ปัจจัยการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร
28
May
พิชญาสินี จิตติพิชญานันท์
หัวหน้างานคลังและพัสดุ
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ปัจจัยการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร
ปัจจัยการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กรจากการทบทวนกรอบแนวคิดของ COSO 2017 : Enterprise Risk Management Framework (COSO ERM 2017) ประกอบไปด้วย 5 ข้อหลัก ดังนี้
1) การกำกับดูแลกิจการและวัฒนธรรมองค์กร ประกอบด้วย คณะกรรมการกำกับดูแลความเสี่ยง การจัดโครงสร้างสายการบังคับบัญชา การกำหนดวัฒนธรรม การยึดมั่นต่อค่านิยมองค์กร และการจูงใจ พัฒนา และรักษาไว้ซึ่งบุคลากรที่มีความสามารถ
2) กลยุทธ์และวัตถุประสงค์องค์กร ประกอบด้วย การวิเคราะห์โครงสร้างของธุรกิจ การกำหนดระดับความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ การประเมินกลยุทธ์ในรูปแบบต่างๆ การวางเป้าประสงค์ในการดำเนินธุรกิจ
3) เป้าหมายผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย การระบุความเสี่ยง การประเมินระดับความเสี่ยง การจัดลำดับความเสี่ยง การตอบสนองความเสี่ยง และการจัดทำภาพรวมของความเสี่ยงทั่วองค์กร
4) การทบทวนและปรับปรุง ประกอบด้วย การประเมินความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การทบทวนความเสี่ยงการจัดการความเสี่ยงและผลการดำเนินงาน และการหาแนวทางปรับปรุงพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงองค์กร
5) สารสนเทศ การสื่อสาร และการรายงาน ประกอบด้วย สนับสนุนการใช้สารสนเทศสนับสนุนการบริหารความเสี่ยง การใช้ช่องทางการสื่อสารต่างๆ เพื่อให้ข้อความความเสี่ยง และการรายงานความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
จากปัจจัยการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร ตามแนวคิดของ COSO 2017 สิ่งสำคัญคือมุ่งเน้นให้เกิดการบูรณาการอย่างเป็นระบบในการบริหารจัดการความเสี่ยง ในการเตรียมรับมือในสถานการณ์ที่เรียกว่า “VUCA World” (Volatility, Uncertainty, Complexity, Ambiguity) โดยนำกรอบแนวคิดข้างต้นไปประยุกต์ใช้เป็นต้นแบบในการบริหารจัดการงาน เพื่อเตรียมพร้อมรองรับเหตุการณ์ความเสี่ยงในทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ความเสี่ยงที่มีอยู่ก่อนแล้วหรือเหตุการณ์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยเพื่อยกระดับการบริหารจัดการขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรในระยะยาวอย่างยั่งยืนต่อไป