ผลประโยชน์พนักงาน

UploadImage
 
UploadImage

พีรพล บูรณะบุรี
พนักงานราชการ (ครู)
วิทยาลัยพณิชยการอินทราชัย
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
 
ผลประโยชน์พนักงาน
 
          สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูถัมภ์ ได้กำหนดมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์พนักงาน โดยกำหนดวิธีการบัญชีและการเปิดเผยข้อมูลโดยนายจ้างสำหรับผลประโยชน์ของพนักงาน แบ่งผลประโยชน์ของพนักงานออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
          - ผลประโยชน์ระยะสั้นสำหรับพนักงาน (Short-term employee benefits)
            ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน อาจอยู่ในรูปแบบของค่าจ้าง เงินเดือน เงินสมทบกองทุนประกันสังคม การลาพักผ่อนประจา ปีและลาป่วยที่คงไว้ซึ่งค่าตอบแทนที่ต้องจ่าย ส่วนแบ่งกำไรและโบนัสผลประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับพนักงานปัจจุบัน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าที่พักอาศัย ยานพาหนะ เป็นต้นกิจการต้องไม่คิดลดจำนวนของผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน โดยต้องรับรู้ จำนวนผลประโยชน์ดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่าย และรับรู้หนี้สินเพิ่มขึ้นหรือลดสินทรัพย์แล้วแต่กรณี
          - ผลประโยชน์หลังออกจากงาน (Post-employment benefits) 
            ผลประโยชน์หลังออกจากงาน รวมถึง ผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน เช่น ผลประโยชน์ที่จ่ายครั้งเดียวเมื่อออกจากงาน และบำนาญ และผลประโยชน์อื่นหลังออกจากงาน เช่น การรักษาพยาบาลหลังออกจากงาน การจัดการเรื่องของผลประโยชน์ของพนักงานหลังออกจากงานดังกล่าว ถือว่าเป็นโครงการ ผลประโยชน์หลังออกจากงาน (Post-employment benefit plans) กิจการต้องรับรู้เงินสมทบที่ต้องจ่ายให้โครงการสมทบเงิน เมื่อพนักงานได้ให้บริการแก่กิจการในระหว่างงวดเป็นค่าใช้จ่าย(เว้นแต่มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นจะกำหนดหรืออนุญาตให้รวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ได้) และรับรู้หนี้สิน (ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย) หรือ สินทรัพย์ (ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า) แล้วแต่กรณี 
          - ผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของพนักงาน (Other long-term employee benefits)
            ผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของพนักงาน รวมถึงรายการต่างๆ ดังต่อไปนี้ (หากไม่ได้คาดว่าจะจ่าย ชำระทั้งจำนวนก่อน 12 เดือน หลังวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานประจำปีที่พนักงานได้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง) การลางานระยะยาวที่ยังได้รับผลตอบแทน ผลประโยชน์ที่จ่ายให้จากการทำงานเป็นระยะเวลานาน (เช่น การแจกทองคำ หรือแหวนเพชร เมื่อทำงานครบจำนวนปีที่กำหนด) ผลประโยชน์ที่จ่าย จากการทุพพลภาพเป็นระยะเวลานาน ส่วนแบ่งกำไรและโบนัส และผลตอบแทนที่รอจ่าย เป็นต้น การรับรู้และวัดมูลค่าส่วนเกินหรือส่วนขาดในโครงการผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของพนักงาน
          - ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง (Termination benefits)
            ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างเป็นผลมาจากการตัดสินใจของกิจการที่จะเลิกจ้างพนักงานหรือการตัดสินใจของพนักงานที่จะยอมรับข้อเสนอผลประโยชน์เพื่อแลกเปลี่ยนกับการเลิกจ้าง โดยผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างไม่รวมถึงผลประโยชน์ของพนักงานที่เป็นผลมาจากการเลิกจ้างงานตามคำร้องขอของพนักงาน โดยไม่มีข้อเสนอของกิจการ หรือเป็นผลมาจากข้อกำหนดของการเกษียณอายุตามปกติ กิจการต้องรับรู้ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างเป็นหนี้สินและค่าใช้จ่ายเมื่อวันใดวันหนึ่งต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อน และวัดมูลค่าของผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างเมื่อรับรู้รายการเริ่มแรก และต้องวัดมูลค่าและรู้รับรู้การเปลี่ยนแปลงในภายหลังตามลักษณะของผลประโยชน์ของพนักงาน

อ้างอิง
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปภัมภ์. (7 กุมภาพันธ์ 2565). เข้าถึงได้จาก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์พนักงาน: https://acpro-std.tfac.or.th/standard/42/ฉบับปรับปรุงปี-2564-ปีปัจจุบัน