การวางแผนภาษีเพื่อการเติบโต ของบริษัทจดทะเบียนใน SET

UploadImage
 
UploadImage

ธัญวรัตม์ สุขสถิตย์
นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ
สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 19
นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
 
การวางแผนภาษีเพื่อการเติบโต ของบริษัทจดทะเบียนใน SET
 
          การวางแผนภาษีเป็นการดำเนินงานด้านภาษีของบริษัทที่ดำเนินการจดทะเบียนภายใต้กฎหมาย และเป็นการเตรียมการเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วน และช่วยให้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อนำไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี ซึ่งเป็นการลดภาระภาษีให้น้อยลง ซึ่งเป็นการใช้กลยุทธ์ทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อทำให้ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงโดยไม่กระทบกับกำไรทางบัญชี หรือการทำให้กำไรทางภาษีลดลงโดยไม่กระทบกับกำไรทางบัญชีและกำไรทางภาษี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการเสียภาษีอากรโดยถูกต้อง โดยไม่อาศัยการหลีกเลี่ยงภาษี และการวางแผนภาษีที่ดีควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีเงินได้ที่จะต้องเสีย ซึ่งจะทำให้รู้จักใช้ประโยชน์จากสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้คุ้มค่าและส่งผลต่อการเติบโตของกิจการ 
          การวางแผนภาษีจึงมีความสำคัญต่อการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพราะเป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อการปฏิบัติในอนาคตเกี่ยวกับรายการทางการเงิน และยังเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่สำคัญ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความมั่นคงและมั่งคั่งให้กับเจ้าของกิจการเพราะเป็นผลกระทบทางตรงที่ทำให้ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลง หรือเป็นผลกระทบทางอ้อมจากวิธีปฏิบัติทางบัญชีที่ทำให้ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงหรือเรียกว่า “ค่าใช้จ่ายภาษี” และยังเป็นการทำให้กำไรทางภาษีลดลงโดยไม่กระทบกับกำไรทางบัญชีและกำไรทางภาษี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการเสียภาษีอากรโดยถูกต้อง ครบถ้วนและจำนวนน้อยที่สุดโดยไม่อาศัยการหลีกเลี่ยงภาษีอากรหรือการกระทำที่ผิดกฎหมาย และเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเติบโตของกิจการ การวัดการเติบโตของกิจการนั้นมีหลายวิธีการ ได้แก่
          1. การวัดการเติบโตจากผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน 
          2. การวัดอัตราการเติบโตของเงินปันผลหรือมูลค่าทางบัญชี 
          3. การวัดการเติบโตจากอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ 
          4. การวัดการเติบโตจากอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
          5. การวัดการเติบโตจากอัตรากำไรขั้นต้น 
          6. การวัดการเติบโตจากกำไรจากอัตราผลตอบแทนการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยและภาษี  
          7. การวัดการเติบโตจากอัตราผลตอบแทนกำไรสุทธิ