การรับรู้รายได้ตาม TFRS 15 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า
01
Jun
รุวัยดา สมภักดี
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
การรับรู้รายได้ตาม TFRS 15 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า
ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 หรือ TFRS 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนามาตรฐานให้ทุกประเทศสามารถให้หลักการเป็นไปในทางเดียวกัน โดยหัวใจสำคัญของมาตรฐานฉบับนี้ คือ กิจการจะรับรู้รายได้เมื่อได้โอนการควบคุม (Transfer of control) ในสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าแล้ว หรือลูกค้าได้ควบคุมสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว เป็นการเน้นเรื่องสิทธิและภาระผูกพัน มากกว่าที่จะเป็นเรื่องของความเสี่ยงและผลตอบแทน ซึ่งได้กำหนดขั้นตอนในการรับรู้ไว้ 5 ขั้นตอน หรือ Five – Step Model ได้แก่
1. การระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า : ลายลักษณ์อักษร วาจาหรือประเพณีปฏิบัติทางธุรกิจอื่นก็ได้
2. ระบุภาระที่ต้องปฏิบัติในสัญญา : ระบุภาระที่ต้องปฏิบัติในสัญญา ซึ่งมีภาระมากกว่าหนึ่งอย่างได้
3. การกำหนดราคาของรายการ : ระบุเงื่อนไขและจำนวนในการชำระสิ่งตอบแทน
4. การปันส่วนราคาของรายการให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติ : ปันส่วนราคาให้กับแต่ละภาระที่ระบุในสัญญา
5. รับรู้รายได้เมื่อได้ทำตามภาระที่กำหนดไว้ในสัญญา : รับรู้รายได้ภายในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (over time) หรือ รับรู้รายได้ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (a point in time)
สรุปได้ว่ากิจการต้องทำการรับรู้รายได้เพื่อสะท้อนถึงการโอนการควบคุมสินค้า หรือบริการ ที่เกิดจากภาระที่ระบุในสัญญาให้กับลูกค้า กับจำนวนที่สะท้อนถึงสิ่งตอบแทนที่กิจการคาดว่าจะได้รับ หรือมีสิทธิได้รับจากการแลกเปลี่ยนสินค้า หรือบริการนั้นๆ และมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ยังสามารถช่วยลดความไม่สอดคล้องเกี่ยวกับเกณฑ์ในการรับรู้รายได้ และสามารถเปรียบเทียบแนวปฏิบัติได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์มากขึ้นอีกด้วย