ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับต่างชาติในประเทศไทย

UploadImage
 
UploadImage

ธนสรร ธนาภัคเดชจินดา 
ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน
บริษัท เคลียร์วิชั่น (กรุ๊ป) จำกัด
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
 
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับต่างชาติในประเทศไทย
 
          ปัจจุบันมีชาวต่างชาติไม่น้อยที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย หากเข้ามาทำงานเป็นพนักงานประจำของบริษัทไทยในประเทศไทยแม้เพียงหนึ่งวันก็มีหน้าที่ที่ต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งการเสียภาษีที่ต่างประเทศในเงินก้อนเดียวกันไม่อาจทำให้พ้นความรับผิดไม่เสียภาษีในประเทศไทย แต่หากชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในไทยไม่ถึง 180 วันในปีนั้นก็ไม่ต้องเสียภาษี 
          1. กรณีทำงานให้ทั้งบริษัทไทยและบริษัทต่างประเทศ แบ่งเป็น
             1) บริษัทต่างประเทศเกี่ยวข้องเป็นบริษัทแม่หรือบริษัทในเครือของบริษัทไทย หากท่านมีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร 1 เช่น เงินเดือน โบนัส หรือค่าเช่าบ้าน
             2) บริษัทต่างประเทศไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทไทย หากบริษัทต่างประเทศนั้นไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องใด ๆ กับบริษัทไทย ท่านอาจจะต้องนำเงินได้จากต่างประเทศดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยก็ได้ ตามมาตรา 41 วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากร 2
          2. เงินได้จากงานที่ทำในประเทศไทย* โดยผู้มีเงินได้ปฏิบัติงานในประเทศไทย ต้องนำเงินเดือนค่าจ้างที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานในไทยมายื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย 
          3. เงินได้จากกิจการที่ทำในประเทศไทย* เช่น นายเอกเปิดร้าน ขายอาหารในประเทศไทย นายเอกต้องนำเงินได้ที่เกิดขึ้นมายื่นเเบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
          4. เงินได้จากกิจการนายจ้างในไทย* ผู้รับเงินได้อาจจะปฏิบัติงานอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศก็ได้ ต้องนำเงินได้มายื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย
          5. เงินได้จากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย* เป็นเรื่องของเงินได้ที่เกิดขึ้นจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าเจ้าของทรัพย์สินนั้นจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ เช่น ค่าเช่าบ้าน ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินปันผล
          6. การเครดิตภาษี การทำงานเป็นพนักงานประจำให้แก่บริษัทไทยในประเทศไทยจะส่งผลให้ท่านมีภาระภาษีเสมือนคนไทยแม้จะทำงานแค่วันเดียวก็ตาม แต่ระยะเวลาดังกล่าวก็ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องคำนึงเพื่อพิจารณาว่าท่านเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ เพื่อทำการขอเครดิตภาษีกรณีที่ท่านยังคงมีหน้าที่ในการเสียภาษีในต่างประเทศจากเงินได้ที่ท่านต้องเสียภาษีในประเทศไทย
 
 
แหล่งที่มาของข้อมูล