เกร็ดความรู้ง่ายๆ ทางภาษี สำหรับร้านค้าออนไลน์
05
Apr
สิริรัตน์ โสวรรณะ
ธุรกิจส่วนตัว
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เกร็ดความรู้ง่ายๆ ทางภาษี สำหรับร้านค้าออนไลน์
ภาษีเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรศึกษาทำความเข้าใจเพื่อให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เพราะหากเกิดความเข้าใจผิดจะส่งผลกระทบตามมาค่อนข้างมาก รวมไปถึงอาจเกิดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นจากค่าปรับต่าง ๆ การประกอบธุรกิจในรูปแบบของการขายสินค้าออนไลน์หรือให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต (E-Commerce) ไม่ว่าจะผ่านทาง Shopee, Lazada, Facebook, Line หรืออื่นๆ ก็ต้องนำรายได้ดังกล่าวมารวมยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้
1. รับโอนเงินเกินกำหนด เจอตรวจสอบ กรมสรรพากรได้มีหลักเกณฑ์การตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินส่วนบุคคลกับสถาบันทางการเงิน โดยสถาบันการเงินต้องทำการส่งรายงานความเคลื่อนไหวบัญชีส่วนบุคคลที่ตรงตามหลักเกณฑ์ของสรรพากรในการตรวจสอบธุรกิจออนไลน์ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
• มีเงินโอนเข้าบัญชี เกิน 3,000 ครั้งต่อปี หรือเฉลี่ยเดือนละ 250 ครั้ง แบบนี้ ยอดเงินรวมในบัญชีเท่าไหร่ก็ถูกนำส่งทั้งหมด
• มีเงินโอนเข้าบัญชี เกิน 400 ครั้งต่อปี และยอดเงินรวมเกิน 2 ล้านบาท แบบนี้ ต้องเข้าทั้ง 2 เกณฑ์ ถึงจะถูกนำส่งข้อมูล
2. ภาษีของร้านค้าออนไลน์ การขายของออนไลน์นั้นหากไม่ได้มีการเปิดหรือจดทะเบียนในรูปแบบบริษัท จะถือเป็นการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งถูกจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ ม.40 (8) คือ เงินได้จากการค้าขายและต้องยื่นภาษี คือ ภาษีสิ้นปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) และยื่นภาษีกลางปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94) ตามช่วงเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด
3. กรณีร้านค้าออนไลน์ที่มีรายรับจากการขายสินค้าเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน (ภ.พ.01) ภายใน 30 วัน โดยปัจจุบันยังจัดเก็บอยู่ที่ 7%
แหล่งที่มาของข้อมูล