สิ่งที่ผู้บริหารให้การรับรอง
01
Jun
เบญจรงค์ คุ้มทรัพย์
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
สิ่งที่ผู้บริหารให้การรับรอง
การระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญมี 2 ระดับด้วยกัน คือ ระดับงบการเงินและระดับสิ่งที่ผู้บริหารให้การรับรองไว้ โดยสิ่งที่ผู้บริหารให้การรับรองไว้ หมายถึง การรับรองของผู้บริหารที่มีต่องบการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนหรือไม่ก็ตามที่ผู้สอบบัญชีใช้ในการพิจารณาประเภทของการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่อาจเกิดขึ้น สิ่งที่ผู้บริหารต้องคำนึงถึงในการรับรองงบการเงิน มีดังนี้
1. สิ่งที่ผู้บริหารให้การรับรองไว้เกี่ยวกับการจัดประเภทรายการและเหตุการณ์ของงวดบัญชีที่ตรวจสอบ ประกอบด้วย
1) การเกิดขึ้นจริง (Occurrence) ของรายการและเหตุการณ์ที่ได้ทำการบันทึกไว้เป็นสิ่งที่ได้เกิดขึ้นจริง
2) ความครบถ้วน (Completeness) ของรายการและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีการบันทึกรายการไว้อย่างครบถ้วน ไม่มีการการละเว้นรายการใดรายการหนึ่ง
3) ความถูกต้อง (Accuracy) ของรายการและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีการบันทึกรายการด้วยจำนวนที่ถูกต้องและเหมาะสม
4) การตัดยอด (Cutoff) ของรายการและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีการบันทึกรายการตรงตามงวดบัญชี
5) การจัดประเภท (Classification) ของรายการและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีการบันทึกรายการในบัญชีที่เหมาะสม
1) การเกิดขึ้นจริง (Occurrence) ของรายการและเหตุการณ์ที่ได้ทำการบันทึกไว้เป็นสิ่งที่ได้เกิดขึ้นจริง
2) ความครบถ้วน (Completeness) ของรายการและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีการบันทึกรายการไว้อย่างครบถ้วน ไม่มีการการละเว้นรายการใดรายการหนึ่ง
3) ความถูกต้อง (Accuracy) ของรายการและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีการบันทึกรายการด้วยจำนวนที่ถูกต้องและเหมาะสม
4) การตัดยอด (Cutoff) ของรายการและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีการบันทึกรายการตรงตามงวดบัญชี
5) การจัดประเภท (Classification) ของรายการและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีการบันทึกรายการในบัญชีที่เหมาะสม
2. สิ่งที่ผู้บริหารให้การรับรองไว้เกี่ยวกับยอดคงเหลือทางบัญชี ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี ประกอบด้วย
1) ความมีอยู่จริง (Existence) ของยอดคงเหลือสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี
2) สิทธิและภาระผูกพัน (Rights and Obligations) โดยสินทรัพย์คงเหลือนั้นเป็นสิทธิของกิจการ และหนี้สินคงเหลือเป็นภาระผูกพันของกิจการ
3) ความครบถ้วน (Completeness) ของยอดคงเหลือสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี มีการบันทึกบัญชีไว้อย่างครบถ้วน
4) การแสดงมูลค่าและการปันส่วน (Valuation and Allocation) ได้มีการแสดงยอดคงเหลือสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีในงบการเงินด้วยจำนวนเงินที่เหมาะสมและผลจากการปรับปรุงเกี่ยวกับมูลค่าหรือการปันส่วนได้ถูกบันทึกอย่างเหมาะสม
1) ความมีอยู่จริง (Existence) ของยอดคงเหลือสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี
2) สิทธิและภาระผูกพัน (Rights and Obligations) โดยสินทรัพย์คงเหลือนั้นเป็นสิทธิของกิจการ และหนี้สินคงเหลือเป็นภาระผูกพันของกิจการ
3) ความครบถ้วน (Completeness) ของยอดคงเหลือสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี มีการบันทึกบัญชีไว้อย่างครบถ้วน
4) การแสดงมูลค่าและการปันส่วน (Valuation and Allocation) ได้มีการแสดงยอดคงเหลือสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีในงบการเงินด้วยจำนวนเงินที่เหมาะสมและผลจากการปรับปรุงเกี่ยวกับมูลค่าหรือการปันส่วนได้ถูกบันทึกอย่างเหมาะสม
3. สิ่งที่ผู้บริหารให้การรับรองไว้เกี่ยวกับการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน ประกอบด้วย
1) การเกิดขึ้นจริง และสิทธิและภาระผูกพัน (Occurrence and Rights and Obligations) ได้มีการเปิดเผยเหตุการณ์ รายการและประมาณการอื่น ๆ เกิดขึ้นจริงและเกี่ยวข้องกับกิจการ
2) ความครบถ้วน (Completeness) การเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดที่ควรรวมอยู่ในงบการเงินไว้แล้วอย่างครบถ้วน
3) การจัดประเภทและการจัดข้อมูลให้เข้าใจง่าย (Classification and Understandability) ข้อมูลทางการเงินมีการแสดงและอธิบายอย่างเหมาะสมและเปิดเผยอย่างชัดเจน
4) ความถูกต้องและการแสดงมูลค่า (Accuracy and Valuation) ข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอื่น ๆ ได้ถูกเปิดเผยอย่างถูกต้องตามควรและเปิดเผยด้วยจํานวนเงินที่เหมาะสม
1) การเกิดขึ้นจริง และสิทธิและภาระผูกพัน (Occurrence and Rights and Obligations) ได้มีการเปิดเผยเหตุการณ์ รายการและประมาณการอื่น ๆ เกิดขึ้นจริงและเกี่ยวข้องกับกิจการ
2) ความครบถ้วน (Completeness) การเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดที่ควรรวมอยู่ในงบการเงินไว้แล้วอย่างครบถ้วน
3) การจัดประเภทและการจัดข้อมูลให้เข้าใจง่าย (Classification and Understandability) ข้อมูลทางการเงินมีการแสดงและอธิบายอย่างเหมาะสมและเปิดเผยอย่างชัดเจน
4) ความถูกต้องและการแสดงมูลค่า (Accuracy and Valuation) ข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอื่น ๆ ได้ถูกเปิดเผยอย่างถูกต้องตามควรและเปิดเผยด้วยจํานวนเงินที่เหมาะสม