5 เทคนิคการบริหารลูกหนี้ไม่ให้เป็นหนี้สูญ
28
May
ธรารินทร์ ใจเอื้อพลสุข
กรรรมการผู้จัดการ
บริษัท แก้วจิรภัทรการบัญชี จำกัด
บริษัท แก้วจิรภัทรการบัญชี จำกัด
นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
5 เทคนิคการบริหารลูกหนี้ไม่ให้เป็นหนี้สูญ
จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ผู้ประกอบการต่างได้รับผลกระทบกันทั่วหน้า โดยเฉพาะธุรกิจ SMES บางแห่งต้องล้มเลิกกิจการไป เนื่องจากแบกรับภาระรายจ่ายไม่ไหว อีกทั้งยังประสบปัญหาด้านลูกหนี้ ที่ไม่สามารถจัดเก็บได้ตามกำหนดเวลา สุดท้ายกลายเป็นหนี้สูญ และถึงแม้ว่าจะมีกฎกระทรวงฉบับที่ 374 (พ.ศ. 2564) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ มาช่วยผู้ประกอบการให้การตัดหนี้สูญเป็นรายจ่าย เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่ผู้ประกอบการก็ควรมีเทคนิคในการบริหารลูกหนี้ไม่ให้เป็นหนี้สูญ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารลูกหนี้ ป้องกันความเสี่ยง และเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้แก่กิจการ โดยมีเทคนิคดังต่อไปนี้
1. เทคนิคการกำหนดกลุ่มลูกค้า : คัดเลือกกลุ่มลูกค้าที่ดี มีความน่าเชื่อถือและมีสภาพคล่องทางการเงินสูง
2. เทคนิคตรวจสอบประวัติ : ไม่มีประวัติการชำระหนี้ล่าช้า หรือผิดนัดชำระหนี้ ทั้งจากกิจการ และภายนอก ไม่มีคดี หรือศาลสั่งให้ล้มละลาย โดยสามารถตรวจสอบได้จากการค้นหาออนไลน์ผ่านเว็บไซด์ต่างๆ ได้
3. เทคนิคกำหนดระยะเวลาการให้สินเชื่อ : ควรกำหนดระยะเวลาการให้สินเชื่อที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มลูกหนี้ โดยอาจมีการจัดระดับลูกหนี้ชั้นดี เพื่อให้สินเชื่อที่ยาวนานขึ้น หรือลดลง
4. เทคนิคการให้ส่วนลดเงินสด : การให้ส่วนลดเงินสดจะเป็นการกระตุ้นให้ลูกหนี้เกิดการชำระหนี้ได้เร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้เงินทุนไม่ไปจมอยู่กับลูกหนี้นานเกินไป ส่งผลให้กิจการมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้น
5. เทคนิคการติดตามเร่งรัดหนี้ : ควรมีการกำหนดกรอบเวลาชำระหนี้ที่ชัดเจน และมีการกำหนดเวลาในการติดตามเร่งรัดหนี้แบบเป็นขั้นเป็นตอน เช่น อาจกำหนดเป็น 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ผิดนัด 10 วัน โทรแจ้งเตือนไปยังลูกหนี้ว่าเลยกำหนดชำระหนี้แล้ว สอบถามสาเหตุที่ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้ ครั้งที่ 2 ผิดนัด 20 วัน โทรติดตามไปยังลูกหนี้ เพื่อเร่งรัดให้ลูกหนี้ชำระ ครั้งที่ 3 ผิดนัดเกิน 30 วัน แจ้งให้ผู้บริหารทราบ และให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเข้าพบลูกหนี้ เพื่อเจรจาหาข้อยุติร่วมกัน
นักบัญชีของธุรกิจ SMEs ควรศึกษากฎกระทรวง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อแนะนำผู้ประกอบการ และนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารลูกหนี้ให้มีประสิทธิภาพ ป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดหนี้สูญ ส่งให้กิจการมีสภาพคล่องที่สูงขึ้น ธุรกิจสามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน โดยได้รับผลกระทบน้อยที่สุด