7 เทคนิคตั้งข้อสังเกตใบกำกับภาษี “ปลอม”

UploadImage
 
UploadImage

รัตติยา เปรื่องประยูร
นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ
กรมสรรพากร
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
 
7 เทคนิคตั้งข้อสังเกตใบกำกับภาษี “ปลอม”
 
          ผู้ประกอบการที่อาจได้รับผลกระทบจากกฎหมายเกี่ยวกับใบกำกับภาษีปลอม ซึ่งมีโทษทางอาญาสูงสุดคือระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 ถึง 200,000 บาท ดังนั้น จึงควรรู้เทคนิคเพื่อป้องกันใบกำกับภาษีปลอม ดังนี้
          1. สำรวจธุรกิจของตนเองว่าเป็นธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการที่จะได้รับใบกำกับภาษีปลอมหรือไม่ เช่น รับเหมาก่อสร้าง ค้าวัสดุก่อสร้าง ซื้อมาขายไปประเภทผลิตภัณฑ์ พลาสติกและเคมีภัณฑ์ ธุรกิจส่งออก เป็นต้น 
          2. ติดต่อซื้อขายสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการที่คุ้นเคยหรือเคยทำธุรกิจด้วยกัน
          3. ขอดูหลักฐานทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ต้นฉบับที่กรมสรรพากร
          4. สังเกตราคาสินค้าถูกกว่าท้องตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และตกลงซื้อขายเป็นเงินสดโดยไม่มีการผ่อนระยะเวลาการชำระหนี้ 
          5. ควรตรวจสอบรายการสินค้าให้ตรงกับหลักฐานใบกำกับภาษี 
          6. จ่ายชำระด้วยเช็คระบุชื่อผู้รับเงินและขีดฆ่าผู้ถือ หรือโอนผ่านบัญชีธนาคารทุกครั้งเพื่อสามารถพิสูจน์ผู้รับเงินได้ 
          7. กำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข การตรวจรับใบกำกับภาษีซื้ออย่างเป็นระบบและรัดกุม
 
แหล่งที่มาของข้อมูล
1) กรมสรรพากร . ประมวลรัษฎากร จาก https://www.rd.go.th/2600.html
2) ธรรมนิติ . รู้ทันใบกำกับภาษีปลอม สรรพากรปรับจริง จำคุก 7 ปี จาก https://www.dst.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2976:be-aware-false-invoice-rd-adjust&catid=29&Itemid=180&lang=en
3) ธรรมนิติ . รู้ได้อย่างไร ว่านี่คือใบกำกับภาษีปลอม จาก https://www.dst.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=3050:how-tax-invoice-counterfeit&catid=29&Itemid=180&lang=en