สินทรัพย์ดิจิทัลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

UploadImage
 
UploadImage
 
สุภารักษ์ สุจารี
นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ
สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต


สินทรัพย์ดิจิทัลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  
          ภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล คือ การจัดเก็บเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี ได้รับจากการถือครอง ครอบครอง ซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซี (หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์โดยมีความประสงค์ที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าบริการ หรือสิทธิอื่นใด หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัล และให้หมายความรวมถึงหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด) และโทเคนดิจิทัล (หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. กำหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใด ๆ 2.กำหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อตกลงระหว่างผู้ออกและผู้ถือ และให้หมายความรวมถึงหน่วยแสดงสิทธิอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.ประกาศกำหนด)
          ปัจจุบันมีนักลงทุนให้ความสนใจตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขั้นตอนการทำธุรกรรมไม่ยุ่งยาก สามารถทำได้ด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องผ่านผู้ประกอบการภายใต้การกำกับดูแลของกลต. เพื่อให้การเสียภาษีถูกต้อง ลดการเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม กรมสรรพากรจึงได้ทำการจัดทำคู่มือการเสียภาษีคริปโตฯ ของกรมสรรพากร ได้นิยามผู้มีเงินได้จากคริปโตเคอร์เรนซีและ โทเคนดิจิทัล ที่ต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2564 เป็น 5 กลุ่ม ตามเงินได้ที่ได้รับแต่ละประเภท กำหนดการรับรู้มูลค่าสินทรัพย์ และการคำนวณเงินได้เพื่อยื่นแบบแสดงรายการฯ สิ้นปีไว้ดังนี้
 
ประเภทเงินได้ จุดรับรู้มูลค่าสินทรัพย์ การคำนวณเงินได้สิ้นปี
1. เงินเดือน/ค่าจ้าง
  •  ได้รับสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเงินเดือนหรือเพิ่มเติมจากการทำงานประจำ (มาตรา 40(1))
  • ได้รับสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นค่าจ้าง (มาตรา 40(2))
- ณ เวลาที่ได้มา หรือ
- ราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา
คำนวณจากคริปโทเคอร์เรนซีที่ได้รับรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างอื่น
2. ผลประโยชน์หรือผลตอบแทนจากการถือครอง (มาตรา 40(4)(ซ)) - ณ เวลาที่ได้มา หรือ
- ราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา
คำนวณจากส่วนแบ่งกำไร หรือผลประโยชน์อื่นในในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครอง
3. กำไรจากการขาย แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล (มาตรา 40(4) (ฌ)) - ณ เวลาที่ขาย หรือ
- ราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ขาย
คำนวณจากรายรับ – ต้นทุนและค่าใช้จ่าย เช่น ค่าธรรมเนียม และค่าโอน ทั้งนี้สามารถนำผลขาดทุนจากการขายหรือแลกเปลี่ยนมาหักกลบกับกำไร
ที่ได้รับในปีภาษีเดียวกันได้ เฉพาะ การซื้อขายผ่านผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต.เท่านั้น สามารถคำนวณต้นทุนได้ 2 วิธี* คือ วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) และวิธีตันทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Cost) สามารถเปลี่ยนวิธีคำนวณได้ในปีถัดไป
4. กำไรจากการขายสินทรัพย์ดิจิทัล“ที่ขุดได้” *ณ วันที่ขุดได้ไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน (มาตรา 40(8))
 
- ณ เวลาที่ขาย หรือ
- ราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ขาย
คำนวณจาก รายรับ – ต้นทุนและค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นไปตามความจำเป็นและสมควร เช่น ค่าบำรุงคอมพิวเตอร์ ค่าจ้างพนักงาน ค่าไฟฟ้า และค่าอินเทอร์เน็ตสามารถคำนวณต้นทุนได้ 2 วิธี *
5. ได้รับสินทรัพย์ดิจิทัลจากการให้หรือได้รับเป็นรางวัล (มาตรา 40(8)) - ณ วันที่ได้มา หรือ
- ราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา
คำนวณจากรายรับ - ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร เช่น ค่าโอน และค่าธรรมเนียม



























          

          ทั้งนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะต้องนำส่งเงินได้ที่ได้รับดังกล่าว ตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91) สำหรับปีภาษี ภายในวันที่ 31 มีนาคม (แบบยื่นกระดาษ) หรือภายในวันที่ 8 เมษายน (แบบอินเทอร์เน็ต)
ที่มา : ข่าวประชาสัมพันธ์ กรมสรรพากร

พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561
พระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561