ถามตอบ

ถาม : ฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ได้แก่อะไรบ้าง

ตอบ : วารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล ได้แก่ วารสารที่ปรากฏในฐานข้อมูลวารสารที่เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ เช่น ฐานข้อมูล Science Citation Index (SCI) ฐานข้อมูล Ei Compendex ฐานข้อมูล INSPEC ฐานข้อมูล ScienceDirect ฐานข้อมูล PUBMED ฐานข้อมูล AGRICOLA (AGRICultural Online Access) ฐานข้อมูล ERIC (Education Database) หรือฐานข้อมูล PUBSCIENCE เป็นต้น วารสารระดับนานาชาติที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลสากล ได้แก่ วารสารที่คณะบรรณาธิการ ต้องเป็นชาวต่างประเทศ อย่างน้อย 1 คน และวารสารต้องมีบทความวิจัยจากต่างประเทศลงตีพิมพ์ด้วย

ถาม : ฐานข้อมูลระดับชาติได้แก่อะไรบ้าง

ตอบ : วารสารระดับชาติ ได้แก่ วารสารที่ตีพิมพ์บทความจากนักวิชาการกลุ่มต่างๆ จากสถาบันต่างๆ และคณะบรรณาธิการจะต้องเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวารสารและบรรณาธิการจะต้องมาจากสถาบันอื่นๆ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

ถาม : ข้อปฏิบัิติเรื่องจุดทศนิยม (เกณฑ์ สกอ.)

ตอบ : การคำนวณค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและค่าคะแนนให้ใชทศนิยม 2 ตำแหน่ง โดยการปัดทศนิยมตำแหน่งที่ 3  ตามหลักการปัดทศนิยม (ตั้งแต่เลข 5 ขึ้นไปปัดขึ้น เช่น

72.364  เป็น 72.36

3.975  เป็น  3.98
อ้างอิงจาก คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา  พ.ศ. 2553  หน้า  33

ถาม : อาจารยประจำ หมายถึง???

ตอบ : อาจารย์ประจำ หมายถึง ข้าราชการ พนักงาน  และบุคลากร ที่มีสัญญาจ้างกับสถาบันอุดมศึกษา ทั้งปีการศึกษา ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบตามพันธกิจ หลักของสถาบันอุดมศึกษา
 

อ้างอิงจาก คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา  พ.ศ. 2553  หน้า  34

ถาม : การนับจำนวนอาจารย์ประจำ นับอย่างไร

ตอบ : การนับจำนวนอาจารย์ประจำ ให้นับระยะเวลาการทำงาน  ดังนี้
        - 9-12 เดือน คิดเป็น 1 คน
        - 6 เดอนขึ้นไปแต่ ไมถึง 9 เดือน คิดเป็น 0.5 คน
        - น้อยกว่า 6 เดือน ไม่สามารถนำมานับได้

 

อ้างอิงจาก คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา  พ.ศ. 2553  หน้า  34