ภาษีสำหรับธุรกิจนำเข้าและส่งออก
05
Apr
ดารินทร์ แซ่จัง
พนักงานบัญชี
บริษัท มอนโค (ฟรุ๊ต) ไทยแลนด์ จำกัด
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ภาษีสำหรับธุรกิจนำเข้าและส่งออก
ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นการยกระดับทรัพยากรในประเทศให้มีคุณค่าและถูกส่งออกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การค้าข้ามพรหมแดนจึงเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยยกระดับความเจริญเติบโตทางเศษฐกิจในประเทศ แต่ยังสร้างโอกาสให้กับประชนในประเทศได้มีการเข้าถึงเศรษฐกิจของต่างประเทศอีกด้วย ผู้ประกอบการจึงควรรู้และเข้าใจเรื่องภาษี ดังนี้
ธุรกิจนำเข้า
1) อากรขาเข้า ถูกเรียกเก็บเมื่อมีการนำเข้าสินค้าที่มีมูลค่าเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดอัตราที่กำหนดไว้คือ เมื่อราคาสินค้า (Cost, “C”) + ค่าประกันภัย (Insurance, “I”) + ค่าขนส่ง (Freight, “F”) [C.I.F] รวมกันเกินกว่า 1,500 บาท
2) ภาษีสรรพสามิต เมื่อมีการนำเข้าสินค้าที่บริโภคแล้ว อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรม และสินค้าที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย เช่น รถยนต์ เครื่องดื่ม น้ำหอม สุรา ยาสูบ ไพ่ เป็นต้น ผู้นำเข้าจะถูกเรียกเก็บภาษีสรรพสามิต
3) ภาษีเพื่อมหาดไทย ผู้นำเข้าจะต้องถูกเรียกเก็บภาษีเพื่อมหาดไทย เมื่อถูกเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตแล้ว
4) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้นำเข้าจะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อนำเข้าสินค้าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (หลักการเดียวกับอากรขาเข้า) แต่ส่วนที่แตกต่างกันคือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เสียไปนั้นจะสามารถนำมาขอคืนเป็นภาษีซื้อได้ภายใน 6 เดือน แต่อากรขาเข้านั้นขอคืนไม่ได้
ธุรกิจส่งออก
1) อากรขาออก โดยแต่เดิมกรมศุลกากรกำหนดอัตราอากรไว้สำหรับสินค้า 9 ประเภท แต่ในปัจจุบันจะได้รับยกเว้นเกือบทั้งหมด เหลือแค่ หนังโค หรือหนังกระบือ และสินค้าที่ส่งออกจากพื้นที่พัฒนาร่วมตามกฎหมายองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย
2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อผู้ส่งออกสินค้าเป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ส่งออกก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เหมือนกับการส่งออกบริการ โดยมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีและยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป (สามารถยื่นได้ถึงวันที่ 23 หากยื่นแบบออนไลน์)
แหล่งที่มาของข้อมูล