เทคนิคการบริหารธุรกิจด้วยการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินที่ควรรู้

UploadImage
 
UploadImage

ณภาภัช นันทะน้อย
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
สำนักงานอัยการสูงสุด
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
 
เทคนิคการบริหารธุรกิจด้วยการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินที่ควรรู้
 
          อัตราส่วนทางการเงิน เป็นสิ่งที่สามารถวิเคราะห์สุขภาพทางการเงินของธุรกิจได้ ทำให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายขึ้น มีประโยชน์ทั้งจากมุมมองผู้บริหาร ผู้มีส่วนได้เสียและนักบัญชีมือใหม่ควรรู้ เพื่อทำให้มองภาพของธุรกิจในแง่มุมที่เราต้องการได้อย่างรวดเร็วและช่วยในการเช็คความผิดปกติต่างๆ ได้ ประกอบด้วย 
          1. อัตราส่วนเพื่อวัดประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ เป็นการนำเอายอดขายสุทธิหารด้วยสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนหรือ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ใช้วัดประสิทธิภาพเฉพาะสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน โดยอัตราส่วนนี้เป็นการเปรียบเทียบว่าแต่ละธุรกิจใช้สินทรัพย์คุ้มค่ามากน้อยเพียงใด 
          2. อัตราส่วนเพื่อวัดสภาพคล่อง เป็นการเอาสินทรัพย์หมุนเวียนหารด้วยหนี้สินหมุนเวียน บ่งบอกว่าธุรกิจมีสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น เงินสด ลูกหนี้การค้า และสินค้าคงเหลือ เพียงพอที่จะจ่ายหนี้สินหมุนเวียนหรือหนี้สินที่ธุรกิจจะต้องจ่ายภายในหนึ่งปีหรือไม่ โดยสภาพคล่องที่ดีควรจะต้องมีค่าสูงกว่า 1 เท่า เพราะบ่งบอกว่าธุรกิจมีสินทรัพย์หมุนเวียนเพียงพอที่จะจ่ายหนี้สินหมุนเวียน ไม่มีปัญหาการชำระหนี้ระยะสั้น
          3. อัตราส่วนเพื่อวัดความสามารถในการทำกำไร
              3.1 อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) เป็นการเอากำไรสุทธิหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นคูณด้วย 100 แสดงถึงความสามารถของธุรกิจว่าสามารถนำเงินทุนของผู้ถือหุ้นมาสร้างผลตอบแทนได้มากน้อยแค่ไหน ถ้า ROE สูง แสดงว่าธุรกิจสามารถบริหารส่วนของผู้ถือหุ้นได้ดี ถ้า ROE ต่ำ แสดงว่าธุรกิจบริหารส่วนของผู้ถือหุ้นได้ไม่ดีพอ
              3.2 อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) เป็นการนำกำไรสุทธิหารด้วยรายได้รวมคูณด้วย 100 ซึ่งสามารถวัดความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจและวัดความสามารถในการควบคุมต้นทุนของธุรกิจ ดังนั้น ถ้าอัตรากำไรสุทธิของธุรกิจยิ่งสูงก็ยิ่งดี แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการสร้างกำไรและการควบคุมต้นทุนที่ดี 
          4. อัตราส่วนเพื่อการวัดภาระหนี้สิน เป็นการเอาหนี้สินรวมหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นการวัดภาระหนี้สิน โดยเทียบให้เห็นว่าธุรกิจมีหนี้สินเป็นกี่เท่าของส่วนของเจ้าของ สะท้อนให้เห็นว่า สินทรัพย์ที่ธุรกิจมีส่วนใหญ่มาจากการกู้หนี้ยืมสินหรือไม่ การที่ธุรกิจมี D/E Ratio สูง แสดงว่าธุรกิจกู้ยืมจากเจ้าหนี้ในสัดส่วนที่สูงกว่าลงทุนจากเจ้าของ โดยทั่วไปอัตราส่วนนี้ไม่ควรจะสูงกว่า 2 เท่า คือ หนี้ทั้งหมดที่ธุรกิจมีไม่ควรจะสูงเกินทุนพื้นฐานของธุรกิจนั่นเอง
 
 
แหล่งที่มาของข้อมูล : https://sme.ktb.co.th/sme/