มัดรวม 6 เทคนิค ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Content Marketing Tips 2024
Content Marketing Tips (ฉบับนักการตลาดดิจิทัลยุคใหม่) เป็นเทคนิคการตลาดที่ใช้การสร้างและเผยแพร่คอนเทนต์เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการมอบคุณค่า (Valuable), ความเกี่ยวข้อง (Relevant), และความสม่ำเสมอ (Consistent) การสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่าและเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
หลักการสำคัญของ Content Marketing คือการสื่อสารที่ให้ข้อมูลหรือความบันเทิง เนื้อหาควรตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้หลักจิตวิทยาในการสื่อสารเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า ซึ่งการทำ Content Marketing ในปี 2024 มีเทคนิคดังนี้
- การใช้ข้อมูลเชิงลึก (Data-Driven Insights): การวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าใจความต้องการและความสนใจจะช่วยให้การสร้างคอนเทนต์มีประสิทธิภาพมากขึ้นนักการตลาดดิจิทัลควรใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเช่น Google Analytics หรือเครื่องมือการวิจัยตลาดอื่นๆเพื่อรวบรวมข้อมูลที่มีค่า
- การสร้างเรื่องราว (Storytelling): การใช้การเล่าเรื่องที่น่าสนใจและเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของลูกค้าช่วยสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงและความทรงจำที่ดีเกี่ยวกับแบรนด์การเล่าเรื่องที่ดีจะทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวและสร้างความผูกพันกับแบรนด์
- การใช้สื่อหลายช่องทาง (Multi-Channel Distribution): การกระจายคอนเทนต์ผ่านช่องทางต่างๆเช่นบล็อก, วิดีโอ, โซเชียลมีเดียเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในหลายๆจุดและเพิ่มโอกาสในการมีส่วนร่วมนักการตลาดควรใช้เครื่องมือการจัดการสื่อโซเชียลเช่น Hootsuite หรือ Buffer เพื่อจัดการและวิเคราะห์ผลการทำงานของคอนเทนต์ในแต่ละช่องทาง
- การโต้ตอบกับผู้ใช้ (User Engagement): การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านการตอบคำถามและความคิดเห็นช่วยสร้างความผูกพันและความภักดีนักการตลาดควรเปิดโอกาสให้ลูกค้าแสดงความคิดเห็นและทำการสำรวจความคิดเห็นเพื่อเข้าใจความต้องการของลูกค้า
- การปรับเปลี่ยนเนื้อหา (Content Adaptation): การปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและแพลตฟอร์มต่างๆทำให้คอนเทนต์มีความน่าสนใจและตรงประเด็นการใช้เครื่องมือการตลาดอัตโนมัติ (Marketing Automation) เช่น HubSpot หรือ Marketo จะช่วยให้การปรับเปลี่ยนเนื้อหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- การวัดผลและปรับปรุง (Measurement and Optimization): การใช้เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อติดตามผลการทำงานของคอนเทนต์และปรับปรุงเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนักการตลาดควรใช้เครื่องมือวิเคราะห์เช่น Google Analytics, Facebook Insights หรือเครื่องมือวิเคราะห์อื่นๆเพื่อวัดผลและปรับปรุงกลยุทธ์
กรณีศึกษาตัวอย่างการนำไปใช้
ในยุคปัจบันมีการแข่งขันสูงในด้านราคา บริษัท S ซึ่งเป็นผู้ผลิตสกินแคร์ระดับโลก ต้องการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มสกินแคร์ บริษัทมีการใช้ Content Marketing ด้วยการสร้างแคมเปญที่ชื่อว่า “Beauty from Within” โดยเน้นการสร้างคอนเทนต์ที่ไม่เพียงแค่โปรโมตผลิตภัณฑ์ แต่ยังให้ข้อมูลเชิงวิชาการเกี่ยวกับส่วนผสมที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ และประโยชน์ต่อผิวพรรณลูกค้า
กลยุทธ์ที่ใช้ในแคมเปญนี้ประกอบด้วยข้อมูลดังนี้
- การสร้างบล็อกโพสต์เชิงวิชาการ: เขียนบทความที่ให้ข้อมูลเชิงวิชาการเกี่ยวกับส่วนผสมที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ เช่น “วิตามินซี กับการฟื้นฟูสภาพผิว” โดยเนื้อหานี้เน้นให้ข้อมูลที่มีประโยชน์และเป็นข้อเท็จจริง
- การสร้างวิดีโอสาธิตการใช้ผลิตภัณฑ์: สร้างวิดีโอสั้นๆ ที่อธิบายกระบวนการทำงานของส่วนผสมหลักและวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งเผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น YouTube, Instagram และ Facebook
- การจัดกิจกรรมออนไลน์ (Live Streaming): แบบ 24 ชม จัดกิจกรรมสดผ่านโซเชียลมีเดียเพื่อสาธิตการใช้ผลิตภัณฑ์แบบสดๆ และเปิดโอกาสให้ลูกค้าถามคำถามและได้รับคำตอบทันที
- การโต้ตอบกับผู้ใช้: เปิดโอกาสให้ลูกค้าแสดงความคิดเห็นและแชร์ประสบการณ์การใช้ผลิตภัณฑ์บนโซเชียลมีเดีย โดยมีการตอบกลับจากทีมงานอย่างรวดเร็วและเป็นมิตร
- ผลลัพธ์ที่ได้: การเพิ่มการมีส่วนร่วมจากกลุ่มเป้าหมายอย่างมาก มีการแชร์คอนเทนต์กันอย่างแพร่หลาย และยอดขายผลิตภัณฑ์ใหม่ก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญและน่าเชื่อถือในวงการสกินแคร์
การทำ Content Marketing ที่ดีจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ ทำให้สามารถดึงดูดและรักษาลูกค้าได้อย่างยั่งยืน และเป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ป.ล. ต้องทำซ้ำๆ
PRACTICE MAKES PERFECT
**************************************************************************************************************************************************************************************
ผู้เขียน: อาจารย์ รชต จันทะบูรณ์
สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม