ชั่วโมง
-  เมื่อเป็นนักศึกษากองทุนกู้ยืมฯ เรียบร้อยแล้วต้องเก็บชั่วโมงจิตอาสา ปีการศึกษาละ 36 ชั่วโมง

ถาม : ทำไมถึงไม่มีกรอบวงเงิน ฤดูร้อน/2562 เหมือนเพื่อน ?

เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยจะจัดสรรค่าเล่าเรียนให้กับนักศึกษาตามแผนการเรียนที่กำหนดไว้  หากภาคเรียนที่ 1 กับ ภาคเรียนที่ 2 นักศึกษาใช้เงินครบตามกรอบเงินประจำปีแล้ว ก็จะไม่มีวงเงินเพียงพอไปถึงภาคฤดูร้อน

ถาม : วงเงินกู้ยืมฯ ที่เหลือจากการลงทะเบียนในแต่ละภาค ทำไมถึงไม่สามารถนำไปใช้ในภาคอื่นได้

วงเงินที่เหลือจากการลงทะเบียนในแต่ละภาค จะไม่สามารถนำไปใช้ในภาคอื่นได้ เนื่องจากได้ขออนุมัติกรอบการใช้วงเงินในแต่ละภาคให้แก่ทาง กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเรียบร้อยแล้ว จึงไม่สามารแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนได้  ส่วนเงินที่เหลือในแต่ละภาคนั้น จะไม่ถูกนำไปคำนวณเป็นยอดหนี้ นักศึกษาจะเป็นหนี้ตามที่ใช้จริงเท่านั้น

ถาม : หลักเกณฑ์การให้กู้ยืม กยศ.

ผู้กู้ยืมเงินกองทุนเพื่อการศึกษาจะต้องติดต่อกับสถาบันการศึกษาที่ตนศึกษาอยู่ โดยจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้  
1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย   
2. เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ หมายความว่า มีรายได้ต่อครอบครัวไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี  
3. เป็นผู้ที่มีผลการเรียนดี ผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถาบันการศึกษา   
4. เป็นผู้มีความประพฤติดี มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบประกาศสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในโรงเรียนสถานศึกษา หรือสถานศึกษาที่อยู่ใน สังกัดการควบคุมหรือกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงหรือส่วนราชการอื่นๆ ทบวงมหาวิทยาลัย รัฐวิสาหกิจ   
5. ไม่เคยเป็นผู้สำเร็จปริญญาตรีในสาขาใดๆ มาก่อน   
6. ไม่เป็นผู้ปฏิบัติงานและรับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำในหน่วยงานของรัฐ, รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน
7. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย   
8. ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก วันแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ

ถาม : การโอนเงินค่าครองชีพ

ภายหลังจากนักศึกษาเซ็นแบบยืนยันค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพพร้อมส่งเอกสาร หากเอกสารถูกต้องทาง บมจ.ธนาคารกรุงไทย จะโอนเงินค่าครองชีพให้แก่นักศึกษาโดยประมาณ 45 วันทำการ

ถาม : ช่องทางและวิธีการชำระหนี้

ภายหลังจากผู้กู้ยืมฯสำเร็จการศึกษา เมื่อครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี กยศ.จะมีหนังสือแจ้งภาระหนี้ครั้งแรกในปีที่ผู้กู้ยืมฯ ครบกำหนดชำระหนี้
ช่องทางการชำระเงิน
1. หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย
2. ติดต่อเคาท์เตอร์ธนาคารกรุงไทยโดยตรง
3. ชำระผ่านตู้ ATM (ธนาคารกรุงไทย)
4. อินเทอร์เน็ต (www.ktbnetbank.com)
5. แอปพลิเคชั่น Krungthai Next
6. ระบบกรุงไทย Tele Bank โทร 0 2111 1111

 

ถาม : ผู้กู้ยืมฯยังศึกษาอยู่ แต่ได้รับจดหมายทวงหนี้ต้องทำอย่างไร

ให้ผู้กู้ยืมฯติดต่อสถานศึกษา โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ติดต่อสำนักงานทะเบียนเพื่อขอรับเอกสารรับรองการเป็นนักศึกษา
2. เมื่อได้รับเอกสารแล้วติดต่อสำนักงานทุนการศึกษา อาคาร 10 ชั้น 6 (เวลาเปิดทำการ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00-17.00 น.) เพื่อรับเอกสาร กยศ.204 หรือ กรอ.204
3. นำเอกสารที่ได้รับไปยื่นที่ธนาคารกรุงไทยได้ทุกสาขา โดยที่นักศึกษาจะต้องยื่นเอกสารการรักษาสภาพทุกปี จนกว่าจะจบการศึกษา

ถาม : ได้รับจดหมายเข้าร่วมโครงการไกล่เกลี่ยต้องทำอย่างไร

1. นำจดหมายที่ได้รับไปติดต่อ...สถานที่ (ในกำหนดการ) กดเพื่อดูรายละเอียด
2. เอกสารในการดำเนินการ กดเพื่อดูรายละเอียด หากผู้กู้ไม่ต้องการไปร่วมโครงการ ผู้กู้ต้องไปชำระยอดที่มีอยู่ให้เป็นลูกหนี้ปกติ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2552 ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา โดยแจ้งเลขบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมชื่อ-นามสกุล