ความเสี่ยงในการตรวจสอบบัญชีที่ผู้สอบต้องระมัดระวัง
05
Apr
ศรัญญา ชนะบุญ
นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ
สำนักงานสรรพากรพื้นที่สมุทรปราการ 1
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ความเสี่ยงในการตรวจสอบบัญชีที่ผู้สอบต้องระมัดระวัง
ความเสี่ยงในการสอบบัญชี ถือเป็นความเสี่ยงที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นที่ไม่เหมาะสม เมื่องบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ซึ่งหมายถึง ความแตกต่างระหว่างจำนวนเงิน การจัดประเภทรายการ การแสดงรายการ หรือการเปิดเผยข้อมูลของรายการในงบการเงินที่รายงานไว้ กับรายการที่เป็นไปตามแม่บทการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง ความเสี่ยงในการสอบบัญชี ประกอบด้วย
1. ความเสี่ยงสืบเนื่อง (Inherent Risk) เป็นความเสี่ยงที่มีอยู่ในสิ่งที่เราต้องการตรวจสอบ เป็นความเสี่ยงตามธรรมชาติของธุรกิจประเภทนั้น ๆ โดยไม่คำนึงถึงการควบคุมภายใน ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่
1) ระดับของงบการเงิน
2) ระดับของสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้ของประเภทรายการ ยอดคงเหลือ และการเปิดเผยข้อมูล
1) ระดับของงบการเงิน
2) ระดับของสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้ของประเภทรายการ ยอดคงเหลือ และการเปิดเผยข้อมูล
2. ความเสี่ยงจากการควบคุม (Control Risk) ความเสี่ยงที่ระบบบัญชี หรือระบมการควบคุมภายในของกิจการไม่สามารถป้องกัน หรือตรวจพบ และแก้ไขการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่อาจเกิดอย่างทันเวลา
3. ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ (Detection Risk) ความเสี่ยงที่วิธีการตราจสอบเนื้อหาสาระ ซึ่งผู้สอบบัญชีจะไม่สามารถตรวจพบการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในยอดคงเหลือของบัญชี หรือประเภทของรายการ หรือการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งอาจเกิดจาก
1) ความเสี่ยงจากการเลือกตัวอย่าง (Audit Sampling Risk) ผู้สอบบัญชีอาจมีความเสี่ยงที่ว่าตัวอย่างที่เลือกนั้นไม่ใช่ตัวแทนที่แท้จริงของประซากร
2) วิธีการตรวจสอบที่ใช้ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ตรงประเด็นกับเรื่องที่ตรวจสอบ หรือไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
3) มีข้อบกพร่องในการปฏิบัติงานตรวจสอบ หรือสรุปความเห็นผิดพลาดเกี่ยวกับหลักฐานการสอบบัญชี จึงเรียกความเสี่ยงนี้ว่า เป็นความเสี่ยงจากการตรวจสอบที่วางแผนไว้ (Planned Detection Risk : PRD) ผู้สอบบัญชีไม่สามารถขจัดความเสี่ยงให้หมดสิ้นไป แต่ผู้สอบบัญชีอาจลดความเสี่ยงในการสอบบัญชีลงจนถึงระดับที่ยอมรับได้
1) ความเสี่ยงจากการเลือกตัวอย่าง (Audit Sampling Risk) ผู้สอบบัญชีอาจมีความเสี่ยงที่ว่าตัวอย่างที่เลือกนั้นไม่ใช่ตัวแทนที่แท้จริงของประซากร
2) วิธีการตรวจสอบที่ใช้ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ตรงประเด็นกับเรื่องที่ตรวจสอบ หรือไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
3) มีข้อบกพร่องในการปฏิบัติงานตรวจสอบ หรือสรุปความเห็นผิดพลาดเกี่ยวกับหลักฐานการสอบบัญชี จึงเรียกความเสี่ยงนี้ว่า เป็นความเสี่ยงจากการตรวจสอบที่วางแผนไว้ (Planned Detection Risk : PRD) ผู้สอบบัญชีไม่สามารถขจัดความเสี่ยงให้หมดสิ้นไป แต่ผู้สอบบัญชีอาจลดความเสี่ยงในการสอบบัญชีลงจนถึงระดับที่ยอมรับได้
แหล่งที่มาของข้อมูล
1. นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ, ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2563). การสอบบัญชี.
2. มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 200 เรื่อง วัตถุประสงค์โดยรวมของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และการปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี.