การจัดทำบัญชีต้นทุนภาครัฐ

UploadImage
 
UploadImage

เรืออากาศเอกหญิง ณัฐรดา ประคองคำ
นายทหารตรวจสอบและประเมินผล
กองตรวจสอบและประเมินผล สำนักบริหารทรัพยากร สำนักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต


การจัดทำบัญชีต้นทุนภาครัฐ

          ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ ประการหนึ่งได้บัญญัติให้มีการบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐและมาตรา ๒๑ กำหนดให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทขึ้นตามหลักเกณฑ์ และวิธีที่กรมบัญชีกลางกำหนดวัตถุประสงค์ในการคำนวณต้นทุนเพื่อความถูกต้อง เชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดหาข้อมูลสำหรับใช้ในการตัดสินใจ วางแผนผลิตสินค้า ควบคุมการดำเนินงานโครงการ และการปฏิบัติงาน รวมถึงการวัดผลการปฏิบัติงาน
โดยมีหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณต้นทุนผลผลิต 7 ขั้นตอนดังนี้
          1. วิเคราะห์และกำหนดผลผลิตย่อยและกิจกรรมย่อย พร้อมทั้งหน่วยนับ
          2. กำหนดศูนย์ต้นทุนหลักและศูนย์ต้นทุนสนับสนุน
          3. ดึงข้อมูลต้นทุนจากระบบ GFMIS ตามศูนย์ต้นทุนและแหล่งของเงิน
          4. จำแนกค่าใช้จ่ายที่ใช้และไม่ใช้ในการคำนวณต้นทุนตามประเภทค่าใช้จ่ายแยกตามแหล่งเงิน
          5. คำนวณหาต้นทุนของศูนย์ต้นทุนหลักและศูนย์ต้นทุนสนับสนุน
          6. คำนวณหาต้นทุนและต้นทุนต่อหน่วยของกิจกรรมหลักและกิจกรรมย่อย
          7. คำนวณหาต้นทุนและต้นทุนต่อหน่วยของผลผลิตหลักและผลผลิตย่อย

          ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลต้นทุนของแต่ละส่วนงานทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวัดผลการดำเนินงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แล้วจึงกระจายต้นทุนของแต่ละส่วนงานเข้าสู่กิจกรรม และผลผลิต เพื่อให้ได้ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตต่อไป
          การคำนวณต้นทุนถือเป็นสิ่งสำคัญเพราะจะสะท้อนถึงความมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานของหน่วยงานราชการ ซึ่งช่วยให้ผู้บังคับบัญชามองเห็นถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน  ทั้งนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการงบประมาณในหน่วยงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อหน่วยงาน และประชาชนทั่วไป